NOTE: English version please see below.
color:#E46C0A;">หมายเหตุ: เอกสารขนาดสั้นชิ้นนี้ได้รับจาก ดร.นอร์เบิร์ต โรเปอร์ส เพื่อเป็นเอกสารประกอบและเปิดประเด็นในเวที “สื่อเสวนา: การรายงานข่าวกระบวนการสันติภาพ” ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในวันที่ 17 มิถุนายน 2556 (คลิกดูกำหนดการ ที่นี่) ทางกองบรรณาธิการเห็นว่าเอกสารชิ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในวงกว้างสำหรับการเปิดประเด็นอภิปรายเกี่ยวกับบทบาทของสื่อมวลชนในการรายงานข่าวกระบวนการพูดคุย/เจรจาสันติภาพที่มาเลเซียและการพิจารณาความเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพในพื้นที่ชายแดนใต้ในปัจจุบัน จึงนำมาเผยแพร่อีกครั้งในที่นี้
ข้อคิดพื้นฐานบางประการเกี่ยวกับการรายงานข่าวกระบวนการสันติภาพ
โดย ดร.นอร์เบิร์ต โรเปอร์ส
นักวิชาการอาวุโส สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัมนธรรมภาคใต้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
16.06.2013/2556
แปลโดย นวลน้อย ธรรมเสถียร
ความท้าทายพื้นฐานบางประการเกี่ยวกับการรายงานข่าวกระบวนการสันติภาพ
1. กระบวนการสันติภาพเป็นความพยายามทางการเมืองที่มีการแข่งขันกันสูง สำหรับหลายคนที่เข้าร่วมในกระบวนการนี้ มันคือความพยายามในอันที่จะ “เอาชนะ” ในความขัดแย้งนั้นๆ แม้ว่าในขณะนี้ จุดสำคัญจะเปลี่ยนจากการใช้กำลังและความรุนแรงไปเป็นการใช้วิถีทางทางการทูตเพื่อที่จะให้ได้ชัยชนะในการต่อรองหรือบนโต๊ะเจรจาก็ตาม แต่ว่าความคิดเห็นในเรื่องนี้ก็คงเน้นในเรื่องของการเอาชนะหรือไม่ก็พ่ายแพ้ ผู้คนเหล่านี้จะตระหนักก็ในระยะหลังแล้วเท่านั้น ว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะผลักดันให้ได้ผลลัพท์ที่ยั่งยืน หากว่าพวกเขายังคงมองกระบวนการสันติภาพในกรอบของการเอาชนะ หรือไม่ก็พ่ายแพ้ต่อไป
2. และเพราะทัศนคติแบบนี้ นักข่าวจึงพยายามจะทำข่าวกระบวนการสันติภาพผ่านมุมมองแบบ “ใครแพ้ใครชนะ” (ใครได้ใครเสีย) ซึ่งสำหรับสื่อกระแสหลัก นี่ก็เป็นแบบแผนของการทำข่าวการเมืองโดยทั่วไป มุมมองแบบนี้จะขยายชัดมากขึ้นเมื่อในหมู่คนในแต่ละด้านของคู่ความขัดแย้งนั้น มีคนที่ตั้งแง่หรือไม่ก็ต่อต้านกระบวนการรวมอยู่ด้วย
3. จากคำพูดที่รู้จักกันมานานแล้วที่ว่า “ความจริงเป็นเหยื่อรายแรกของสงคราม” เราจะพบตัวอย่างจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่า ในกระบวนการสันติภาพนั้น ฝ่ายที่เกี่ยวข้องมักจะพยายามเล่นแร่แปรธาตุกับข้อมูลเพื่อให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายตน
ข้อสรุปสำหรับการสื่อสารกระบวนการสันติภาพแบบมืออาชีพและอย่างมีจริยธรรม
1. เป็นมืออาชีพและไม่ใช้อคติอย่างที่สื่อควรเป็น: เช่นเดียวกันกับการรายงานข่าวอื่นๆ การรายงานข่าวกระบวนการสันติภาพควรจะทำภายใต้มาตรฐานของการแสวงหาความจริงและการตรวจสอบแสวงหาข้อมูลแบบไม่ลำเอียง ข้อมูลที่ได้มีการตรวจสอบรอบด้าน รายงานถ้อยแถลงต่างๆอย่างถูกต้องตามบริบทของมันและอื่นๆ
2. รายงานมุมมองที่แตกต่างหลากหลายและอย่างจำเพาะเจาะจง: ความขัดแย้งและสันติภาพเป็นเรื่องราวของฝ่ายต่างๆ สองฝ่ายขึ้นไปที่มีความเห็นและมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องว่าเหตุใดจึงมีความขัดแย้งเกิดขึ้นและจะคลี่คลายความขัดแย้งนั้นอย่างสันติได้อย่างไร สื่อหลายๆ สื่อมักจะให้พื้นที่กับมุมมองด้านเดียว ซึ่งถือว่าขัดกับหลักการของการรายงานที่ต้องไม่ลำเอียงและอย่างเป็นธรรม
3. ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจต่อเงื่อนไขที่เป็นตัวขับเคลื่อนความขัดแย้ง: สังคมใหญ่มักจะไม่เข้าใจว่าความขัดแย้งและความรุนแรงนี้ดำรงอยู่ได้อย่างไร ซึ่งสาเหตุอาจจะไม่ใช่เพราะขาดระบบหลักในการให้การศึกษา รวมทั้งการที่มีข้อถกเถียงที่ครอบงำสังคมในเวลานั้น แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากลักษณะอันซับซ้อนของขบวนการที่ธรรมชาติเป็นขบวนการมลายูปาตานี เรื่องนี้เปิดโอกาสให้สื่อเข้ามาทำหน้าที่ส่งเสริมให้สังคมสามารถทำความเข้าใจได้ครอบคลุม
4. เปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีสิทธิและเสียง เติมความเป็นมนุษย์ให้กับเหยื่อของความขัดแย้ง: ในขณะที่ข่าวการพบปะเจรจาในแทรค 1 (คู่ความขัดแย้งหลัก) เป็นเรื่องที่สำคัญและถือเป็นหน้าที่ของสื่อที่จะต้องรายงาน แต่สื่อน่าจะมองหาโอกาสในอันที่จะฉายให้เห็นชีวิตและชะตากรรมของประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบแล้วและยังคงได้รับผลกระทบอยู่จากความรุนแรงและความขัดแย้งที่ยังแก้ไขไม่ได้อันนี้
5. เปลี่ยนกรอบของการรายงานจาก “แพ้-ชนะ” ไปเป็น “ชนะทั้งคู่” หรือ win-win: ประชาชนในเรื่องความคิดและข้อเสนอทั้งหลายที่มีขึ้นเพื่อเชื่อมประสานตลอดจนเพื่อส่งเสริมให้มีการประนีประนอมหรือแก้ปัญหา ให้พื้นที่กับนักรณรงค์เพื่อสันติภาพรวมทั้งความคิดเห็นของพวกเขา เป็นต้น
Some Basic Reflections on Peace Process Journalism
Norbert Ropers (CSCD/PSU, Pat[t]ani)
16.06.2013/2556
Basic challenges of covering peace processes
1. Peace processes are highly contested political endeavors. For many participants it is an ongoing effort to “win” the conflict. Even if now the focus shifts from using force and violence to diplomatic means of winning at the dialogue or negotiation table the perception is still about winning or losing. Only at a later stage these participants realize that it is difficult to achieve a sustainable outcome when they go on framing the peace process as a win-lose-exercise.
2. In light of this attitude journalists are also tempted to cover the peace process from the perspective of “who wins and who loses”. For mainstream media this is anyhow the standard pattern of covering politics. It is amplified when on both sides of the peace process there are forces who are skeptics or opponents of the process.
3. Following the famous ancient quote: “Truth is the first causality of war” one finds also many examples that in peace processes the involved parties are tempted to manipulate information in their favor.
Conclusions for professional and ethical peace process journalism
1. Journalistic objectivity & professionalism: Like in all other areas also the coverage of peace processes should follow the standards of truth-seeking, balanced investigations, multiple-checking of information, framing statements correctly etc.
2.Inclusive coverage of different perspectives: Conflict and peace are all about two or more sides who have fundamentally different opinions and perspectives on why there is a conflict and how this conflict can be peacefully terminated. In many media only one perspective is given a voice. This violates the basic principle of fairness and balanced reporting.
3. Promote the understanding of the drivers of conflict: For the mainstream society it is often a mystery why this conflict and violence do exist. This is not only due to the lack of the mainstream educational system & the dominant discourses in the society, but also a result of the enigmatic Patani-Malay movement. This offers chances for the media to enlighten people in a more holistic manner.
4. Give a voice to the people and humanize all affected from the conflict: While the Track-1 news are important and the media are obliged to cover them, they should also look for opportunities to make the people and their lives and fate visible who have and are still affected from the violence and the unresolved conflict.
5. Change the mode of reporting from “Win-Lose” to “Win-Win”: Inform and enlighten people about ideas and proposals for building bridges and compromises, solving problems, giving publicity to peace activists and their ideas etc.