Skip to main content
3 F ของความยากความลำบาก (ใจ) ที่ต้องใคร่ครวญ[1] 
                                                                                                     เสียงเล็กๆ[2]
ความจริงอย่างหนึ่งเมื่อมองสังคมในปัจจุบัน คือ การผลักดันระบบการศึกษาทุกมิติทิศทางที่จะทำให้ประเทศก้าวไปสู่ห้วงเวลาของ การพัฒนาอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานการจัดการศึกษาที่คิดว่าเรากำลังเดินมาถูกทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสังคมอุดมปัญญาที่มัก เรียกและขนานนามคนในระดับอุดมศึกษาว่า คือ ปัญญาชน บนฐานคิดที่ว่า คนเหล่านี้คือผู้มีปัญญา
หากทว่าเมื่อลองมองการเป็นอยู่ในสังคม ณ ปัจจุบันในแต่ละวันของสังคมอุดมปัญญาที่ว่านี้เราคงจะละเลยมองข้ามการไม่พูด ถึงการพัฒนาที่เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหันมาทบทวนครวญใคร่ในสัจธรรมความ เป็นจริงของสังคมโลกปัจจุบัน และสิ่งที่กำลังจะพูดถึงดังกล่าวนี้ ก็คือเรื่องของ 3 F
F (Fail) เป็นเรื่องของระดับการศึกษาที่พลาดแล้วแก้ยากพอสมควร เพราะความยากที่ว่า คือ การต้องเสียเวลา เสียเงินเสียทอง เพื่อลองกับบททดสอบครั้งใหม่ในการก้าวข้ามไป 
F (Facebook) เป็นเรื่องของระดับการแบ่งเวลาและการใช้ช่องทางการสื่อสารสารพัดประโยชน์บน คุณและโทษที่อาจจะก่อให้เกิดตามมาอย่างไม่คาดฝัน พลันจะทำให้สิ่งคาดฝันนั้นมันเป็นเรื่องที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นบางครั้งมันก็ สายไปเสียแล้ว เพราะความเพลิดเพลินสนุกสนานเกินขอบเขตทำให้สิ่งนี้เรียกได้ว่าแก้ยากยิ่งกว่าการได้ระดับการศึกษาที่พลาดพลั้ง (F) ในมหาวิทยาลัย
F (Fitnah)  สิ่งนี้คือการแก้ไขที่แก้ยากที่สุด เมื่อเราไม่รู้จักขอบเขตของการใช้ช่องทางการสื่อสารและการพัฒนาตัวเองอย่าง มีทิศทาง หากเราวางทุกอย่างอยู่บนฐานคิดที่ว่า สนุกไปวันๆ เอามันไว้ก่อน เรียนเป็นเล่น เล่นเป็นนิจ คิดแบบง่าย สุดท้ายกรอบของสัจธรรมความถูกต้องกลับถูกละเลยในหน้าที่ของมัน ลูกที่ดีต้องตั้งใจเรียนหนังสือกลับห่างหายความพยายามความตั้งหน้าตั้งตา เรียน มิหนำซ้ำกลับพากเพียรเรียนรู้เรื่องรักใคร่นอกขอบเขต การสื่อสารอย่างมีทิศทางตักเตือนกันและกันในสัจธรรมกลับทำให้ขอบเขตของความ ถูกต้อง ต้องถูกละเมิดเลยเถิดเกินขอบเขตของบริบทสังคมเครือข่าย ...
เมื่อเป็นเช่นนี้การไขว่คว้าให้ได้มาซึ่ง F ต่อไปอีกคืออะไร หรือสังคม ณ ปัจจุบันจะถลำมากกว่านี้อย่างไม่ใคร่ครวญ หรือคำตอบของ 3 F คือการใคร่ครวญหา F ต่อไปที่เรียกว่าฟิรเดาสฺ” เพราะ...
วัลลอฮฺอะลัม
อัลฮัมดุลิลละฮฺ...ขอบคุณคุณพงศกร  หมัดซัน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จุดประกายความคิดบทความชิ้นนี้จากข้อคิดที่ได้จากการอ่าน F (Facebook) ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนคุณความดีและประสบความสำเร็จในรั้วจามจุรีดังที่คาดหวังครับ ด้วยความหวังสลามและดุอาอฺ
 

[1] บทความสะท้อนมุมคิดเล็กๆของผู้เขียน
[2] ที่ปรึกษาคณะทำงานเสียงเล็กๆเพื่อสันติภาพ  อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา