Skip to main content

วันศุกร์ พวกท่านจงรีบเนียตและอาบน้ำเตรียมละหมาดวันศุกร์เถิ ดก่อนที่ท่านจะถูกละหมาด

จงเกรงกลัวต่อพระผู้เป็นเจ้า

แม้เราจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมต่างกันจงระวังการฟิตนะห์

ผมเอง ยังขอยืนยันว่า มิได้อยู่ข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ( หากแต่ ) เป็นการนำเสนอ เพื่อเรียกร้องให้พี่น้องมุสลิมทุกท่าน มองถึงผลร้ายที่ก่อเกิดจากการ " ฟิตนะ " " กล่าวหา " " และไม่ยอมแสดงเหตุผล "

 

ของมุสลิมหนึ่ง ๆ ที่มีต่อมุสลิม อีกหนึ่ง

--------------------------------------------------------------

 

( บันทึกโดยท่านมุสลิม )

" จากหุซัยฟะฮฺ เล่าว่า ครั้งหนึ่งพวกเราพร้อมด้วยท่านอุมัรฯ "

 

ท่านอุมัรฯ ได้กล่าวขึ้นว่า " มีใครเคยได้ยินท่านรสูลฯ พูดเรื่อง ( ฟิตนะห์ ) "

 

คนกลุ่มหนึ่งจึงตอบว่า " พวกเราเคยได้ยิน "

 

ท่านอุมัร จึงกล่าวว่า " พวกท่านคงหมายถึงฟิตนะฮฺ ที่เกิดขึ้นในครอบครัว หรือเพื่อนบ้านของท่าน "

 

คนกล่มหนึ่งในนั้นตอบว่า " ใช่แล้ว "

 

ท่านอุมัรกล่าวว่า " ฟิตนะฮฺ ดังกล่าว สามารถลบล้างให้หมดไปได้ด้วยการละหมาด การถือศิลอด และการทำทาน ( แต่ ) พวกท่านเคยได้ยินไหม ที่ท่านรสูลฯ กล่าวถึงฟิตนะฮฺ ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้น ประหนึ่งคลื่นในทะเล "

 

หุซัยฟะฮฺเล่าว่า " ผุ้คนต่างเงียบ ดังนั้นฉัน ( หุซัยฟะฮฺ ) จึงกล่าวว่า " ท่านและบิดาของท่าน เป็นพลี ฉันเคยได้ยิน "

 

ท่านรสูลฯ จึงกล่าวว่า " ฟิตนะฮฺ ฝัง ณ ก้นบึ้งของจิตใจมนุษย์ ทีละเล็กทีละน้อย ประหนึ่ง การสานเสื่อ ดังนั้น จุดดำจึงเกิดขึ้นในจิตใจ ส่วนจิตใจ ที่ปฏิเสธฟิตนะฮฺ จะยังคงขาวสะอาด ตราบเท่าที่ฟ้า และดินยังดำรงอยู่ และจิตใจที่มีจุดดำนาน ๆ จะยิ่งดำมือ ประหนึ่ง หม้อดินที่ดำสนิทคว่ำอยู่ จิตใจ จะไม่รู้จักแยกแยะความดี และความชั่ว มันจะตามอารมณ์ใฝ่ต่ำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น "

 

หุซัยฟะฮฺ เล่าต่อไปว่า " ระหว่างพวกท่านกับฟิตนะฮฺที่ยิ่งใหญ่นั้น มีประตูอยู่บานหนึ่ง ซึ่งใส่กุญ่แจอย่างมั่นคง เพราะเป็นที่หวั่นเกรงว่า ประตูดังกล่าวจะถูกทำลาย ( ท่านอุมัรถามว่า ) จะถูกทำลายเชียวหรือ ถ้าเปิดดี ๆ อาจจะปิดได้อีกครั้ง "

 

ท่านหุซัยฟะฮฺ เล่าว่า " ประตูดังกลาว หมายถึง ผู้นำคนสำคัญ ซึ่งต่อมาถูกสังหาร หรือตายเอง และอัล-ฮาดีสนี้ ไม่ใช่ เรื่องเล่าปรัมปรา "

 

การนั่งระหว่าง 2 คุตบะฮฺ  (วันศุกร์)  เป็นสิ่งจำเป็น  (วาญิบ)  โดยการเห็นพ้อง  (อิตฺติฟ๊าก)  และจำเป็นต้องมีการสงบนิ่ง  (ฏ่อมะอฺนีนะฮฺ)  ในการนั่ง  ดังที่อิหม่ามอัลฮะร่อมัยน์และนักวิชาการท่านอื่น ๆ ระบุไว้อย่างชัดเจน  อัศฮาบุชชาฟิอียะฮฺกล่าวว่า  :  การนั่งนี้เป็นการนั่งเบา ๆ อย่างมาก  (สั้น ๆ)  ขนาดเท่ากับซูเราะฮฺอัลอิคฺล๊าซโดยประมาณ  และที่จำเป็นจากการนั่งนั้นคือขนาดของการสงบนิ่ง  (قَدْرُالطمَأْنِيْنَةِนี่คือสิ่งที่ถูกต้องและเป็นที่รู้กันว่าอิหม่ามอัชชาฟิอีย์  (ร.ฮ.)  ได้ระบุเป็นตัวบทและชี้ขาดเอาไว้  แต่อัรรอฟิอีย์ได้เล่าเอาไว้อีกประเด็นหนึ่งว่า  มีเงื่อนไขในการนั่งว่าต้องมีขนาดเท่ากับซูเราะฮฺอัลอิคล๊าซฺและมีนักวิชาการบางท่านเล่าเอาไว้ว่าเป็นตัวบทที่อิหม่ามอัชชาฟิอีย์  (ร.ฮ.)  ระบุเอาไว้ซึ่งอ่อน  (ضَعِيْفٌ)  -อัลมัจญ์มูอฺ  ชัรฮุ้ลมุฮัซฺซับ  เล่มที่ 4 หน้า 384) 

และส่วนหนึ่งจากเงื่อนไขต่าง ๆ ของการคุตบะฮฺ  (วันศุกร์)  นั้นคือ  ความต่อเนื่อง  (อัลมุวาลาตฺ)  ระหว่างบรรดารุ่ก่นของคุตบะฮฺ  และระหว่างคุตบะฮฺแรกและคุตบะฮฺที่  2  และระหว่างคุตบะฮฺที่  2  กับการละหมาด  ดังนั้นถ้าหากมีสิ่งคั่น  (ฟาซิลฺ)  ที่ยาว  (นาน)  ตามจารีต  (อุรฺฟ์)  ระหว่างคุตบะฮฺที่  1  และคุตบะฮฺที่  2  หรือระหว่างทั้งหมดของ  2  คุตบะฮฺกับการละหมาดถือว่าคุตบะฮฺนั้นใช้ไม่ได้  ฉะนั้นถ้าหากเป็นไปได้ในการย้อนกลับไปคุตบะฮฺใหม่  ก็ถือว่าจำเป็น  ถ้าไม่ได้ก็ต้องแปรละหมาดวันศุกร์เป็นละหมาดซุฮฺริ  (อัลฟิกฮุ้ลมันฮะญี่ย์  เล่มที่  1  หน้า  206) 

สรุปคือ  ความต่อเนื่อง  (อัลมุวาลาตฺ)  ถูกพิจารณาใน  3  ตำแหน่ง  คือ
1)
ระหว่าง  2  คุตบะฮฺ  ดังนั้นการคั่นระหว่าง 2 คุตบะฮฺจะต้องไม่ยาวนาน 
2)
ระหว่างบรรดารุ่ก่นของการคุตบะฮฺ
3)
ระหว่าง  2  คุตบะฮฺกับการละหมาด

ดังนั้นจะต้องไม่มีการคั่นที่ยาวนานระหว่างคุตบะฮฺที่  2  จาก  2  คุตบะฮฺนั้นกับการละหมาด  (อิอานะตุดตอลิบีน  เล่มที่  2  หน้า  83)  และคำว่า  คั่นที่ยาวนานตามจารีต  (طَوِيْلُ الْفَصْلِ عُرْفًاนั้นหมายถึงขนาดเท่ากับการละหมาด  2  รอกอะฮฺที่ละหมาดแค่ใช้ได้  กล่าวคือ  จำกัดอยู่เฉพาะรุ่ก่นของการละหมาด  2  รอกอะฮฺ  นั้น  ฉนั้นการคั่นเพียงเล็กน้อยที่มีขนาดหรือเวลาไม่นานเท่ากับการละหมาด  2  รอกอะฮฺก็ถือว่าไม่มีผลเสียแต่อย่างใด  (อ้างแล้ว  เล่มที่  2  หน้า  83,84)  ซึ่งเมื่อพิจารณาตามเนื้อหาข้างต้นแล้ว  การนั่งระหว่าง  2  คุตบะฮฺของค่อตีบและการซ่อละหวาตของบิล้าลหรือการอ่านซูเราะฮฺอัลอิคล๊าซนั้นไม่น่าจะกินเวลาเท่ากับการละหมาด  2  รอกอะฮฺแต่อย่างใด

ดังนั้นการระบุว่าจะต้องมีระยะเวลาอย่าให้นานเกินกว่าการอ่านซูเราะฮฺอัลอิคล๊าซฺ  1  ต้น  ถ้าเกินถือว่าขาดความต่อเนื่อง  (มุวาล๊าตฺ)  จึงเป็นคำกล่าวที่ออกจะเกินเหตุมากไป  เพราะระยะเวลาในการละหมาด  2  รอกอะฮฺสั้น    นั้นน่าจะพอสำหรับการอ่านซูเราะฮฺอัลอิคล๊าซฺ  หรือ  ซอละหวาตได้มากกว่า  1  ครั้ง  (1  จบ)  ด้วยซ้ำไป  อย่างไรก็ตามอาจจะมีทัศนะของนักวิชาการบางท่านระบุไว้อย่างที่คุณกล่าวมา  แต่ก็เป็นเพียงทัศนะนั่นเอง  ทั้งนี้มาตรฐานของการคั่นที่ยาว  ซึ่งจะทำให้ขาดความต่อเนื่องในการคุตบะฮฺและทำให้การคุตบะฮฺใช้ไม่ได้นั้น  นักวิชาการถือเอาระยะความนานตามหลักจารีต  (อุรฺฟ์)  เป็นเกณฑ์ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง

والله أعلم بالصواب