23 November 2009
กำหนดการประชุมวิชาการ
“นครปัตตานีภายใต้รัฐธรรมนูญไทย: ความฝันหรือความจริง?”
องค์กรร่วมจัด: เครือข่ายประชาสังคม 23 องค์กร และเครือข่ายการเมืองภาคพลเมืองเพื่อท้องถิ่น
องค์กรร่วมสนับสนุนด้านวิชาการ: ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย –
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ – สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552
เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
----------------------------------------------------------------------
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
09.00 – 09.15 น. กล่าวเปิดการประชุม
โดย รศ.ดร.อิสมาแอ อาลี – ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
09.15 – 10.00 น. กล่าวนำ “ทำความเข้าใจการเมืองการปกครองบนความแตกต่างทางอัตลักษณ์”
โดย รศ.ดร.ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว – คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10.00 – 10.15 น. พัก
10.15 – 12.00 น. เวทีนำเสนอ “รูปแบบการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในต่างประเทศ”
· การกระจายอำนาจและแบ่งปันอำนาจอย่างเข้มข้นจากประสบการณ์ในนิวซีแลนด์
โดย ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู – สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี
· เขตปกครองพิเศษซินเจียง: คำตอบของความสงบ 30 ปีในจีนหรือภาพลวงตา
โดย คุณสมชาย กุลคีรีรัตนา – ประธานชมรมคุ้มครองผู้บริโภคด้านฮาลาล
· เขตปกครองพิเศษมินดาเนา: หนทางอีกยาวไกล
โดย ดร.สุริยะ สะนิวา – คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อิสลามยะลา
· เขตปกครองพิเศษอาเจ๊ะห์: ความสำเร็จที่ยังต้องรอคอย
โดย อ.อรอนงค์ ทิพย์พิมล – คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ดำเนินรายการโดยอาจารย์จิระพันธ์ เดมะ – มอ.ปัตตานี
12.00 – 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน – ละหมาด
13.30 – 14.30 น. เวทีอภิปราย “นครปัตตานีภายใต้รัฐธรรมนูญไทย: ความฝันหรือความจริง?”
· รูปแบบการจัดการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย รศ.ดร.โคทม อารียา – ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล
· ข้อเสนอรูปแบบการปกครองพิเศษของเครือข่ายประชาสังคม 23 องค์กร
โดย คุณอุดม ปัตนวงศ์ – มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้
ดำเนินรายการโดยอาจารย์อับดุลการีม อัสมะแอ – ม.อิสลามยะลา
14.30 – 15.15 น. “การกระจายอำนาจสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้: เสียงส่วนหนึ่งจากคนไทยพุทธ”
โดย
พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ – ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
อ.ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ – ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้
นายอัคคชา พรหมสูตร – สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
ดำเนินรายการโดย
อ.อัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง – อดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
15.15 – 16.30 น. วิพากษ์และอภิปรายโดยผู้เข้าร่วมประชุม
หมายเหตุ: กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
หลักการและเหตุผล
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีประชากร ๑.๙๑ ล้านคน (พ.ศ.๒๕๕๐) ในจำนวนดังกล่าวเป็นชาวมลายูมุสลิมร้อยละ ๘๕ เป็นชาวไทยนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๑๔.๕ และ อื่นๆอีกร้อยละ ๐.๕ นับว่าชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นต้นมา ได้เกิดปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างประชาชนกับรัฐ ระหว่างประชาชนต่อประชาชน ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงไม่ไว้วางใจและเกิดความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้นตลอดระยะเวลา ๕ ปีที่ผ่านมา และปัญหากำลังขยายตัวไปในวงกว้างไม่สิ้นสุด ก่อให้ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและประชาชนจำนวนมาก ในขณะเดียวกันรัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการแก้ไขปัญหาที่ยังไม่พบหนทางแห่งสันติภาพได้อย่างแท้จริง
ปัจจัยสำคัญซึ่งนักวิชาการมีความเห็นสอดคล้องกันว่าเป็นปัญหาที่จะต้องร่วมกันพิจารณาแก้ไข คือ การเมืองการปกครองที่ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพในพื้นที่ซึ่งเป็นสังคมพหุลักษณ์ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ที่สังคมมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรมนั้น จะต้องนำนโยบายการเมืองและการปกครองที่ให้ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในทางการเมืองและการปกครอง โดยรัฐจะต้องให้การรับรองและพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมืองโดยเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ รัฐจะต้องกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นให้ประชาชนทุกกลุ่มได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาของตนเองและเพื่ออนาคตที่ดีกว่า (Self Determination) มีสิทธิเข้าถึงทรัพยากรในท้องถิ่นโดยเสมอภาค อันจะทำให้ประชาชนเกิดสำนึกในการเป็นเจ้าของท้องถิ่นของตน (Local Ownership) และเกิดความมั่นคงภายในชาติ (Internal Security) เป็นการแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ซึ่งมีเป้าหมายที่จะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันของคนในชาติท่ามกลางความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม (Balance of conformity and Diversity)
การทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในทางการเมือง โดยการกระจายอำนาจการบริหาร และจัดการทรัพยากรร่วมกันอย่างเป็นธรรม จะต้องให้ประชาชนได้เรียนรู้และเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ และอำนาจหน้าที่ของพลเมือง ตลอดจนความรู้พื้นฐานในด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งจะต้องให้ความรู้ทั้งทางอ้อมและทางตรง โดยการจัดให้มีเวทีสาธารณะและการเสวนาขึ้นอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เครือข่ายประชาสังคมจำนวน ๒๓ องค์กร เครือข่ายการเมืองภาคพลเมืองเพื่อท้องถิ่น โดยการสนับสนุนทางด้านวิชาการจากสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ จึงได้รวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑. เพื่อรวบรวมความคิดเห็นสำหรับการกำหนดรูปแบบ (Model) การบริหารและการปกครองที่สอดคล้องเหมาะสมกับความเชื่อทางศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่นชายแดนภาคใต้
๒. เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนภูมิภาคและอื่นๆที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนทั่วไป
๓. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของภาคประชาชนในทางการเมืองและการปกครอง
เป้าหมาย นักวิชาการ นักศึกษา นักการเมือง ข้าราชการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไปในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ๔ อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวนประมาณ 500 คน
วิธีดำเนินการ
๑. องค์กรเครือข่ายประชุมหารือตั้งคณะทำงานเพื่อติดต่อประสานงานวิทยากร และการใช้สถานที่
๒. จัดเวทีสาธารณะ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป และนักการเมือง ณ เวลาและสถานที่ที่กำหนด
๓. จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม
๔. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อรวบรวมความคิดเห็น จัดหมวดหมู่ เป็นข้อมูลที่ใช้ประโยชน์ในทางวิชาการต่อไป
เวลาและสถานที่ดำเนินการ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
องค์กรที่รับผิดชอบ มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้/สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย
องค์กรเครือข่ายที่สนับสนุน (บัญชีรายชื่อท้ายโครงการ)
งบประมาณ จากการลงทุนร่วมกันของเครือข่ายองค์กรประชาสังคม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ประชาชนได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมในทางการเมืองและการปกครอง
๒. ประชาชนเกิดความภาคภูมิใจ เกิดสำนึกในความเป็นเจ้าของท้องถิ่น
๓. ภาคประชาสังคมมีการพัฒนาเครือข่ายร่วมกันกับองค์กรปกครองท้องถิ่น
๔. ภาคส่วนต่างๆเห็นคุณค่าของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธีเพื่อสร้างความสมานฉันท์และสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
รายชื่อเครือข่ายประชาสังคม ๒๓ องค์กรที่ร่วมกิจกรรม
๑. มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้
๒. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
๓. สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย
๔. เครือข่ายประชาคมมุสลิมปัตตานี
๕. เครือข่ายชุมชนศรัทธา
๖. ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้
๗. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
๘. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
๙. ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคด้านฮาลาล
๑๐. สถาบันอัส-สลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
๑๑. สภาองค์กรมุสลิมแห่งประเทศไทย
๑๒.คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี
๑๓. คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา
๑๔. คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส
๑๕. สมาคมอิสลามจังหวัดนราธิวาส
๑๖. วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
๑๗.เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความ ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้
๑๘. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
๑๙. เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน
๒๐.มูลนิธิเพื่อการศึกษาอามานะศักดิ์
๒๑.เครือข่ายสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ
๒๒.เครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดยะลา
๒๓.โครงการสื่อสันติภาพเพื่อลดความรุนแรง
รายชื่อองค์กรสนับสนุนด้านวิชาการและที่ปรึกษาโครงการ
๑. สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
๒. ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๓. ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Event date