Skip to main content

ในภาพอาจจะมี ต้นไม้, ต้นพืช, สถานที่กลางแจ้ง และ ธรรมชาติ

 

มันนิ วิถีแห่งป่าเขา (ตอนที่ 1)

ผมมีโอกาสที่ดีที่สุดในการเรียนรู้จากความจริงอีกครั้งในชีวิต จากการมาเยี่ยมเยือนของอาจารย์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร แห่งนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์และคณะ ที่มาดูข้อเท็จจริงว่าด้านชาติพันธุ์ดั้งเดิมแห่งคาบสมุทรมลายา ซึ่งก็ยังมีมันนิ และชาวเล ที่ยังตกหล่นทางทะเบียนและการตกหล่นจากการดูแลของรัฐไทย

มันนิ หรือที่คนไทยเรียกว่าซาไกหรือเงาะป่า แต่พวกเขาเรียกตัวเองว่า มานิหรือมันนิ (maniq) คำว่าซาไก เป็นคำที่เสียงเพี้ยนมาจากภาษามลายู แปลว่า ทาส หรือคนเถื่อน เป็นคำที่มีสำเนียงเชิงดูถูกเหยียบชาติพันธุ์เหมือนคำว่า "เจ๊กหรือแขก" เราจึงควรเรียกเขาอย่างที่ขาเรียกตนเองว่า "มันนิ"

มันนิเป็นชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่มีชีวิตพึ่งพาป่าเขาธรรมชาติล้วนๆ ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ ขุดมัน หาอาหารจากป่า ด้วยวิถีแห่งป่าเขา ที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายครอบครัวไปตามแหล่งอาหาร เพราะหากอยู่ที่เดิมแหล่งอาหารจะหมด มันนิเขารู้ว่าในช่วงนี้ผลไม้ตรงไหนของป่าเขาจะสุก สัตว์ป่าจะมีมาก มันนิก็จะย้ายออกจากที่พักเดิม ไปที่แห่งใหม่ ด้วยวิถีการที่ต้องเคลื่อนย้ายนี่เอง ที่ทำให้มานิมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณที่โดดเด่นมาก คือ ไม่สะสม ไม่มีความโลภ มีอะไรก็แบ่งปันกันกินกันใช้

พี่จรูญ ทศกูล แห่งภูบรรทัด เล่าว่า มีคนเอาเสื้อผ้าไปบริจาคให้มันนิ เขาก็รับไว้ เลือกกันไปแค่คนละตัว เอาแค่มีใส่ ไม่ได้โลภเอาสามสี่ตัว ไม่แก่งแย่งกัน หรือเมื่อล่าสัตว์ได้มา ได้ลิงตัวเล็กๆมาตัวเดียว เขาก็นำมาทำอาหาร แบ่งกันกิน ได้กินเพียงคนละชิ้น แม้ไม่พอ ยังหิวก็ตาม พี่รูญบอกว่า เขาเป็นเช่นนี้เพราะเขาเห็นพ่อแม่ทำกันแบบนี้แต่เด็ก จึงหล่อหลอมความคิดเช่นนี้ขึ้นมา น้องตาล(นักศึกษาเภสัช ป.โท มอ.)ที่เข้าป่าไปด้วย บอกว่า แต่ปัจจุบันมันนิหลายกลุ่มเริ่มเข้ามาใกล้ชิดหมู่บ้านชายป่า เขาเข้ามาดูทีวี ชอบด้วย เด็กเหล่านี้เริ่มมีการแย่งของ มีร้องไห้เมื่อไม่ได้ของ วิถีชุดความคิดของมันนิดั้งเดิมก็จะเริ่มเปลี่ยนไป

มันนิ ผู้ยืนหยัดในวิถีแห่งป่าเขา กับการดำรงวิถีและวัฒนธรรมในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง สมดุลย์คืออะไร โจทย์ยากของทั้งมันนิและนักวิชาการ

ในภาพอาจจะมี 2 คน, ผู้คนกำลังนั่ง และ สถานที่กลางแจ้ง

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่กลางแจ้ง