Skip to main content

 

 ออแฆรกำปง (ชาวบ้าน) ไม่ชวนฝัน: บริบทเชิงโครงสร้างที่ถูกละเลยของการเกษตรและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแบบเข้มข้นในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

minor-latin;mso-hansi-font-family:Calibri;mso-hansi-theme-font:minor-latin">บทคัดย่อ: ในบทความชิ้นนี้ ฉันตั้งข้อสังเกตว่าความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติที่ยังคงหลงเหลืออยู่ของพื้นที่แห่งหนึ่งในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้และการที่ผู้คนที่นั่นยังดำรงชีวิตอยู่ในภาคเกษตรหรือบนฐานทรัพยากรเป็นหลักนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกับการทำเกษตรและการจัดการทรัพยากรที่เอื้ออาทรต่อธรรมชาติและไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกับการพึ่งตนเองได้และการมีชีวิตที่พอเพียง ดังเช่นที่ปรากฏในภาพชวนฝันเกี่ยวกับวิถีชีวิตและชุมชนชาวมลายูมุสลิมที่ถูกสร้างและผลิตซ้ำมาอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มและองค์กรภาคสังคม ซึ่งต่อมาภายหลังได้กลายสภาพเป็น ภาคประชาสังคมในสังคมไทย ในขณะที่ ภาคประชาสังคมมักชี้ว่าการขยายตัวของตลาดและระบบทุนนิยม นโยบายรัฐที่ส่งเสริมการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการขาดจิตสำนึก ความโลภ และบริโภคนิยมของชาวมลายูมุสลิมจำนวนหนึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาสู่การทำเกษตรและการใช้ทรัพยากรที่ทำลายธรรมชาติและการขาดศักยภาพในการพึ่งตนเองของพวกเขา ฉันพยายามจะชี้ว่าชีวิตที่ดูไม่ชวนฝันหรือไม่น่าพิสมัยของชาวมลายูมุสลิมในพื้นที่ศึกษาของฉัน แท้จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของการพยายามปรับตัวให้อยู่รอดท่ามกลางบริบทและเงื่อนไขที่สลับซับซ้อนของพื้นที่ โดยเฉพาะโครงสร้างและความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐไทยกับชาวมลายูมุสลิม อันเกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องความมั่นคง ความขัดแย้งทางศาสนาและชาติพันธุ์ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฉันเสนอว่าตราบเท่าที่การพยายามปรับตัวของผู้คนในรูปแบบนี้และประเด็นว่าด้วยโครงสร้างและความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่รัฐไทยมีต่อชาวมลายูมุสลิมยังไม่ถูกให้ความสำคัญ การดำเนินงานของ ภาคประชาสังคมจะไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ดังที่กล่าวอ้าง แต่จะเป็นเพียงการทำงานเพื่อการดำรงอยู่และการเติบโตของหน่วยงานและองค์กรใน ภาคประชาสังคมเองเสียมากกว่า         

 

 (อ่านบทความฉบับเต็มได้ในวารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา 30 (2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2554 โดยดาวโหลดได้ที่http://socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2012/09/JSA-30-2-chalita.pdfและสามารถอ่านวารสารทั้งฉบับได้ที่http://socanth.tu.ac.th/outreach/jsaonline/vol-30-1-jul-dec-2011/)

 

Abstract: In this paper, I maintain that the remaining abundance of ecosystem and natural resources in an area in the southern border province region and that local residents still earn their living primarily via agriculture and natural resources are not necessarily identical to nature-friendly agriculture and natural resource management. Nor are they identical to self-reliance and self-sufficiency lives portrayed in romantic pictures of Malay Muslims’ ways of life and communities. These romantic pictures were produced and have been constantly reproduced by groups and organizations called “civil society sector” in Thai society. The “civil society sector” always points out that the expansion of market and capitalism, government policies promoting economic growth as well as Malay Muslims’ lack of consciousness, greed, and consumerism combined to create a crucial factor leading to destructive agriculture and natural resource use and Malay Muslims’ lost of their self-reliance capacity. However, I argue that the unromantic and unpleasant lives of Malay Muslims in my research site are in fact part of these people’s attempts to adapt to complex contexts and conditions especially power structures and power relations between the Thai state and them. These are involved with security issues, ethno-religious conflicts, and the violence long and continually taking place in the southern border province region. I maintain that as long as such human adaptations and the question of power structures and power relations between the Thai state and Malay Muslims are not addressed properly, the works of “civil society sector” cannot be part of the solution to conflicts and violence in the southern border province region as claimed. Rather, they only serve the survival and the growth of groups and organizations called “civil society sector.”

 

 

Calibri;mso-ascii-theme-font:minor-latin;mso-hansi-font-family:Calibri;
mso-hansi-theme-font:minor-latin;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">