Skip to main content
กำหนดการ
การสัมมนาเครือข่ายภาคประชาสังคม
 
ประชาสังคมกับกระบวนการสันติภาพ :
การขยายพื้นที่ภาคประชาชนเพื่อการแก้ปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
วันพุธที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒
เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้องประชุมทานตะวัน โรงแรมพาราไดส & รีสอร์ท อ. หาดใหญ่ จ.สงขลา
 
องค์กรผู้ร่วมจัด : มูลนิธิฟริดริชเนามัน ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

-----------------------------------------------------

 

๙.๐๐ น.     ลงทะเบียนและจัดทำแผนที่คนทำงาน (Actor Mapping) จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามอัธยาศัย

๙.๓๐ น.     ชี้แจงวัตถุประสงค์การสัมมนา

๙.๔๐ น.     ปาฐกถานำ: ประชาสังคมกับกระบวนการสร้างสันติภาพ โดย ดร. มารค ตามไท

๑๐.๐๐ น.     กล่าวเปิดประเด็น โดย ดร. ฉันทนา บรรพศิริโชติ

๑๐.๑๕ น.     พัก

๑๐.๓๐ น.     การแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกลุ่มงาน

(กฎหมายและสิทธิมนุษยชน/ เยียวยา/ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม/ สันติวิธี/ เยาวชน/ การศึกษา/ศาสนา/ สื่อมวลชน/ วิชาการ/ สาธารณสุข/ การพัฒนาชุมชน/ ศิลปวัฒนธรรม)

เรื่องที่ ๑ ทบทวนบทบาทการทำงานภาคประชาชนกับการเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพ
เรื่องที่ ๒ การเสริมพลังและสร้างศักยภาพภาคประชาสังคม
เรื่องที่ ๓ การทำงานในระยะต่อไปและการสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ
 

๑๒.๓๐ น.     อาหารกลางวัน

๑๓.๓๐ น.     แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ต่อ)

๑๔.๓๐ น.     นำเสนอผลการแบ่งกลุ่มย่อย โดยผู้แทนกลุ่ม

๑๕.๓๐ น.     อภิปรายรวม

๑๖.๐๐ น.     สรุป “การขยายพื้นที่สันติภาพ: ก้าวต่อไปของการทำงานภาคประชาชน” โดย ดร. อุทัย ดุลยเกษม*

๑๖.๒๐ น.     ปิดการสัมมนา

๑๘.๐๐ น.     ประชุมนอกรอบสำหรับผู้สนใจที่จะทำงานร่วมกันในระยะต่อไป

 

----------------------------------

* วิทยากรอยู่ในระหว่างการติดต่อ

 

ความเป็นมา

          “สันติภาพในมือเรา” เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินความเป็นจริง หากสืบสาวถึงประสบการณ์ของกระบวนการสร้างสันติภาพในโลกแล้ว ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า บทบาทของประชาชนเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสันติภาพที่ไม่อาจม องข้ามได้ และเป็นหัวใจสำคัญของการฟื้นฟูความไว้วางใจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ขยายตัวสืบเนื่องมาเป็นเวลากว่า ๕ ปี ท่ามกลางปัญหาวิกฤติ ประชาชนได้รวมตัวกันเพื่อตอบสนองต่อปัญหาตั้งแต่การมีปฏิกิริยาต่อความ รุนแรง การพิทักษ์สิทธิมนุษยชน การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย การพัฒนาท้องถิ่น รวมไปถึงการติดตามตรวจสอบนโยบาย และรณรงค์สื่อสารเพื่อสร้างสรรค์สันติภาพในสังคมส่วนใหญ่ การให้ความสำคัญกับบทบาทของภาคประชาสังคมเป็นการยืนยันว่าประชาชนต้องมีส่วน ในการกำหนดการแก้ปัญหาความรุนแรง และเป็นการสร้างให้เห็นความตระหนักในการทำงานร่วมกันของภาคประชาสังคม

          มาถึงวันนี้มีคำถามที่ต้องทบทวนเพื่อความเข้าใจและความมั่นใจในย่างก้าวต่อ ไปว่า องค์กรภาคประชาสังคมสามารถสร้าง และขยายพื้นที่สันติภาพ เพื่อยับยั้งหรือลดระดับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แค่ไหนในช่วง เวลาที่ผ่านมา และในอนาคตที่จะมาถึง องค์กรที่ต่างคนทำงานของตนเองจะสามารถรวบรวมพลังสร้างสรรค์ให้เกิดผลกระทบ ต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่สันติภาพที่แท้จริงได้อย่างไร การปรากฏตัวของพลังจากภาคประชาชนจะสามารถดำเนินต่อไปอย่างสืบเนื่องและ ยั่งยืนภายใต้เงื่อนไขและกลไกทางสังคมและการเมืองเช่นไร

          การสัมมนาเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะเปิดพรมแดนของการทำงานร่วมกันใหม่ ๆ ในแนวทางสันติวิธี และก่อให้เกิดธรรมเนียมของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวคิดในการทำงานในหมู่ ภาคประชาชน เพื่อสร้างรากฐานที่สำคัญของการเปิดพื้นที่สันติภาพของประชาชน นอกจากนั้นแล้วการพบกันของประชาสังคมในการสัมมนาน่าจะเป็นโอกาสของการทำความ คุ้นเคยกันในหูม่คนทำงาน และ เริ่มต้นร่วมกันสร้างความเชื่อมั่นในย่างก้าวต่อไปของบทบาทภาคประชาชนในการ สร้างสันติภาพที่ถาวรในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Event date