Skip to main content

โรงเรียนวิชาการเมือง
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
(College of Deep South Watch)
ร่วมกับ
สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ภาคใต้ มอ.ปัตตานี
สถาบันสันติศึกษา มอ.หาดใหญ่
สถาบันพระปกเกล้า
และ
มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม
 
 
ขอเชิญผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมฟังบรรยายสาธารณะ
 
ในหัวข้อ
 
ออโตโนมี (อัตบัญญัติ) และความขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์
ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้:
บทเรียนและแนวโน้ม
 
 
Autonomy and Ethnic Conflict
in South and South-East Asia:
Lessons Learned and Trends
 
 
บรรยายโดย
Lecture
 
รศ.ดร. ราจัท แกงกูลี่
Assoc. Prof. Dr. Rajat Ganguly
 
อาจารย์ผู้บรรยายอาวุโส
สาขาวิชาการเมืองและการระหว่างประเทศ
สำนักวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเมอร์ด็อค, ประเทศออสเตรเลีย
Senior Lecturer
Politics and International Studies Programme
School of Social Sciences and Humanities
Murdoch University, Australia
 
ร่วมสนทนาในหัวข้อ
 
ข้อคิดคำนึงถึง
“ทางเลือกกลางไฟใต้”
 
 
Reflection on
“Solutions amidst Thailand’s Southern Violence”
 
 
 
โดย
Discussant
 
ผศ.ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
Asst. Prof. Dr. Srisompob Jitpiromsri
 
ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ภาคใต้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Director of Deep South Watch
Director of Center for Conflict Studies and Cultural Diversity
Prince of Songkla University, Pattani
 
ดำเนินรายการโดย
Moderator
 
อ.ซากีย์ พิทักษ์คุมพล
Zakee Pitakkumpol
 
สถาบันสันติศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Institute for Peace Studies
Prince of Songkla University, Hatyai
 
 
วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2555
เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุมสำนักงานอธิการบดี (สนอ.)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
November 14, 2012
13.00 – 16.00 Hrs
Main Auditorium of the President’s Office
Prince of Songkla University, Pattani Campus
 
 
 
ภูมิหลังผู้บรรยาย
 
 
 
รศ.ดร. ราจัท แกงกูลี่ เป็นอาจารย์ผู้บรรยายอาวุโสในสาขาวิชาการเมืองและการระหว่างประเทศ สำนักวิชาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมอร์ด็อค ประเทศออสเตรเลีย เขาเขียนงานในประเด็นความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ การเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียใต้ โครงการวิจัยในปัจจุบันของเขามุ่งศึกษาเกี่ยวกับขบวนการก่อความไม่สงบและปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบ การเคลื่อนไหวเพื่อการแบ่งแยกดินบนฐานทางชาติพันธุ์ในบริบทของการเมืองโลก รวมไปถึงการศึกษาการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งด้วยแนวทางการทหารและแนวทางการไม่ใช้ทหาร ตลอดจนประเด็นเกี่ยวกับการเมือง นโยบายการต่างประเทศ และความมั่นคงของประเทศต่างๆ ในเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเดีย ปากีสถาน และศรีลังกา
 
อาจารย์ราจัทมีผลงานที่ตีพิมพ์หลายชิ้น ได้แก่ เขาเขียนบทความในหนังสือ Small Wars and Insurgencies (2007), Nationalism and Ethnic Politics (2005) เขายังเป็นผู้เขียนหนังสือ Secession in World Politics: Contemporary Dilemmas (กำลังตีพิมพ์), Dictionary of Ethnic Conflict (กำลังตีพิมพ์) และKin State Intervention in Ethnic Conflict: Lessons from South Asia (1998) อีกทั้งยังเป็นผู้เขียนร่วมในหนังสือ Understanding Ethnic Conflict: The International Dimension (2006, 2002, 1998) และ Ethnicity and Nation-Building in South Asia (ฉบับปรับปรุง, 2001) เขายังเป็นบรรณาธิการร่วมในหนังสือ Ethnic Conflict and Secessionism in South and Southeast Asia: Causes, Dynamics, Solutions (2003)  นอกจากนี้ เขายังมีส่วนเขียนหนังสืออีกหลายเล่มและดำรงตำแหน่งบรรณาธิการของ Journal of South Asian Development ซึ่งเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ปีละสองฉบับ
 
ก่อนที่จะมาเป็นอาจารย์ประจำ ณ มหาวิทยาลัยเมอร์ด็อก ดร.ราจัท เคยสอนอยู่ในมหาวิทยาลัย อิสต์ แองเกลีย ประเทศอังกฤษ, มหาวิทยาลัยวิคตอเรีย ประเทศนิวซีแลนด์, มหาวิทยาลัยทูเลน ประเทศสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์น มิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา
 
หัวข้อการบรรยายในครั้งนี้ของเขามาจากชื่อหนังสือเล่มล่าสุด (Autonomy and Ethnic Conflict in South and South-East Asia) ซึ่งรวบรวมบทความที่เกี่ยวกับกรณีศึกษาการปกครองตนเอง หรือ “อัตบัญญัติ” (Autonomy) ในประเทศเอซียใต้และเอซียตะวันออกเฉียงใต้หลากหลายกรณี โดยหนึ่งในนั้นมีบทความที่เกี่ยวกับชายแดนภาคใต้ของ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นักวิชาการสันติวิธีคนสำคัญรวมอยู่ด้วย
 
 

Autonomy and Ethnic Conflict in South and South-East Asia (2012)
 
 
 
สารบัญ
 
Introduction: Is Autonomy a Solution or an Obstacle to Resolving Ethno-national Conflicts? (Rajat Ganguly)
 
1. Prospects for Autonomy in Jammu and Kashmir (D. Suba Chandran)
 
2. The Rise and Decline of a Separatist Insurgency: Contentious Politics in Assam, India (Sanjib Baruah)
 
3. Ethnic Peacemaking in Sri Lanka: The Politics of Autonomy Solution (P. Sahadevan)
 
4. Ending the War in Aceh: Leadership, Patronage and Autonomy in Yudhoyono's Indonesia (Marcus Mietzner)
 
5. Mindanao, Southern Philippines: The Pitfalls in Working for Peace in a Time of Political Decay (Nathan Gilbert Quimpo)
 
6. When Autonomy is not an Option? Governing Violence in Southern Thailand (Chaiwat Satha-Anand)
 
Conclusion: What Does the Empirical Evidence Tell Us about the Suitability of Territorial Autonomy in Resolving Ethno-national Conflicts in South and Southeast Asia? (Rajat Ganguly)
 
 
ภูมิหลังผู้สนทนาร่วม
 
 
 
          ผศ.ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี เป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ภาคใต้ (CSCD) ในขณะเดียวกันยังเป็นผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ซึ่งมีฐานอยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อีกด้วย นอกจากนี้ เขายังเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ (2552-2553) ศรีสมภพยังเป็นหนึ่งในนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ในสังคมไทยที่เฝ้าติดตามสถานการณ์ ทำงานวิจัย ตลอดจนเสนอประเด็นและความคิดเห็นต่อสาธารณะในประเด็นความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง
 
            ในฐานะที่เป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ศรีสมภพมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสนามชายแดนภาคใต้หลายแง่มุม อาทิเช่น การสำรวจประจำปีโครงการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมจิตวิทยา เศรษฐกิจ และความมั่นคงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2542), การศึกษาปัญหายาเสพติดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (2548), ยุทธศาสตร์สันติวิธีภาคประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2550), การเมืองชายขอบกับการใช้ความรุนแรงและการเมืองแห่งอัตลักษณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2550), การติดตามประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2552), การประเมินผลกระทบของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2552), การวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เฉพาะหน้าทั้งทางด้าน สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2553) และ การพัฒนาตัวแบบการวิเคราะห์นโยบายเพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยฐานข้อมูล สังคมเศรษฐกิจ ประชากรและภูมิศาสตร์ (2553) เป็นต้น
 
เขายังมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับพลวัตของความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิเช่น . “หนึ่งปีหนึ่งทศวรรษความรุนแรงชายแดนภาคใต้: ปริศนาของปัญหาและทางออก” (2548), “Unpacking Thailand’s Southern Conflict: The Poverty of   Structural Explanation” (2006), “A ministry for the south: new Governance Proposals for Thailand's Southern region” (2008), “The Southern Thai Conflict Six Years on: Insurgency, Not Just Crime” (2010) เป็นต้น
 
ในปี 2551 ศรีสมภพ ได้ร่วมกันทำวิจัยชิ้นสำคัญชื่อ การศึกษาการปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดที่มีหลายชาติพันธุ์: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นแรกๆ หลังปี 2547 ที่เปิดประเด็นอภิปรายเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองที่ควรจะเป็นในพื้นที่ซึ่งมีความรุนแรงทางการเมืองอย่างในชายแดนใต้ เขายังเป็นหัวหน้าคณะวิจัยในโครงการศึกษาพัฒนาต้นแบบการบริหารรัฐกิจและการปกครองพิเศษ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยวิธีการทดสอบกับภาคประชาสังคมและประชาชนทั่วไป (2554) ทั้งยังเป็นที่ปรึกษาและคณะทำงานด้านวิชาการของกลุ่มประชาสังคมที่เคลื่อนไหวรณรงค์ในประเด็นการกระจายอำนาจอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในงานเหล่านี้คือเป็นคณะทำงานยกร่างเอกสาร ทางเลือกกลางไฟใต้: เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร? ซึ่งเป็นเครื่องมือในการจัดกระบวนการเวทีนโยบายสาธารณะ “ชายแดนใต้จัดการตนเอง” เกือบสองร้อยเวทีในพื้นที่อยู่ในขณะนี้
 
นอกจากจะเป็นที่ปรึกษาของกลุ่มประชาสังคมหลายกลุ่มแล้ว ศรีสมภพยังมีรายงานวิเคราะห์สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยฐานข้อมูลความรุนแรงของ Deep South Watch ที่เขาและคณะได้ริเริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2548 และเผยแพร่อย่างกว้างขวางในเว็บไซต์ของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้จนถึงปัจจุบัน
 
 
Event date