Skip to main content

โลกวันนี้สัญจรครั้งที่ ๓ : “เราจะนิยามสันติภาพที่ยั่งยืนได้อย่างไร”

มีเดียสลาตันจัดกิจกรรม โลกวันนี้สัญจร ครั้งที่ 3ในพื้นที่อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เพื่อร่วมสร้างบรรยากาศการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพกับประชาชนเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมาสถานีวิทยุมีเดียสลาตันได้จัดกิจกรรม โลกวันนี้สัญจร ครั้งที่ 3 เพื่อร่วมสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการสันติภาพกับชาวบ้านในระดับรากหญ้า ในฐานะสถานีวิทยุเป็นสื่อที่ใกล้ชิดกับประชาชนระดับรากหญ้า จึงได้เปิดพื้นที่ในการให้ความรู้เรื่องกระบวนการสันติภาพแก่ประชาชน โดยจัดขึ้น ณ โรงเรียนอัลฟาลาฮ์ อัลอิสลามีย์ บ้านเกาะกาโป ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา และมีผู้สนใจเข้าร่วมประมาน 100 กว่าคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านใน ต.บันนังสตา รองลงมาเป็นเยาวชน และเจ้าหน้าที่ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ดังกล่าว การจัดเสวนาดำเนินการเสวนาโดย นายซาฮารี เจ๊ะหลง ผู้ดำเนินรายการโลกวันนี้ (Dunia Hari Ini) และมีวิทยากร 2 ท่าน คือ นายมูฮำหมัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ และนายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ  ประธานมูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาร่วมพูดคุยในหัวข้อ “เราจะนิยามสันติภาพที่ยั่งยืนได้อย่างไร”

นายมูฮำหมัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ได้เริ่มเปิดเวทีและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของการรับรู้เรื่องกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพโดยอ้างอิงคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีที่ 230/2557ที่สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเปิดพื้นที่ในการพูดคุยเรื่องสันติภาพ มูฮำหมัดอายุบเล่าว่าสมัยก่อนกระบวนการพูดคุยสันติภาพเป็นแบบลับโดยมีการพูดคุยไปแล้ว 4 ครั้งคือครั้งแรกสมัยรัฐบาล สรยุทธ์ จนต่อเนื่องในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงมีการพูดคุยสันติภาพแบบเปิดเผย มูฮำหมัอายุบเน้นว่า สมัยนี้โลกมันเปิดกว้างในฐานะประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งจะต้องรับรู้ และต้องมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวเพื่อสามารถเป็นเสียงให้กับผู้ที่บริสุทธิ์ได้มีพื้นที่ในการเรียกร้องความยุติธรรม ความขัดแย้งในพื้นที่ปาตานีแปลกจากที่อื่นๆอย่างหนึ่ง คือ ชาวบ้านผู้บริสุทธิ์จะเป็นเหยื่อมากกว่าผู้ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย เช่น เด็ก สตรี ครู โต๊ะอีหม่าม พระ เป็นต้น ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องผลักดันให้มีการเปิดเวทีคุยเรื่องสันติภาพให้ได้มากที่สุด เพื่อเรื่องราวเหล่านี้จะได้ไม่เกิดกับชาวบ้านหรือผู้บริสุทธิ์อีก และชาวบ้านสามารถที่จะรับรู้ข้อมูลอย่างถูกต้องและชัดเจนมากที่สุด นายมูฮำหมัดอายุบกล่าวต่ออีกว่าเกือบทุกที่ทั่วโลกเมื่อมีความขัดแย้งวิธีหนึ่งที่สามารถแก้ไขได้คือกระบวนการพูดคุย เฉกเช่นเดียวกันกับพื้นที่ในปาตานีที่มีความขัดแย้งมานาน จึงมีความจำเป็นต้องสนับสนุนการพูดคุยเพื่อให้เกิดสันติภาพ

จากนั้นนายมูฮำหมัดอายุบได้แนะให้กับผู้นำในพื้นที่ดังกล่าวว่า ถ้าอยากให้ชาวบ้านได้รับรู้เรื่องกระบวนการสันติภาพมากขึ้น แนะนำให้แต่ละพื้นที่นั้นแทรกความรู้ในเรื่องดังกล่าวในทุกๆสัปดาห์ เพื่อให้ชาวบ้านมีความรู้ และสามารถมีเสียงในการแสดงความคิดเห็นและแสดงถึงความต้องการเกี่ยวกับสันติภาพได้เต็มที่ จากการสำรวจความต้องการของประชาชนในงานวิจัยที่เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพที่ผ่านมานั้น พบว่ามี4 อย่างที่ประชาชนในพื้นที่ต้องการ ณ ตอนนี้ คือ ความยุติธรรม ความปลอดภัย เศรษฐกิจ เรื่องราคายาง และอยากให้ทั้งสองฝ่ายตระหนักว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องหาทางออกด้วยการพูดคุย

กระบวนการพูดคุยสันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นทาง ทางด้านนายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ  ประธานมูลนิธินูซันตารา เพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา คิดว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับชาวบ้าน จนบางครั้งเรื่องเหล่านี้ถูกปล่อยปะละเลยจากชาวบ้าน นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ จึงเน้นย้ำพร้อมเชิญชวนให้ทุกคนในพื้นที่มีความตระหนักถึงความรู้เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพให้มากขึ้น อย่าคิดว่าเรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องไกลตัว เพราะสันติภาพแท้จริงนั้นเกิดจากความต้องการของประชาชนไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นเสียงของประชาชนสำคัญที่สุด และการได้รับความรู้หรือการเรียนรู้ถึงข้อมูลเรื่องสันติภาพก็จำเป็นเช่นกัน ประชาชนต้องรู้จุดมุ่งหมายของตัวเองอย่างชัดเจน ต้องเปิดกว้างในการรับรู้เรื่องกระบวนการสันติภาพและรับฟังอย่างเป็นธรรม และในตอนนี้รัฐบาลก็ได้เปิดโอกาสให้มีการพูดคุยสันติภาพอย่างเปิดเผย จึงเป็นเรื่องที่ดีสำหรับประชาชนที่ต้องพูดคุยและเรียกร้องสิทธิของตัวเองอย่างเต็มที่ ประชาชนต้องถอดความกลัวเพื่อได้มาสิ่งที่ต้องการจริงๆ

กระบวนการพูดคุยสันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นทาง นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ  ประธานมูลนิธินูซันตารา เพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา คิดว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับชาวบ้าน จนบางครั้งเรื่องเหล่านี้ถูกปล่อยปะละเลยจากชาวบ้าน นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ จึงเน้นย้ำพร้อมเชิญชวนให้ทุกคนในพื้นที่มีความตระหนักถึงความรู้เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพให้มากขึ้น อย่าคิดว่าเรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องไกลตัว เพราะสันติภาพแท้จริงนั้นเกิดจากความต้องการของประชาชนไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นเสียงของประชาชนสำคัญที่สุด และการได้รับความรู้หรือการเรียนรู้ถึงข้อมูลเรื่องสันติภาพก็จำเป็นเช่นกัน ประชาชนต้องรู้จุดมุ่งหมายของตัวเองอย่างชัดเจน ต้องเปิดกว้างในการรับรู้เรื่องกระบวนการสันติภาพและรับฟังอย่างเป็นธรรม และในตอนนี้รัฐบาลก็ได้เปิดโอกาสให้มีการพูดคุยสันติภาพอย่างเปิดเผย จึงเป็นเรื่องที่ดีสำหรับประชาชนที่ต้องพูดคุยและเรียกร้องสิทธิของตัวเองอย่างเต็มที่ ประชาชนต้องถอดความกลัวเพื่อได้มาสิ่งที่ต้องการจริงๆ

คลิปวิดีโอ..เสวนาเราจะนิยามสันติภาพที่ยั่งยืนได้อย่างไร #13/05/2017
ประมวลภาพกิจกรรม

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://www.mediaselatan.com/2017/05/16/peace-forum-k-3/