Skip to main content

 

จากเหตุการณ์มหันตภัยเมื่อปลายปี2553 ที่ผ่านมา เป็นมหันตภัยที่สร้างความเสียหายรุนแรงมาก ทำความเสียหายอาคารบ้านเรือนในชุมชนชาวประมงราวประมาณ30หมู่บ้าน เป็นเหตุให้ประชาชนกว่าหน้าหมื่อนคนได่รับความเดือดร้อน เพราะมหันตภัยที่เกิดอย่างฉับพลัน และจาการขาดความรู้การรับมือมหันตภัย ทำให้ประชาชนไม่สามารถที่จะรับมือ และไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ทำให้ได้แต่รอการช่วยเหลือจากภาครัฐ ทำให้เกิดปัญหามากมาย ทั้งเรื่องข้าวปลาอาหาร สิ่งของบริจาค หรือแม้แต่เงินเยียวยาความช่วยเหลือ ซึ่งต่อมาปัญหานั้นเริ่มเพิ่มมากส่งผลเป็นเรื่องก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในและภายนอกชุมชน

บทเรียนครั้งนั้นทำให้สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พอช. จึงได้ลงขันสนับสนุนนักวิชาการและคนในพื้นที่ให้จัดตั้งคณะทำงานในโครงการการพัฒนาศักยภาพกลไกชุมชนและเครือข่ายทางสังคมเพื่อจัดการสาธารณภัย (Pattani Bay Watch : PB Watch) โดยมีรองศาสตราจารย์อิ่มจิต เลิศพงศ์สมบัติ คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร มอ. วิทยาเขตปัตตานี เป็นหัวหน้าโครงการ ทำงานร่วมกับนักวิชาการหลายคณะ หน่วยงานราชการ เอ็นจีโอ แกนนำชุมชน และชาวบ้าน โดยมีหมู่บ้านนำร่อง 16 หมู่บ้าน

วัตถุประสงค์หลักของโครงการคือ ช่วยสนับสนุนให้ชุมชนเกิดความเข็มแข็ง สามารถแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมระยะยาว และทำให้เกิดกลไกในการประสานงานภายในพื่นที่เพื่อพื้นฟูชุมชน ทำให้ทรัพยากรที่ส่งเข้าช่วยเหลือถูกใช้ไปให้เกิดประโยชน์สูงสุด

จาการประชุมชาวบ้านที่ประสบปัญหาภัยพิบัติเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยมีีตัวแทนชาวบ้านเข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไข้สถานการณ์ เพื่อทำให้กระบวนการฟื้นฟูความเสียหายทำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเบื้องต้นทางโครงการฯ ได้สนับสนุนให้ชุมชนต่อตั้งคณะกรรมการในชุมชนและมอบเงินสนับสนุนชุมชนละ 10,000 บาท เพื่อการบริหารจัดการพัฒนาระบบรับมือภัยพิบัติทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

แต่เนื่องจากแต่ละชุมชนได้รับความเดือดร้อนในมิติที่แตกต่างกัน แผนการทำงานจึงมีความหลากหลายตามแต่ความต้องการชุมชนนั้นๆ เช่น การอบรมให้ความรู้ ถอดแบบจากบทเรียนเหตุภัยพิบัตที่ผ่านมา เสริมความรู้ กำหนดมาตรการอพยพหนีภัย การดูแลตัวเอง ปลูกต้นไม้และพื้นฟูป่าชายเลน จัดตั้งศูนย์ประสางานพื้นฟูชุมชน จัดตั้งทีมเฝ้าระวังทางทะเล พัฒนาระบบเตือนภัยในชุมชน ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ วิทยุเพื่อการสืื่อสาร เป็นต้น

จากงบประมาณจำกัดทำให้คณะทำงานโครงการฯ ไม่สามารถสนับสนุนการซื้อของหรือซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนได้ แต่มุ่งเน้นไปในทางเสริมสร้างศักยภาพแก่ชุมชนให้มีระบบการจัดการโครงการที่ดี ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมให้การสนับสนุน และกระตุ้นชุมชนให้มาร่วมมือกันทำงานแก้ปัญหาด้วยตัวเองบนพื้นฐานความสมานฉันท์

แต่จากความเข้มแข็งและการทำงานด้วยความตั้งใจจริงของหลายภาคส่วนที่ร่วมแรงกันในโครงการนี้ เงินบริจาค งบประมาณ การสนับสนุนและกำลังใจจากหลายหน่วยงานจึงเริ่มหลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนได้มากขึ้น