Skip to main content

ขอเชิญเข้าร่วมงานเสวนาโต๊ะกลม หัวข้อ

การบ่มเพาะตนเพื่อเป็น “มุสลิมที่ดี” และการแสวงหา “ชีวิตที่ดีกว่า” ผ่านการศึกษาแบบเป็นทางการ: การดิ้นรนและการริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านการศึกษาของชาวมลายูมุสลิมชายแดนใต้

(Cultivating ‘Good Muslims’ and Seeking ‘a Better Life’ through Formal Education: Struggles and Initiatives in Education of Malay Muslims of Southern Thailand)

(เวทีเสวนาโต๊ะกลมในงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านไทยศึกษาครั้งที่ 13 จ.เชียงใหม่) --The 13th International Conference on Thai Studies "Globalized Thailand?" Connectivity, Conflict, and Conundrums of Thai Studies 15-18 July 2017, Chiang Mai, Thailand)
 

ผู้ร่วมเสวนาและประเด็นย่อย

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง (Police Colonel Thawee Sodsong)

รัฐไทยกับบทบาทที่ควรจะเป็นในการส่งเสริมการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวมลายูมุสลิมชายแดนใต้ (The Thai state and its proper roles in supporting education according with the ways of life of Malay Muslims in the southern border)

ดร.อับดุลฮาฟิซ หิเล (Abdulhafiz Hile)

โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามชายแดนใต้: ประสบการณ์ในการต่อรองและการร่วมมือกับรัฐไทยเพื่อจัดการศึกษาที่ดีให้แก่ลูกหลานชาวมลายูมุสลิม (Islamic Private Schools in Thailand’s Southern Border: Experiences in Negotiating and Cooperating with the Thai State to Provide Good Education for Malay Muslim Children)

 ดร.มะรอนิง สาแลมิง (Maroning Salaming)

ปอเนาะ: โอกาสในการศึกษาทางศาสนาของคนชายขอบในสังคมมลายูมุสลิม (Pondok: An Opportunity of Studying Religion for Marginal Persons in a Malay Muslim Society)

ดันยาล อับดุลเลาะห์ (Danyal Abdulloh)

ความยากลำบากในการเรียนและการใช้ชีวิตต่างถิ่นในฐานะที่เป็นชาวมลายูมุสลิม (Malay Muslims’ hardship in studying and living in other places)

 

ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ (คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์)

Moderator: Anusorn Unno (Sociology and Anthropology Department, Thammasat University)

 

บทคัดย่อของเวที

ในขณะที่การเรียนรู้ในทางศาสนาอิสลามกระทำผ่านการดำเนินชีวิตทุกด้านของชาวมุสลิม แต่กลับไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ชาวมลายูมุสลิมชายแดนใต้จะได้เข้าถึงและบรรลุเป้าหมายทางการศึกษา ในด้านหนึ่งโรงเรียนสอนศาสนาแบบดั้งเดิมอย่างตาดีกาและปอเนาะ ได้ถูกติดตามและควบคุมอย่างแน่นหนาจากรัฐ เนื่องจากต้องสงสัยว่าเป็นแหล่งปลูกฝังความคิดอิสลามหัวรุนแรงและยุยงให้เกิดการแข็งข้อต่อรัฐ อันนำมาสู่เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ขณะที่แม้ว่าโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจะได้ปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐไทยแล้ว แต่ก็ยังคงถูกควบคุมและจับตาอย่างเคร่งครัดเช่นกัน เช่นเดียวกับนิสิตนักศึกษามุสลิมในระดับอุดมศึกษา ที่ชมรมของพวกเขา รวมทั้งหอพัก หรืออพาร์ทเม้นก็มักถูกบุกจู่โจมตรวจค้น เมื่อไม่นานมานี้นักศึกษามุสลิมจำนวนมากในกรุงเทพฯ ได้ถูกควบคุมตัวและสอบปากคำในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบ ที่สำคัญพวกเขาต้องเผชิญกับอคติและความยากลำบากขณะศึกษาอยู่ในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่อื่นๆ ท่ามกลางสภาวะที่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่มีความเข้าใจต่อศาสนาและชาติพันธุ์และภาษาที่แตกต่างของพวกเขา  ทัศนคติของรัฐ นโยบาย และมาตรการรัฐที่มีต่อการศึกษาทางศาสนาและนักเรียนนักศึกษาชาวมลายูมุสลิม เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อพวกเขาในการการบ่มเพาะตนเพื่อเป็น “มุสลิมที่ดี” และการแสวงหา “ชีวิตที่ดีกว่า” ผ่านการศึกษาแบบเป็นทางการ

 แต่แม้จะมีอุปสรรคมาก คนมลายูมุสลิมก็ได้ริเริ่มกิจกรรมและกระทำการหลายอย่างเพื่อความสำเร็จในทางการศึกษา เจ้าของโรงเรียนปอเนาะแบบดั้งเดิมได้ปรับวิธีการสอนและการบริหารโรงเรียนภายใต้กฎระเบียบของรัฐ ในขณะที่พยายามธำรงบทบาทในการเรียนการสอนทางศาสนาเอาไว้ให้ได้ ส่วนเจ้าของหรือผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ไม่เพียงแต่ต้องจัดการเรียนการสอนทางศาสนา แต่ต้องสอนนักเรียนในด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นต้อการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพในทางโลกด้วย ส่วนนักศึกษามุสลิมก็ได้สร้างความร่วมมือและเครือข่ายเป็นกลุ่มกิจกรรมในระดับต่าง เข่น ชมรมนิสิตนักศึกษามุสลิมในระดับสถาบันการศึกษาและระหว่างสถาบัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพื่อทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ การดิ้นรนและการริเริ่มสร้างสรรค์เช่นนี้ยังไม่เคยได้ถูกศึกษาหรืออภิปรายอย่างจริงจังทั้งในสาธารณะและเวทีวิชาการ ในขณะที่ผู้ที่ต่อสู้ดิ้นรนก็ไม่เคยได้นำเสนอเรื่องราวของตนต่อสาธารณะ เวทีโต๊ะกลมนี้มีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษามลายูมุสลิม เจ้าของโรงเรียนสอนศาสนา และผู้ที่มีบทบาทในทางนโยบายและการบริหารการศึกษา ได้มาแลกเปลี่ยนกันถึงอุปสรรคที่ต้องเผชิญด้านการศึกษา และการดำเนินงานหรือกิจกรรมที่พวกเขาได้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อการเป็น “มุสลิมที่ดี” และการแสวงหา “ชีวิตที่ดีกว่า” ผ่านการศึกษาแบบเป็นทางการ

คำสำคัญ : มลายูมุสลิม, ชายแดนใต้, การศึกษาทางศาสนาอิสลาม

Panel Abstract

While Islam promotes learning through the course of Muslims’ lives, it is not easy for Malay Muslims of southern Thailand to pursue their education. On the one hand, traditional Islamic schools such as Tadika and Pondok are under strict control and have been closely monitored as they are suspected of indoctrinating radical and militant Islam which is deemed accountable for the recent unrest in the region. In addition, even “Islamic Private Schools” which have been adjusted according to the Thai state’s policy are still under control and monitoring. On the other hand, Muslim college and university students are under close surveillance. Muslim student clubs have always been raided and the dormitories and apartments in which they stayed have always been searched. Recently, many Malay Muslim students in Bangkok were arrested and taken into custody for interrogation on the unrest. Importantly, they have been faced with prejudices and difficulties while studying in colleges and universities in Bangkok and other major cities that are not sufficiently sensitive to their religion, ethnicity, and language. These state’s attitudes, policies, and measures on Islamic education and Malay Muslim students create obstacles for Malay Muslims to cultivate “good Muslims” and seek “a better life” through formal education.    

Despite such obstacles, however, Malay Muslims have initiated a variety of projects and activities to achieve what they aim in education. Traditional Islamic school owners adjust their teaching methods and the ways they operate their schools to meet regulations while serving religious study. Islamic Private School owners and administrators not only arrange courses to be in line with the religion but also provide students with knowledge and skills necessary for worldly lives and occupations. Malay Muslim students collaborate and create links with college and university student activists in general to strengthen and broaden their activities. Such struggles and initiatives, however, have hardly been discussed in public and especially in academic conferences by those involved. This round-table is aimed to provide Malay Muslim students and Islamic school owners and administrators with an opportunity to discuss obstacles they have been faced with in education and projects and activities they have initiated to achieve “good Muslims” and “a better life” through formal education.                 

 Keywords: Malay Muslims, Southernmost Thailand, Islamic education
 

บทคัดย่อผู้นำเสนอคนที่ 1 /Abstract 1st panelist

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง (Police Colonel Thawee Sodsong)

รัฐไทยกับบทบาทที่ควรจะเป็นในการส่งเสริมการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวมลายูมุสลิมชายแดนใต้ (The Thai state and its proper roles in supporting education according with the ways of life of Malay Muslims in the southern border)

ในฐานะที่เป็นผู้มีประสบการณ์ในการบริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในหน่วยงานหลักของรัฐ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ให้ความสำคัญกับการศึกษาในฐานะที่เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวมลายูมุสลิม แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่าที่ผ่านมาการศึกษาถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการกลืนกลายชาวมลายูมุสลิมโดยรัฐไทย  แต่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง กลับมองว่าการจัดการศึกษาในชายแดนใต้ไม่สามารถแยกออกจากอัตลักษณ์ทางศาสนาและชาติพันธุ์ได้ การศึกษาในระบบของรัฐต้องเป็นไปเพื่อการสร้างมุสลิมที่ดีควบคู่ไปกับการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศไปสู่วงการอาชีพต่างๆ นอกจากนั้น พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ยังมองว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้มีทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่สามารถนำมาใช้เป็นฐานในการพัฒนาการศึกษาได้ นั่นคือ  การที่ผู้คนมีความเชื่อมโยงข้ามประเทศในทางศาสนาและวัฒนธรรมกับผู้คนในโลกมุสลิมทั้งในแถบประเทศอาเซียนและตะวันออกกลาง อันเป็นโอกาสอันดีแก่เยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการศึกษาต่อทั้งในสายศาสนาและสายสามัญในประเทศเหล่านี้ ซึ่งรัฐไทยควรมีบทบาทส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ด้วย

Police Colonel Thawee Sodsong, a former secretary-general of Southern Border Provinces Administrative Centre (SBPAC), gives importance to education as a key to Malay Muslims’ quality of life development. Although education has been used by the Thai state as a crucial apparatus in assimilating Malay Muslims, Police Colonel Thawee maintains that southern border education management cannot be dissociated from religious and ethnic identities. State’s formal education needs to be carried out to create good Muslims and citizens qualified for occupations. He also believes that the region possesses “capitals” that can be used as a basis for education development. That is to say, the residents are connected to Muslims in ASEAN and the Middle East via religion and cultures, which creates a good opportunity for youths in the southern border provinces to pursue higher education, religious and worldly, in these countries. The Thai state should play a supporting and facilitating role for these youths. 

 

บทคัดย่อผู้นำเสนอคนที่ 2 /Abstract 2nd  panelist

ดร.อับดุลฮาฟิซ หิเล (Abdulhafiz Hile)

โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามชายแดนใต้: ประสบการณ์ในการต่อรองและการร่วมมือกับรัฐไทยเพื่อจัดการศึกษาที่ดีให้แก่ลูกหลานชาวมลายูมุสลิม (Islamic Private Schools in Thailand’s Southern Border: Experiences in Negotiating and Cooperating with the Thai State to Provide Good Education for Malay Muslim Children)
 

ในฐานะนายกสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดยะลา จะมานำเสนอถึงการก่อเกิด พัฒนาการ และการขยายตัวของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามชายแดนใต้ ซึ่งปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนทั้งในระดับประถม มัธยม และวิชาชีพ โดยในทุกระดับเป็นการเรียนการสอนที่ควบคู่กันระหว่างสายสามัญกับสายศาสนา ทั้งนี้ การเกิดขึ้นของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเป็นความพยายามของรัฐไทยในการเข้ามาควบคุมสถาบันการศึกษาแบบดั้งเดิมของชาวมลายูมุสลิม ที่รัฐไทยหวาดระแวงว่าเป็นแหล่งบ่มเพาะอุดมการณ์และซ่องสุมกำลังในการต่อต้านรัฐไทย แม้ปัจจุบันโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างระบบการศึกษาของรัฐไทย ซึ่งรัฐไทยได้เข้ามาควบคุมหลักสูตร ประเมินคุณภาพ และให้งบประมาณอุดหนุนถึงขั้นเรียนฟรี แต่ถึงกระนั้น รัฐไทยก็ดูจะยังไม่ไว้วางใจโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โดยมักมีการตั้งแง่กับโรงเรียนอยู่เสมอในไม่ว่าจะเป็นในแง่คุณภาพการจัดการศึกษา ความโปร่งใสในการบริหารงาน หรือแม้แต่ข้อกล่าวหาว่ามีส่วนในการสนับสนุนขบวนการต่อต้านรัฐ อนึ่ง ท่ามกลางอุปสรรคต่างๆ ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามชายแดนใต้ได้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายช่วยกันพัฒนาการศึกษาและสร้างร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ เพื่อที่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจะได้ทำหน้าที่สร้างโอกาสในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ พร้อมๆ กับการทำหน้าที่ในการธำรงความเป็นมุสลิมที่ดีให้แก่เด็กนักเรียนด้วย

Abdulhafiz Hile, president of the Association of Islamic Private Schools in Yala Province, will talk about the origin and development of Islamic private schools in the southern border provinces. The schools now offer programs focusing on worldly education and religious education at primary and secondary levels and a vocational degree. The schools were born out of the That state’s attempt to control Malay Muslims’ traditional education institutes it deems a breeding ground for anti-state ideology and a haven for anti-state movements. Although now the schools have become part of the Thai state’s education system, in which the Thai state controls curricular, assesses the quality, and allocates budgets, they remains untrustworthy for the Thai state. They are always questioned in terms of education quality, management transparency, and anti-state movement involvement. Despite these obstacles, however, school administrators and teachers unite into a network to develop education and cooperate with education institutes at the international level so that the schools are able to offer education that prepares Malay Muslim children for occupations and cultivate them for religion.  

 

บทคัดย่อผู้นำเสนอคนที่ 3 /Abstract 3rd panelist

ดร.มะรอนิง สาแลมิง (Maroning Salaming)

ปอเนาะ: โอกาสในการศึกษาทางศาสนาของคนชายขอบในสังคมมลายูมุสลิม (Pondok: An Opportunity of Studying Religion for Marginal Persons in a Malay Muslim Society)
 

ปอเนาะเป็นสถาบันการศึกษาแบบดั้งเดิมที่ถ่ายทอดความรู้ทางศาสนาให้แก่ชาวมลายูมุสลิมชายแดนภาคใต้ ปอเนาะในพื้นที่แห่งนี้มีชื่อเสียงมาแต่ครั้งอดีต จนทำให้ “ปาตานี” ได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาอิสลามมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 และดึงดูดให้มุสลิมในประเทศใกล้เคียงเข้ามาศึกษาเล่าเรียนที่นี่ อย่างไรก็ดี ท่ามกลางการขยายตัวของรัฐชาติไทยสมัยใหม่ และความหวาดระแวงที่รัฐไทยมีต่อปอเนาะ ปอเนาะได้เริ่มถูกควบคุมและในที่สุดก็ถูกแปรสภาพไปเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ยังคงมีปอเนาะแบบดั้งเดิมหลงเหลืออยู่ในชุมชนหมู่บ้านต่างๆ และยังมีผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปอเนาะเหล่านี้จะไม่ได้มีการเรียนการสอนสายสามัญควบคู่ไปด้วยดังโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามก็ตาม  น่าสนใจว่าผู้ที่เล่าเรียนในปอเนาะเหล่านี้ในปัจจุบันมักเป็นกลุ่มคนชายขอบในชุมชนมลายูมุสลิม เช่น ผู้ที่ขาดโอกาสศึกษาต่อในระบบ  หรือไม่ก็เป็นผู้ที่ตกหล่นต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน นอกจากนั้นบางปอเนาะก็มีชื่อเสียงว่าเป็นที่ขัดเกลาและให้ชีวิตใหม่เยาวชนผู้ติดยาเสพติด อีกทั้งปอเนาะยังประกอบไปด้วยผู้เรียนที่ไม่ปรารถนาจะเข้ารับการศึกษาในระบบด้วย

 สำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปอเนาะ ปอเนาะไม่ได้เป็นเพียงโรงเรียนทั่วไป แต่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชุมชนที่มีความเป็นเครือญาติและประวัติศาสตร์ร่วมที่ผูกพันโยงใยกันแน่นหนา กระทั่งมีคำเรียกผู้ที่อยู่ในหย่อมบ้านที่อยู่รายรอบปอเนาะว่า “ออแฆร ปอเนาะ”

 โจทย์ที่น่าสนใจสำหรับปอเนาะในปัจจุบันก็คือ ทำอย่างไรปอเนาะจึงจะสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ในฐานะทางเลือกด้านการศึกษาของผู้คนที่อยู่นอกระบบการศึกษาทั่วไป รวมทั้งปอเนาะจะต้องการปรับตัวหรือมีบทบาทอย่างไรที่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ดีของกลุ่มคนเหล่านี้

Pondok is a traditional education institution that transmits knowledge of Islam to Malay Muslims in the southern border. It has been famous since the past, which renders “Patani” a center of Islamic studies since the 15th century and draws Muslims of nearby countries to the region for religious study. Given the modern Thai nation-state’s expansion and its suspicion of Pondok, Pondok was monitored, controlled and eventually transformed into “Islamic Private Schools.” However, some traditional Pondoks remain in villages with students enrolled continually although they do not offer worldly education along like Islamic private schools. Interestingly enough, many students of these Pondoks are marginal persons of a Malay Muslim society; be they those lacking opportunity of pursuing formal education or school dropouts. Besides, some Pondoks are renowned for correcting and giving new life to youths once addicted to drugs. Some students are those who do not want to study in a formal education system.      

Pondok is not just a school. It is part of a community and where kinship and history are tightly connected so much that residents living around it are called “Orang Pondok” or “Pondok People.”  

 An interesting question for today’s Pondok is how to preserve it as an education alternative for those excluded and how to adapt it for these people especially in terms of providing them with a good life.    

 

บทคัดย่อผู้นำเสนอคนที่ 4 /Abstract 4th panelist

ดันยาล อับดุลเลาะห์ (Danyal Abdulloh)

ความยากลำบากในการเรียนและการใช้ชีวิตต่างถิ่นในฐานะที่เป็นชาวมลายูมุสลิม (Malay Muslims’ hardship in studying and living in other places)

การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเป็นหนทางสำคัญของความก้าวหน้าในชีวิต นักเรียนชาวมลายูมุสลิมจำนวนไม่น้อยได้เลือกที่จะมาเรียนต่อระกับอุดมศึกษาในกรุงเทพฯ แทนที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าต้องการเห็นโลกที่กว้างขึ้น อย่างไรก็ดี การใช้ชีวิตในกรุงเทพหรือที่อื่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไปจากที่ชายแดนภาคใต้อย่างสิ้นเชิง นับตั้งแต่การประสบปัญหาด้านภาษา (ไทย) ในการเรียนเมื่อเทียบกับนักศึกษาทั่วไปที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ การที่ต้องอยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมที่แตกต่างและท่ามกลางผู้คนที่ไม่มีความละเอียดอ่อนต่อศาสนาอิสลามและความเป็นมุสลิม อีกทั้งบางครั้งพวกเขายังตกเป็นเป้าต้องสงสัยจากหน่วยงานด้านความมั่นคง จนนำมาสู่การบุกตรวจค้นที่พักอาศัยของพวกเขา ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจของทางบ้านที่ทำให้หลายคนต้องเรียนและทำงานส่งเสียตัวเองไปด้วยพร้อมกัน

แต่ทั้งนี้ ท่ามกลางความยากลำบาก นิสิต/นักศึกษาเหล่านี้ก็ได้สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการดำรงชีวิต และในการธำรงไว้ซึ่งวัตรปฏิบัติทางศาสนา เช่น การรวมตัวผ่านชมรมมุสลิมในมหาวิทยาลัยต่างๆ การจัดกิจกรรมการกุศลทางศาสนาร่วมกัน ในเวทีนี้ตัวแทนนิสิต/นักศึกษาจะมาเล่าให้ว่าพวกเขาใช้ชีวิตและทำงานในกรุงเทพฯ และในที่อื่นๆ อย่างไรบ้าง ด้วยความหวังที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นในทางเศรษฐกิจและสังคม พร้อมๆ ไปกับความสามารถในการธำรงตนเป็นมุสลิมที่ดี

Higher education is a means to success in life. Many Malay Muslim students pursue higher education in universities in Bangkok and in other regions rather than local universities because they want to see a wider world. However, for them living life in Bangkok and in other regions is not easy because the circumstance is quite different from their home. They face language difficulty when compared to students in general whose mother tongue is Thai. They encounter a different culture and especially people most of whom are not sensitive to their religion and ethnicity. In addition, they are a target of suspicion of security agencies, leading to the raids of their residences and the detention of them. This is not to mention their families’ economic problems, which makes it necessary for them to work to support themselves while studying.      

Despite such hardship, however, these students have created networks to help each other in terms of living life and practicing religion, i.e. uniting through Muslim clubs in universities and holding charity activities together. In the roundtable, one of them will tell how he and his Malay Muslim friends study, live and work in Bangkok and in other regions  with hope that his life will be better, economically and socially, along with being a good Muslim.    

File attachment