Skip to main content

 

 

บทเรียนเรื่องคนถูกอุ้มครั้งที่ 2

 

อัญชนา  หีมมิหน๊ะ ประธานกลุ่มด้วยใจ

 

หลังจากที่ดีใจว่าเขาได้กลับบ้านแล้วปรากฎว่าเจ้าหน้าที่เป็นห่วงความปลอดภัยเขาจึงได้พาตัวเขาไปที่เซพเฮาส์ที่ปลอดภัยที่ชื่ออาร์ตรีสอร์ท ในค่ายอิงคยุทธบริหาร ด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อความปลอดภัยและสบายใจและแสดงให้เห็นว่าอยู่กับทหารปลอดภัย แต่ในมุมมองจากการทำงานกับผู้ที่ตกอยู่ในเหตุการณ์ความรุนแรงหรือที่มีการละเมิดสิทธิอย่างร้ายแรงเช่นการทรมาน นั้น จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ PTSD ซึ่งมีอาการหวาดกลัว ไม่กล้าเผชิญกับสิ่งกระตุ้น กลัวว่าจะเกิดเหตุซ้ำ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดกับเขาคือภาวะความเป็นเหยื่อซ้ำซ้อน กล่าวคือ เขาถูกพาไปโดยบุคคลที่เขาเชื่อว่ามาลักพาตัวเขาไปในเวลากลางคืนเช่นเดียวกัน ไปอยู่ในเซฟเฮาส์ ให้อาหารในลักษณะเดียวกัน นั้นกลายเป็นสิ่งกระตุ้นความให้เกิดความหวาดกลัวซ้ำ ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ

1 ผู้เสียหายที่ควรได้รับการเยียวยาคือการที่พานักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยามาประเมินสภาพจิตใจเขาและให้คำแนะนำในการดูแลตนเองและให้คำแนะนำกับครอบครัวในการดูแลสภาพจิตใจของเขา

2 ตำรวจ ควรหาคนกระทำมาลงโทษ

3 ตำรวจ ทหาร อส และชุดคุ้มครองหมู่บ้านและคนในหมู่บ้าน มาปรึกษาหารือวางมาตรการในการสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความปลอดภัยให้กับคนในหมู่บ้านต่อไปและเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจจะเข้ามามีบทบาทฝึกอบรมหรือเข้ามาตรวจตราอย่างไร และอาสาสมัครในหมู่บ้านจะช่วยดูแลกันอย่างไร

4 การประเมินสภาพจิตใจของเขาหลังจากผ่านเหตุการณ์ 4 เดือน และ การประเมินการรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน

วิธีการที่ทำให้เขามีสภาพจิตใจที่ดีโดยเร็วคือการทำให้เขามีวิธีชีวิตได้ปกติโดยเร็ว

ซึ่งกระบวนการเหล่านี้สามารถที่จะต่อยอดจากความสมัครสมานสามามัคคีที่เกิดในช่วงการช่วยกันตามหาเขาในเหตุการณ์แรก แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ได้นำตัวเขาไปซ้ำ ไม่เพียงแต่สร้างความเป็นเหยื่อให้เขาซ้ำกลับทำลายความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้านให้เกิดความหวาดระแวงและทำลายความเชื่อมั่นในกลไกกระบวนการยุติธรรม

 

ปล ค่ายไม่ใช่โลกในมุมของเรา

 

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

“ดาโหะ มะถาวร”เหยื่ออุ้ม(เกือบหาย)รายล่าสุด–กอ.รมน.ยัน ไม่มีเหตุผลที่เจ้าหน้าที่รัฐจะทำ

การกลับมาของคนหาย ได้สอนอะไรเราบ้าง

ที่ไหนจะปลอดภัยและอุ่นใจได้

รัฐควรดำเนินการอย่างไรหลังครูตาดีกาโดนอุ้ม