Skip to main content

 

สู่อนาคตของโครงการมะดีนะตุสสลาม : โมเดลของการสร้างสันติภาพและจัดการชุมชนบนความเข้าใจและเข้าถึงวิถีชีวิตมุสลิม

 

 

มาดีนะตุสสลาม เป็นการสนธิระหว่าง มะดีนะฮ อัลมุเนาวาเราะฮ กับ ฟาฏอนี ดารุสสลาม โดยเอาคำแรก คือ มาดีนะฮฺ และคำสุดท้ายของฟาฏอนี คือ อัสสลาม มาผสมกัน เป็น มาดีนะฮ-อัสสลาม สนธิกันกลายเป็น มะดีนะตุสสลาม

แปลเป็นภาษาไทยว่า เมืองแห่งสันติ หรือ สันติธานี

เจตนารมณ์ที่ยึดเอามาดีนะฮฺในยุคนบีเป็นโมเดล เพราะ มาดีนะฮฺเป็นนครที่นบีอพยพมาเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าด้วยความรุนแรงกับผู้ที่เห็นต่างในนครมักกะฮฺ มาดีนะฮเป็นเมืองที่นบีอพยพมาอยู่แล้ว ท่านได้ทำสัญญาประชาคมกับชนต่างศาสนิก ชนต่างวัฒนธรรม เช่น ชาวยิว ชาวคริสต์ในเมืองมาดีนะห์เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ และร่วมกันปกป้องมาตุภูมิ

ส่วนฟาฏอนี ดารุสสลามในอดีตนั้นเป็นแหล่งอู่ข้าว อู่นำ้ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้าและอิสลามศึกษา จนได้รับการขนานนามว่า Serambi Makkah (ชานชาลา/ระเบียงมักกะฮฺ

การสนธิสองคำเข้าด้วยกัน ก็ด้วยเจตนารมณ์อันแรงกล้าคณะผู้บริหารมูลนิธิมัดีนะตุสสลามในอันที่ที่จะสืบทอดแนวทางการของท่านศาสนทูตมูหัมหมัด(ขอความสันติจากอัลลอฮจงประสบแด่ท่าน)ในการดำเนินชีวิตอย่างสันติและมีเป็นเอกภาพ เสถียรภาพในสังคมพหุวัฒนธรรม

พร้อมกันนั้น การนำอัสสลามมาต่อท้ายก็เพราะ ต้องการต่อยอดบทบาทของบรรพชนปัตตานีในอดีตทั้งที่เป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ ที่ได้ระร่วมกันพัฒนาดินแดนแถบนี้ให้รุ่งเรือง มั่งคั่งในทางเศรษฐกิจและเป็นศูนย์กลางในการเรื่องอิสลามศึกษาในภูมิภาคนี้ กอปรกับอัสสลามเป็นพระนามของอัลลอฮ ซึ่งแปลว่า ผู้ทรงประทานความสันติ

ส่วน วะกัฟ แปลเป็นภาษาไทย ก็คือ ทานหรือกุศลที่ไหลรินที่ไม่มีสิ้นสุด เป็นการบริจาคทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ ตามเจตนารมณ์ของผู้บริจาค เพื่ออัลลอฮ ไม่สามารถเป็นมรดกตกทอดและไม่สามารถจะขายทรัพย์สินวากัฟได้ แต่สามารถจะเอาประโยชน์ที่งอกเงยไปใช้จ่ายตามเจตนารมณ์ของผู้บริจาค โดยผู้บริจาคหรือทายาทจะบริหารทรัพย์สินวะกัฟเอง หรือมอบหมายให้บุคคลหรือองค์กรที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริจาคเป็นผู้บริหารจัดการทรัพย์สินวากัฟนั้นๆให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้วะกัฟ

บัญญัติ เรื่องวากัฟ เกิดขึ้นตามคำสอนอิสลาม เพราะ มนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องสร้างคุณประโยชน์ต่อมนุษยชาต

ท่านศาสนทูต มูฮัมมัด ได้กล่าวว่า

"เมื่อมนุษย์คนหนึ่งคนใดเสียชีวิต การงานทั้งหลายของเขาจะสิ้สุดลง ยกเว้นสามประการ นั่นคือ

1- เศาะดัเกาะห์ญารียะห์ นั่นคือ วะกัฟ

2- หรือ วิชาความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ด้วยการสอนสั่งแลพอบรมผู้อื่น

3-บุตรที่มีคุณธรรม(ซอลิฮ)ที่คอยวิงวอนขอพร(ดุอา)ให้แก่เขา

ในมุมมองอิสลาม สามขุมพลังแห่งการพัฒนาและฟื้นฟูสังคม/ประชาชาติ/ประเทศชาติ ก็คือ

1-พลังทรัพย์สินเป็นสิริมงคลและมีคุณประโยชน์ที่ยั่งยืน

2-พลังทางวิชาความรู้ที่เป็นประโยชน์และให้คุณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง

3-พลังบุคคลที่มีคุณธรรม(ซอลิฮ) ที่มีความผูกพันกับอัลลอฮอย่างใกล้ชิด ทั้งโดยการขอพร(ขอดุอาอ์) การทำอิบาดดะฮฺและการเผยแผ่อิสลาม

มะดีนะตุสสลาม จึงเป็นโครงการหนึ่งที่มาจากการผนึกกำลังของภาคส่วน ศาสนิกและชาติพันธ์ต่างๆที่ต้องการตอบโจทก์การแก้ปัญหาและสร้างสันติภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อและวัฒนธรรมของชุมชน เป็นการพัฒนาและแก้ปัญหาที่เข้าถึงและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะ การวะกัฟ หรือ เซาะดาเกาะห์ ญารียะห์นั้นเป็นการนำโมเดลการแก้ปัญหาที่มาจากหลักคำสอนของอิสลาม ซึ่งบุคคลแรกที่วะกัฟทรัพย์สินในอิสลาม ก็ตือ ท่านศาสนทูตมูหัมหมัด หลังจากนั้นบรรดาสหายของท่าน บรรดาผู้รู้ได้มีการสืบทอดในเรื่องการวะกัฟนี้ตราบจนปัจจุบัน

ดังนั้น การนำเสนอโครงการมะดีนะตุสสลาม โดยใช้วากัฟเป็นแนวทางในการพัฒนา จึงได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนอย่างล้นหลาม

ถือเป็นความสำเร็จของประชาคมมุสสลิม ที่สามารถจุดประกาย ต่อยอด เติมเต็ม หล่อเลี้ยงและพัฒนาระบบวะกัฟในพื้นที่ สามารถนำระบบวะกัฟ มาเป็นโมเดลในการแก้ปัญหาและสร้างสันติภาพในพื้นที่

แต่สิ่งท้าทายต่องานบริหารทรัพย์สินวะกัฟ ก็คือ การดูแลรักษาและการบริหารให้งอกเงย เกิดประโยชน์ เพราะการรักษาและพัฒนานั้นยากยิ่งกว่าการได้มา

แต่เหนือสิ่งใดนั้น เราเชื่อมั่นในความเมตตา กรุณาปราณีและความช่วยเหลือจากเอกองค์อัลลอฮ ขอพระองค์ทรงช่วยเหลือและเมตตาแก่งานบริหารงานวะกัฟของเราทั้งหลายตลอดไป พร้อมๆกับการทุ่มเททุกสรรพกำลังอย่างเต็มศักยภาพ