Skip to main content

โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย–จีนกับบทเรียนโครงการชายแดนใต้

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้

[email protected], http://www.oknation.net/blog/shukur

 

            ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่าน

       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา44

ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) มีคำสั่งที่ 30/2560 เรื่อง มาตรการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ–นครราชสีมา ด้วยการ ยกเว้นการใช้กฎหมายกว่า 10 ฉบับ ให้กับ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย–จีน เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน

       ต้องถือเป็น “คำสั่งนี้เป็นคำสั่งประวัติศาสตร์” ก็ว่าได้ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม และข้อกังวลมากมาย เช่น ผู้ประกอบการหวั่น จะกระทบอุตสาหกรรมภายใน  ธุรกิจเหล็ก เป็นการตัดโอกาส งานออกแบบวิศวกรไทยเพราะ ที่ปรึกษา วิศวกร แรงงาน ให้จีนคุมเบ็ดเสร็จ

       ในงานเสวนา "รถไฟไทย-จีน: ใครได้ ใครเสีย" จัดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการส่วนใหญ่ ไม่ว่าเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ต่างสะท้อนความกังวลใจพร้อมกัน

http://www.bbc.com/thai/thailand-40369155

       ที่สำคัญที่สุดคือความชอบธรรมและธรรมาภิบาลรัฐ ที่รัฐคนดีอ้างมาตลอดตั้งไว้จุดใดหรือ  ที่ผ่านมารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ได้สื่อสาระสำคัญ (key message) ให้สังคมรับรู้ถึงความพยายามทำให้เกิดธรรมาภิบาลในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่

       จากเหตุผลหลายๆองค์ประกอบทำให้อยากในการตรวจสอบและมีโอกาสหรือเป็นช่องทางทุจริตในอนาคตและเมื่อถึงวันนั้นประชาชนรู้ก็สายไปแล้ว ซึ่งหลายๆโครงการในชายแดนใต้กำลังออกสู่สายตาประชาชนในภาวะคนทำงานของรัฐมีโอกาสอนุมัติงบประมาณก้อนโตโดยขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภายใต้รัฐบาลอำนาจเบ็ดเสร็จ

ตัวอย่างโครงการใหญ่ๆชายแดนใต้ที่กำลังเกิดปัญหา

       ช่วงเดิอน สองเดือนนี้ สื่อ ไทย กำลังขุดคุ้ย การใช้งบประมาณ ที่มีปัญหาของภาครัฐ โดยเฉพาะศอ.บต. ไม่ว่าโครงการปรับปรุงมัสยิด 300 ปี  หลายร้อยล้าน  ปรับปรุงสนามกีฬานราธิวาสเกือบพันล้าน  ติดตั้งไฟฟ้าโซล่าเซล หลายแห่งหรือทุกแห่งแต่ติดๆดับๆ  และล่าสุด โครงการสร้างสนามฟุตซอลทุกตำบลแต่ใช้งานไม่ได้ 

             โครงการเหล่านี้ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่ต้นน้ำ  กลางน้ำ และปลายน้ำทำให้มีโอกาสทุจริตและเสียหาย ถ้าประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดหรือเกิดก็น้อยมาก อย่างโครงการติดตั้งเสาไฟฟ้าโชล่าเซลของเทศบาลปริก ที่ยังสามารถใช้งานและราคาถูกกว่า

        ไม่เพียงโครงการนี้จากการที่ผู้เขียนเข้าไปสัมผัสชุมชนเทศบาลปริก( บริหารโดยนายกเทศมนตรี 3 สมัย นายสุริยา  ยีขุน ) โดย พาคนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปดูศึกษางานที่นี่ 8 รุ่นรุ่นละ 5 วัน 5 คืน 120 คน ปรากฎ ว่า ประชาชนทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ทุกโครงการของเทศบาลปริกผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชนต้นน้ำ  กลางนำและปลายน้ำ ทำให้ไม่มีปัญหาการใช้งาน  ไม่มีปัญหาการทุจริต  อีกทั้งประชาชนช่วยดูแล และซ่อมแซม (โปรดดู

http://www.now26.tv/view/103648, http://news.thaipbs.or.th/content/263218, http://news.thaipbs.or.th/content/263642)

       ในโลกโซเซียลชายแดนใต้ตั้งข้อสังเกตว่าไม่เพียงแต่ศอ.บต.ที่ควรเข้าตรวจสอบแต่อีกองค์กรหนึ่งที่มีงบประมาณมากที่สุด ขาดมีส่วนร่วมมากที่สุด คือกอ.รมนภาค 4 และกองทัพ

       โครงการใหญ่อีกโครงการหนึ่งคือ การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เทพา รัฐก็ไม่ควรใช้ม.44ในการทำประชาพิจารณ์  และ EHIA(การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ) และอย่าทำแบบพิธีกรรมให้แค่ถูกตามกฏหมาย  รวมทั้งจะต้องไม่ ปิดกั้นการมีส่วนร่วมทุกกลุ่มโดยเฉพาะของกลุ่มคัดค้าน และผู้รับทำ EHIA ซึ่งก็เป็นนักวิชาการด้วยกัน

       หากเป็นไปได้ ควรต้องมีการปฏิรูประบบการจัดทำ EHIA ของประเทศ ต้องมีการศึกษา SEA ด้วย (การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ คือศึกษาภาพรวมไม่ใช่ทำแต่เป็นรายโครงการ) และต้องให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตตนเองอย่างจริงจัง

       ข้อสังเกตในโครงการต่างๆชายแดนใต้ก็น่าจะมีแน้วโน้มไม่ต่างกันกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย–จีนในอนาคต