Skip to main content

       

 

 

สื่อซาอุฯบอกชายแดนใต้เปลี่ยนไป ปชช.ต้องการสันติภาพ-สตรีมีส่วนร่วมมากขึ้น

สำนักข่าว songkhlatoday รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ Saudi Gazette ประเทศซาอุดีอารเบีย ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย นาย Dennis G. Danchick, Content Editor นักข่าวสัญชาติอเมริกัน ประจำหนังสือพิมพ์ Saudi Gazette ภาคภาษาอังกฤษของประเทศซาอุดีอารเบีย ได้นำเสนอข่าวหลังจากที่ได้ลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา

 

 

 

นายมูฮัมหมัดอัยยุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนภาคใต้ กล่าวว่าประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะตระหนักถึงเรื่องสันติภาพและความปลอดภัย เขาได้กล่าวต่อไปว่า ? ประชาชนพูดถึงเรื่องความปลอดภัยสำหรับพวกเขาและครอบครัวของพวกเขา อีกทั้งในที่ประชุมเสวนา การประชุมของกลุ่มสตรี และ การพบปะพูดคุยในวงสังคมทั่วไป ผู้คนเหล่านั้นจะหยิบยกประเด็นพูดคุยเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นคือเรื่องที่จะทำอย่างไรให้ชีวิตของพวกเขามีความปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิม ? เขายังได้กล่าวต่อไปว่า ? นี่แหละเป็นเหตุผลที่คุณจะต้องฟังประชาชนในพื้นที่ คุณมีการเจรจาพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มมาราปัตตานีแต่คุณต้องรับฟังว่าประชาชนในพื้นที่ต้องการอะไร?

 

 

  •  
  •  
  • photo  , 640x427 pixel , 61,243 bytes.
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

นาย Dennis G. Danchick กล่าวว่า ประชาชนคนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดินแดนแห่งเหตุการณ์ความไม่สงบที่นำไปสู่ความสูญเสียมากถึง 7,000 ชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ต้องการสันติภาพและความปลอดภัย นั่นคือเสียงจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ ผู้ประกอบการและนักธุรกิจ นักเคลื่อนไหวในพื้นที่ของจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เมื่อมีคำถามที่ว่าเมื่อใดความปลอดภัยในพื้นที่จะกลับคืนมา Saudi Gazette ได้รับคำตอบว่าทุกฝ่ายต้องเจรจาพูดคุยกัน ในความเป็นจริงแล้ว การพูดคุยเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกันเรื่องการก่อการร้ายที่ยาวนานร่วมทศวรรษอยู่ระหว่างการดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ระหว่างรัฐบาลไทยและกลุ่มมาราปัตตานียึดมั่นที่จะเดินหน้ากระบวนการพูดคุยสันติภาพ เมื่อวันที่ 23 เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ประกาศพูดคุยสันติภาพที่ได้รับการอำนวยความสะดวกจากรัฐบาลมาเลเซีย นำไปสู่ข้อตกลงที่ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่

อย่างไรก็ดีข้อตกลงดังกล่าวยังได้ข้อสรุปที่ยังไม่ชัดเจนหากยังอยู่ในสถานะหยุดนิ่ง โดยเฉพาะในแง่ของการโจมตีจากฝ่ายต่อต้านที่ได้เข้ามามีบทบาทเมื่อได้ประกาศใช้ข้อตกลง นายภาณุ อุทัยรัตน์ อดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้และดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้บอกกับ Saudi Gazette ว่ามีแนวทางที่สำคัญ 4 ประการ ในการสร้างความปลอดภัยในพื้นที่กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ได้แก่ 1. ทุกคนจะต้องยินดีที่จะเจรจาในโต๊ะพูดคุยสันติภาพ 2. ในการพูดคุยดังกล่าวจะต้องเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย 3. ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาจะต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ
4. ทุกฝ่ายจะต้องเจรจาอย่างจริงใจต่อกัน

ผศ.ดร.อิสมาแอลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาตอนี กล่าวว่า ?สิ่งเดียวที่สามารถทำให้เราอยู่ร่วมกันได้คือสันติภาพ การเจรจาพูดคุยสันติสุขเป็นสิ่งเดียวที่สามารถให้เราอยู่ร่วมกัน ถึงแม้มีเพียงคุณคนเดียว คุณสามารถคุยเรื่องสันติภาพแก่บุคคลอื่นๆได้อีกเป็นพันเป็นหมื่นคน สันติภาพนั้นย่อมแตกต่างไปจากอาวุธต่างๆ ความรุนแรงได้ถูกลองใช้ไปเมื่อหลายปีก่อนแต่ก็ไม่บรรลุผลสำเร็จ นั่นไม่ใช่การแก้ไขปัญหา?

ผศ.ดร.อิสมาแอลุตฟี จะปะกียา ได้เน้นย้ำไปอีกว่า ?ตั้งแต่ผมได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยตอนีเมื่อปี พ.ศ. 2541 ก่อนเหตุการณ์ 9/11 ผมได้สอนนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพ ดังเช่นอดีตรองประธานสภา ศาสนสัมพันธ์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า พวกเราไม่มีความขัดแย้งเพราะศาสนาของประเทศไทย?

ดร.สุกรี หลังปูเต๊ะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาตอนีได้อธิบายถึงมหาวิทยาลัยได้พยายามหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างไร เขาได้กล่าวต่อไปว่า อธิการบดีของมหาวิทยาลัยได้มีแนวคิดวิชาบังคับหลักสูตรสันติศึกษา ?หลักสูตรดังกล่าวได้ถูกแนะนำในหลักสูตรสำหรับนักศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสันติภาพ แต่หลักสูตรดังกล่าวไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากนักศึกษาจะต้องมีความสามารถเชื่อมโยงด้านการคิด วิเคราะห์ มากเท่าที่ควร?
?หลังจากนั้น เราได้ประชุมเพื่อปรับและแก้ไขให้หลักสูตรดังกล่าวสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ซึ่งได้สอนในหลักสูตรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ และภาษามลายูกลาง เนื่องจากว่า 4 ภาษาดังกล่าวได้ถูกใช้เพื่อการเรียนการสอนในคณะต่างๆของมหาวิทยาลัย ซึ่งการใช้ภาษาต่างๆเหล่านั้น ในการสอนสันติศึกษา ได้สอดคล้องกับการศึกษาในคณะที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่?

ที่มหาวิทยาลัยฟาตอนี นักศึกษาจะศึกษาถึงนิยามของสันติภาพในศาสนาต่างๆ เช่น อิสลาม คริสต์ พุทธ และศาสนาอื่นๆ หลังจากนั้นนักศึกษาจะนำแนวคิดต่างๆเหล่านั้นไปศึกษาภาคปฏิบัตินอกมหาวิทยาลัย ซึ่งนักศึกษาได้ไปเยี่ยมเยียนชุมชนต่างๆเพื่อศึกษาว่าคนที่มีความเชื่อแตกต่างกันอยู่ร่วมกันได้อย่างไร หลักสูรดังกล่าวเป็นหลักสูตรภาคบังคับ จำนวน 3 หน่วยกิต ระยะเวลา 16 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง นักศึกษาใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการเก็บข้อมูลในชุมชน
ดร.สุกรี กล่าวต่อไปว่า เมื่อจบหลักสูตรดังกล่าวแล้ว นักศึกษาจะต้องเข้าร่วมสัมมนาวิชาการและนำเสนอผลงานจากการลงพื้นที่ ?ในการสัมมนา บุคคลจากชุมชนต่างๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหาร จะต้องนำเสนอแนวคิดด้านสันติภาพ?

ในขณะที่สันติศึกษาได้ถูกเสนอให้แก่มหาวิทยาลัยอื่นๆก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรวิชาเลือก แต่สำหรับมหาวิทยาฟาตอนี วิชาดังกล่าวเป็นวิชาภาคบังคับ และนักศึกษาทุกคนจะต้องมีผลการเรียนในเกณฑ์ผ่านจึงจะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ?เรามีนักศึกษาจาก 22 ประเทศทั่วโลก ที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยฟาตอนี และพวกเขาเหล่านั้นจะต้องลงทะเบียนเรียนวิชาสันติศึกษา? ดร.สุกรี กล่าว ดร.อิสมาแอลุตฟี กล่าวว่า เขาคิดว่ามหาวิทยาลัยฟาตอนีน่าจะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ได้กำหนดหลักสูตรสันติศึกษาให้เป็นวิชาภาคบังคับ ?เราพร้อมที่จะรองรับห้องเรียนและการสัมมนาวิชาการในด้านสันติภาพสำหรับทุกท่าน แม้แต่เจ้าหน้าที่จากฝ่ายทหาร เราก็ยินดีต้อนรับ?

นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้อธิบายให้ Saudi Gazette เกี่ยวกับรัฐบาลไทยที่ให้การดูแลและช่วยเหลือพี่น้องไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านได้กล่าวถึงการจัดสรรทุนให้กับนักเรียนมุสลิมที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาต่อในต่างประเทศ เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอียิปต์ หรือแม้กระทั่งทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศ นอกเหนือจากนั้น เมื่อนักศึกษาเหล่านั้นจบการศึกษา ศอ.บต. จะพยายามหาช่องทางอาชีพแก่พวกเขา ท่านศุภณัฐฯ ได้รับราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเวลา 36 ปี ทั้งนี้ได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมาก ท่านได้กล่าวว่า ?สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงเชิงบวกในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แตกต่างไปจากในอดีต กล่าวคือปัจจุบันมีพี่น้องชาวไทยมุสลิมที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างน้อย 80% รับราชการในตำแหน่งข้าราชการส่วนท้องถิ่น ส่วนในภาคการศึกษา มีข้าราชการครูที่นับถือศาสนาอิสลามถึง 80% ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในปัจจุบันชาวพุทธและชาวมุสลิมที่อยู่ในชุมชนเดียวกันมีความเข้าใจมากขึ้น?
ท่านได้กล่าวต่อไปว่า นอกเหนือจากนั้น ศอ.บต. ได้สนับสนุนชาวไทยมุสลิมที่ประสงค์จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ ประเทศซาอุฯ

ทั้งนี้ ในแต่ละปี ศอ.บต.ได้สนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับมุสลิม 200 คน อีกทั้งยังได้สนับสนุนคณะบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลเพื่อไปดูแลรักษาสุขภาพพี่น้องชาวไทยมุสลิมดังกล่าวระหว่างประกอบพิธีฮัจย์ เขาได้อธิบายถึงการสนับสนุนผู้ที่ได้รับคัดเลือกไปประกอบพิธีฮัจย์200 คน คัดเลือกประชาชนจากระดับหมู่บ้านและอำเภอ ซึ่งการคัดเลือก กรรมการจะคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่สุด โดยเฉพาะจะพิจารณาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ เช่น บุคคลในครอบครัวและญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกเหนือจากการคัดเลือกพี่น้องมุสลิมเพื่อไปประกอบพิธีฮัจย์แล้ว ศอ.บต. ยังได้คัดเลือกพี่น้องชาวพุทธในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อไปแสวงบุญ ณ ประเทศอินเดีย อีกทั้งยังคัดเลือกพี่น้องไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดินทางเพื่อไปประกอบศาสนกิจของตนเอง ณ ประเทศจีน อีกด้วย ซึ่งได้คัดเลือกจากบุคคลที่ได้รับผลกระทบหรือบุคคลในครอบครัวผู้สูญเสีย การสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆทั้งหมดในการเดินทางเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ณ ประเทศต่างๆ ดังกล่าวเป็นภารกิจของรัฐบาลเพื่อพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น

นอกเหนือจากประเด็นด้านการศึกษาแล้ว ประเด็นที่ได้มุ่งเน้นอีกประเด็นหนึ่งคือ การพัฒนาด้านเศรษบกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายภาณุ อุทัยรัตน์ อดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้  ได้อธิบายถึงแผนการเพื่อดำเนินโครงการสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการดังกล่าวจะครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอเพื่อเป็นเมืองต้นแบบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้เศรษฐกิจในพื้นที่เติบโต เมืองสามเหลี่ยมต้นแบบเหล่านั้น จะมีการลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้า  ชีวมวล แหล่งท่องเที่ยว โครงการอุตสาหกรรมแปรรูป และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยการสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านได้กล่าวถึงความพยายามที่จะช่วยเหลือเกษตรกรให้ใช้พื้นที่ที่มีอยู่ไปใช้อย่างเหมาะสม ท่านได้กล่าว ?เราได้รวบรวมเกษตรกรเพื่อจัดการประชุมสัมมนาสำหรับพวกเขาเพื่อที่เกษตรกรเหล่านั้นจะได้นำความรู้และเทคนิคในการใช้พื้นที่ที่มีอยู่ อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ตัวอย่างเช่นหากเขาปลูกข้าว กล้วย มันสำปะหลัง หรือพืชชนิดอื่นๆ พวกเขาเหล่านั้นจะต้องใช้เวลามากน้อยเพียงใดที่จะได้เงินมาเพื่อเดินทางไปประกอบอุมเราะห์หรือฮัจย์?

ความพยายามอีกด้านหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาคือภาคประชาสังคมในพื้นที่ และนายมูฮัมหมัดอัยยุป ปาทาน บอกกับ Saudi Gazette ว่า ความพยายามดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปมาก เขากล่าวว่า ?เมื่อสามถึงสี่ปี ที่ผ่านมานี้ มีกลุ่มสตรีเพิ่มมากขึ้น และปัจจุบันมีสตรีมุสลิมที่สวมฮิญาบในหมู่บ้านและพูดถึงเรื่องประเด็นสันติภาพเพิ่มมากขึ้นจากเดิมมาก สตรีเหล่านั้นได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานกับกลุ่มภาคประชาสังคมและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรมากขึ้น ชี้ให้เห็นว่ามีประชาชนที่สนใจในการหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่มากขึ้น?

เขากล่าวว่าการท่องเที่ยวในพื้นที่ในรอบหลายปีที่ผ่านมาจากที่ซบเซา ก็ได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ท่องเที่ยวในชุมชนที่น่าดึงดูดใจเทียบเท่ากับการท่องเที่ยวบริเวณชายหาดมากขึ้น การพัฒนาการท่องเที่ยวดังกล่าวได้ถูกดำเนินการเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา เขาได้กล่าวต่อไปว่า ?พี่น้องในชุมชนรู้สึกว่าพวกเขาจะต้องปรับปรุงด้วยเหมือนกัน นั่นคือกลุ่มสตรีจะต้องออกมาและพูดกับบุคคลอื่นๆ ซึ่งแตกต่างจากในอดีต ปัจจุบันมีประเด็นถามตอบระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ มีการประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อเปิดเวทีให้ทุกคนได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นที่จะต้องหาข้อยุติ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารก็มีการพูดคุยในลักษณะเดียวกันกับ ศอ.บต. ด้วยเช่นกัน?

มีประเด็นคำถามที่ว่า ? เมื่อใดที่มีการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ในพื้นที่มากขึ้น? เขาตอบว่า ?เมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา การใช้สื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลมากขึ้น ผู้คนในสังคมใช้ชีวิตอยู่กับสื่อสังคมออนไลน์ แต่การเจรจาพูดคุยค่อนข้างน้อย สื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันนำไปสู่แรงกดดันอย่างมืออาชีพอยู่ในตัวที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา? นายปาทานฯ ชี้ประเด็นสถานการณ์ความรุนแรงในปัจจุบันไม่ได้หมายความว่าสันติภาพจะไม่เกิดขึ้น หรือสถานการณ์ต่างๆจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไป เขาได้เน้นย้ำว่าประชาชนในพื้นที่ต้องการความสงบสุข และเขาต้องการให้ความปลอดภัยกลับคืนมา และสุดท้าย หากพี่น้องประชาชนให้โอกาสกับสันติภาพ ไม่มีใครสามารถหยุดพวกเขาได้อย่างแน่นอน

 

ที่มา http://songkhlatoday.com/paper/116287 

  • photo  , 640x1138 pixel , 139,795 bytes.
  •  
  •  
  • photo  , 800x600 pixel , 85,031 bytes.
  • .
  •  
  • photo  , 800x610 pixel , 96,829 bytes.
  •