Skip to main content

 

 

เวทีสัมมนาวิชาการ

“พื้นที่การเมืองของภาคประชาสังคมในความขัดแย้งชายแดนใต้/ปาตานี

23  พฤษภาคม 2560 

ณ  โรงแรมปาร์ควิว รีสอร์ท ปัตตานี

 

1. หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การณ์ความรุนแรงของปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มปะทุขึ้นมาตั้งแต่เหตุการณ์กลุ่มคนร้ายบุกเข้าปล้นอาวุธปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บ้านปิเหล็ง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มที่ทำให้สถานการณ์ความรุนแรงยาวนานก้าวเข้าสู่ปีที่ 13 ส่งผลให้ทำให้เกิดผู้เสียชีวิตกว่า 6,000 และผู้บาดเจ็บ กว่า 12,000 ขณะที่ภาครัฐจำเป็นต้องใช้งบประมาณมหาศาลเดียวกันในการแก้ไขปัญหา ความรุนแรงดังกล่าว ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อการดำรงชีวิตของประชาชน อีกทั้งยังสะท้อนปัญหาที่มีความละเอียดอ่อน ซับซ้อนและเชื่อมโยงในหลายมิติ ทั้งสังคม การศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคง และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัญหาที่สะสมมาตั้งแต่อดีต

ใจกลางของปัญหาความขัดแย้งรุนแรง คือ ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างชาวมลายูมุสลิมในพื้นที่และส่วนอื่นๆของประเทศสะท้อนให้เห็นปัญหาความขัดแย้งในเชิงชาติพันธุ์และความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เกิดจากปัญหาการปกครองต่างๆ ของรัฐที่มุ่งตอบสนองนโยบายหลักของส่วนกลางมากกว่า ซึ่งทำให้ประชาชนรู้สึกถึงการไม่ได้รับความเป็นธรรม เงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ได้เร่งการปรากฏขึ้นของกลุ่มต่อต้านรัฐ ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่มีฐานของอุดมการณ์ทางศาสนา ชาติพันธุ์และประวัติศาสตร์รองรับ บวกกับปัญหาของความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐ ความเปราะบางระหว่างสายสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนกับประชาชนนำไปสู่ความหวาดระแวงต่างๆ เกิดการปิดกั้น กดทับ พื้นที่ทางการเมืองของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นหรือสะท้อนเสียงของประชาชนในช่วงแรกเริ่มของความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้พื้นที่การเมืองดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกกดทับไปด้วยบรรยากาศของความหวาดกลัวและความรุนแรงทั้งหมด

ความพยายามของประชาสังคมซึ่งเป็นภาคส่วนสำคัญภาคส่วนหนึ่งในการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ต่างเป็นตัวแทนเสียงสะท้อนของผู้คนซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้ความรุนแรงไม่ว่าจะมาจากฝ่ายใด หากเราพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่ามีองค์กรประชาสังคมเกิดขึ้นอย่างมากมายและหลากหลาย ทั้งได้รับการสนับสนุนทั้งจากหน่วยงานรัฐและแหล่งทุนต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดบรรยากาศของการเคลื่อนไหวประเด็นทางสังคมที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งรุนแรงในชายแดนใต้ บทบาทขององค์กรประชาสังคมในพื้นที่บ่อยครั้งถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงมากขึ้นในแวดวงที่ติดตามแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชายแดนใต้ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางในการแก้ไขปัญหาไปสู่การใช้สันติวิธีและการกระบวนการทางการเมืองที่มีความชัดเจน โดยเฉพาะการปรากฏขึ้นของกระบวนการพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ระหว่างรัฐบาลไทยและตัวแทนของขบวนการ BRN แม้จะได้รับเสียงวิจารณ์ที่หลากหลายแต่จนถึงปัจจุบันกระบวนการสันติภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการหรือวิถีทางทางการเมืองได้รับเสียงสนับสนุนและยอมรับจากคู่ขัดแย้งและหลากหลายภาคส่วน

จะเห็นได้ว่าในสถานการณ์ของความขัดแย้ง บทบาทผู้ที่ทำหน้าที่อยู่ระหว่างผู้ที่ใช้ความรุนแรงทั้งสองฝ่าย (รัฐและกลุ่มต่อต้านรัฐ) เพื่อแก้ไขปัญหาในมิติต่างๆ รวมทั้งการสร้างความเข้าใจและประสานประโยชน์ระหว่างรัฐกับประชาชนได้ก่อตัวขึ้นอย่างมาก บทบาทดังกล่าวเริ่มทวีความสำคัญมากขึ้นท่ามกลางวิกฤติความรุนแรงและภายใต้สภาวะทางการเมืองทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศซึ่งเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ที่อาจเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะไม่นำไปสู่การสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนและถาวร ในห้วงเวลาสำคัญนี้ การพยายามทำความเข้าใจต่อสาธารณะร่วมกันต่อนัยยะสำคัญของพื้นที่การเมืองกับภาคประชาสังคมจึงมีความหมายสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความหมายของพื้นที่การเมืองกับการขับเคลื่อนของภาคประชาสังคม ความเปลี่ยนแปลงอะไรที่มีความสำคัญซึ่งมีผลต่อทำให้พื้นที่ทางการเมืองของภาคประชาสังคมถูกเปิดออกหรือนำไปสู่การปิดกั้น และสุดท้ายภาคประชาสังคมต้องทำดำเนินการอย่างไรที่เป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อนการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืน การสะท้อนมุมมองจากนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานด้านความขัดแย้งและสันติภาพจะช่วยให้เห็นทิศทางที่เป็นโอกาสสำคัญในการขับเคลื่อนงานของภาคประชาสังคมชายแดนใต้/ปาตานีในอนาคต

 

2. วัตถุประสงค์                                                              

1. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการ นักปฏิบัติการและภาคประชาสังคม เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในพื้นที่ความขัดแย้ง

2. เสริมสร้างองค์ความรู้และศักยภาพ ในระดับภูมิภาคชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนการสร้างสันติภาพ

3. เพื่อให้ภาคประชาสังคมและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าใจและสามารถติดตามสถานการณ์การพูดคุยสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ที่กำลังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง

 

3. กลุ่มเป้าหมาย     

ตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ ภาควิชาการ และภาครัฐ รวม 200 คน

 

4. องค์กรร่วมจัด

1. สภาประชาสังคมชายแดนใต้

2. สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 

3. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

 

5. เวลาและสถานที่

08.30-16.00 น. ณ โรงแรมปาร์ควิว รีสอร์ท จังหวัดปัตตานี

 

 

 

กำหนดการ

เวทีสัมมนาวิชาการ

“พื้นที่การเมืองของภาคประชาสังคมในความขัดแย้งชายแดนใต้/ปาตานี”

23 พฤษภาคม 2560  ณ ห้องพิมมาดา โรงแรมปาร์ควิว รีสอร์ท ปัตตานี

จัดโดย สภาประชาสังคมชายแดนใต้

สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้

และสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

 

 

08.30  - 09.00 น.      ลงทะเบียน

09.00  - 09.30 น.      พิธีเปิดเวทีสัมมนาวิชาการ โดย ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้

09.30 – 10.00 น.      เวทีนำเสนอผลงานวิจัย บทเรียน 12 ปีพัฒนาการและบทบาทของประชาสังคมกับกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้และการจัดทำแผนที่เดินทางของสภาประชาสังคมชายแดนใต้

โดย

                       รศ.ดร.ฉันทนา  บรรพศิริโชติ หวันแก้ว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                       นางฟารีดา  ปันจอร์ อาจารย์นักวิจัย สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์                                                   

10.00 – 10.15 น.     พักรับประทานอาหารว่าง

10.15 – 12.30 น.     เวทีอภิปรายวิชาการ พื้นที่การเมืองของภาคประชาสังคมในความขัดแย้งชายแดนใต้/ปาตานี

1. พื้นที่การเมืองกับการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมในประเทศไทย โดย ศ.สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์สันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.  ภาคประชาสังคมชายแดนใต้กับพื้นที่การเมืองในชายแดนใต้/ปาตานี โดย ผศ.ดร. อับดุลรอนิง สือแต  อาจารย์ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

3.  บทบาทภาคประชาสังคมในกระบวนการสันติภาพใน อาเจะห์ มินดาเนา และเมียนมาร์ โดย Dr.Delsy Ronnie  ผู้อำนวยการ  Nonviolent Peaceforce ประเทศฟิลิปปินส์

12.30 – 13.30  น.    พักรับประทานอาหารเที่ยง

13.30 – 14.30 น.     เวทีเสวนาสาธารณะ พื้นที่การเมืองและที่ทางของกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี

โดย

1. นาวาเอกจักรพงษ์ อภิมหาธรรม หัวหน้าสำนักงานเลขานุการคณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้

2. นพ.อาบูฮาฟิซ อัลฮากิม โฆษก MARA Patani 

3. นายรอมฏอน  ปันจอร์ บรรณาธิการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

ผู้ดำเนินรายการโดย อาจารย์อับดุลการิม อัสมะแอ อาจารย์ประจำคณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

 

14.30 – 16.00 น.     อภิปรายทั่วไปและปิดเวที โดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ  จิตภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 

พิธีกรตลอดรายการ

1. นางสาวสุวรา แก้วนุ้ย  อาจารย์นักวิจัย สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

2. นายสะรอนี ดือเระ บรรณาธิการ Sinaran News Online ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

 

Event date