Skip to main content

ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีพิธีลงนาม The Comprehensive Agreement on Bangsamoro มีรายงานข่าวเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพในมินดาเนามากขึ้น แต่ผู้เขียนรู้สึกเสียดายเมื่อเห็นรายงานข่าวในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะจากสื่อกระแสหลักที่เปรียบเทียบ ความสำเร็จ ของมินดาเนากับ ความล้มเลว ที่เกิดขึ้นกับกระบวนการสันติภาพปาตานี

การลงนามดังกล่าวเป็นความสำเร็จระดับหนึ่งของชาวมินดาเนาภายใต้การนำของขบวนการแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร mso-fareast-language:JA">(Moro Islamic Liberation Front, MILF) และรัฐบาลฟิลิปปินส์ซึ่งนำโดยประธานาธิบดี เบนิกโน อากีโนที่ 3 (Beniguno Aquino III) แต่การลงนามครั้งนี้ยังไม่ได้หมายความว่า กระบวนการสันติภาพมินดาเนาได้มาถึงจุดหมายปลายทาง ก่อนที่จะไปถึงจุดหมายปลายทาง ซึ่งเป็นการจัดตั้งเขตปกครองพเิศษบังซาโมโรภายใต้กฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Moro Basic Law ซึ่งเป็นกฎหมายหลักสำหรับเขตปกครองพิเศษ)  กระบวนการสันติภาพมินดาเนาจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนที่สำคัญอีกสองขั้นตอนเป็นอย่างน้อย ได้แก่ รัฐสภาและการประชามติ ซึ่งในช่วงเวลานี้ ยังมีช่องว่างสำหรับบรรดา peace spoilers (ผู้ทำลายสันติภาพ หรือผู้ที่ไม่อยากให้มีสันติภาพเนื่องจากได้ผลประโยชน์ส่วนตัวจากความขัดแย้ง) เล่นงานเพื่อให้กระบวนการสันติภาพมินดาเนาประสบความล้มเลวอีกครั้ง

สื่อกระแสหลักและผู้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้บางท่านก็ไม่ควรเปรียบเทียบกระบวนการสันติภาพที่ผ่านกาลเวลาเป็น mso-fareast-language:JA">17 ปีตั้งแต่ ปีค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) และมีการเจรจาเปิดไม่ต่ำกว่า 60 ครั้ง (และมีการเจรจาปิดอีกมากมาย) กับอีกกระบวนกันสันิตภาพหนึ่งซึ่งเพิ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 28 กุมพาพันธ์ปีที่แล้ว (2556) และมีการพูดคุยแค่สามครั้งเพื่อบ่งชี้ว่า กระบวนกาันสันติภาพในประเทศไทยประสบความล้มเหลว จริงๆ แล้ว กระบวนการสันติภาพในมินดาเนาก็เคยล้มเลวไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง ความล้มเลวทุกครั้งมาพร้อมกับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียชีวิตหลักแสนหรือผู้ลีึภัยภายในประเทศ (Internal Displaced People, IDP) เป็นหลายล้านคน เพราะการปะทะกัน ณ เกาะมินดาเนาเป็นสงครามเต็มรูป ซึ่งทำให้หมู่บ้านกลายเป็นสมรภูมิ แต่สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รายงานความเป็นมาของการลงนามดังกล่าวที่มินดาเนา โดยเจาะจงที่ความสำเร็จอย่างเดียว แต่เบื้องหลังของความสำเร็จก็ยังมีความเสียหายมากกว่าที่ปาตานี

อีกเรื่องที่เราควรทราบและเข้าใจเกี่ยวกับมินดาเนาคือ ในภูมิภาคนั้น ยังมีพื้นที่ที่มีความขัดแย้งที่ไม่ได้รับการแก้ไขซึ่งในขณะนี้ยังมองทางออกไ่ม่เห็น เพราะบนเกาะมินดาเนา กลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาล (ซึ่งใช้คำว่า JA">rebel หมายถึง กบฎ) ไม่ใช่กลุ่ม MILF กลุ่มเดียว แต่ยังมีอีกหลายๆ กลุ่มที่มีพื้นที่ปกครอง เช่น MNLF (Moro National Liberation Front, แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร องค์กร MILF แยกตัวออกจากองค์กรนี้เนื่องจากมีความไม่พอใจต่อการนำองค์กรของ Nur Misuari) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศฟิลิปปินส์ กลุ่ม Abu Sayyaf ฯลฯ กลุ่มเหล่านี้ยังไม่ยอมที่จะเจรจากับรัฐบาล ซึ่งหมายความว่า บนเกาะมินดาเนายังมีพื้นที่ความขัดแย้งที่ยังมีการใช้ความรุนแรงมากพอสมควร

ด้วยเหตุนี้เอง JA">“ความสำเร็จ ของการลงนามระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับองค์กร MILF แม้ว่าเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ได้หมายถึงความสำเร็จสำหรับเกาะมินดาเนาทั้งเกาะ ซึ่งยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายต่อไป

ความแตกต่างกันอีกอย่างที่ชัดเจนระหว่างกระบวนการสันติภาพในสองประเทศนี้คือ บทบาทและเจตจำนนทางการเมืองที่แสดงโดยผู้นำของประเทศ ก่อนที่จะริเ่ริ่มกระบวนการสันติภาพ ประธานาธิบดี เบนิกโน อากีโนที่ 3 ได้เดินทางไปเพื่อพบปะกับแกนนำขององค์กร mso-fareast-language:JA">MILF ณ ประเทศญี่ปุ่น และแสดงความตั้งใจของท่านเพื่อดำเนินกระบวนการสันติภาพให้เป็นวาระแห่งชาติ ปฏิบัติการเช่นนี้ทำให้ฝ่ายองค์กร MILF มั่นใจในความตั้งใจของฝ่ายรัฐบาล ซึ่งเป็นพลังในการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพ

ตรงกันข้าม ผู้นำทางการเมืองของประเทศไทยไม่เคยแสดงความจริงจังในกระบวนการสันติภาพ แต่โยนหน้าที่ให้กับข้าราชการบางคน โดยตัวผู้นำเองไม่มีส่วนร่วม ท่าทีของผู้นำทางการเมืองบ่งบอกว่า่ รัฐบาลไทยยังไม่เข้าใจลักษณะพื้นฐานของกระบวนการสันติภาพซึ่้งจำเป็นต้องมีการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน mso-fareast-language:JA">(mutual trust building)  

เมื่อเผชิญหน้ากับการชะงักของกระบวนการสันติภาพปาตานี สื่อกระแสหลักเอาแต่กล่าวโทษฝ่ายขบวนการหรือฝ่ายผู้อำนวยความสะดวก (รัฐบาลมาเลเซีย) แต่อันที่จริงแล้วท่าทีของรัฐบาลไทยซึ่งไม่เคยแสดงความจริงจังก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการชะงักด้วย นอกจากสภาพสูญญากาศทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองหลวง JA">

ความเปิดกว้างของฝ่ายรัฐบาลฟิลิปปินส์ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ เมื่อไปดูงานที่เกาะมินดาเนาเมื่อเดือนตุลาคม 2556 ผู้เขียนไ้ด้มีโอกาสเพื่อสำผัสกับความเปิดกว้าง เช่น เมื่อไปเยี่ยมที่ว่าการอำเภอแห่งหนึ่งในเขตบังซาโมโร ในห้องทำงานของนายอำเภอ มีธงของบังซาโมโรพร้อมกับธงชาติฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ เมื่อไปสำนักงานคณะกรรมการเปล่ยนผ่านบังซาโมโรในเมืองโกตาบาโต (Cotabato, เมืองหลวงของเขตปกครองพิเศษ) คนที่มาจากบังซาโมโร (ส่วนใหญ่มาจาก MILF) ใช้คำว่า พวกจักรพรรดินยม (imperialist) หรือ นักล่าอาณานิคม (colonialist) เพื่ออธิบายถึงนโยบายของรัฐบาลฟิลิปปินส์ในอดีต เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่ใช่บังซาโมโรซึ่งอยู่ในห้องเดียวกันก็ไม่แสดงปฏิกิริยาใดๆ แต่ยอมรับคำพูดของคนบังซาโมโร ถึงแม้ว่า เจ้าหน้าที่คนนั้นอาจมีทัศนคติที่แตกต่างกันไปก็ตาม

แต่ในบรรดาความเปิดกว้างของรัฐบาลฟิลิปปินส์ ประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ ทางรัฐบาลยอมรับสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเอง ( JA">right to self-determination) ของบังซาโมโร ตามหลักสากลและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพราะในสุดท้าย รัฐบาลก็ตระหนักว่า การยอมรับสิทธิดังกล่าวอย่างเดียวที่สามารถทำให้ฝ่ายกบฏมินดาเนายอมรับเพื่อมานั่งโต๊ะเจรจา

จากคำอธิบายข้างบน สามารถสังเกตได้ว่า ประสบการณ์ของบังซาโมโรบนเกาะมินดาเนา มีความแตกต่างจากสภาพแวดล้อมที่ปาตานี ในเรื่องกระบวนการสันติภาพ มินดาเนามีประสบการมากกว่า 17 ปี ส่วนปาตานีเพิ่งผ่านมาแค่ปีเดียว ฉะนั้น สื่อกระแสหลักไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบ ความสำเร็จ ของมินดาเนากับ ความล้มเลว ที่ปาตานี  เพราะกระบวนการสันติภาพของแต่ละพื้นที่อยู่ในระดับที่แตกต่างกัน มันเท่ากับเปรียบเทียบนักเรียนมธยมศึกษาตอนปลายคนหนึ่งกับเด็กทารกคนหนึ่ง แต่สื่อกระแสหลักควรจะถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของมินดาเนาเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการสร้างสันติภาพ ณ ปาตานี น่าเสียดายอย่างยิ่งที่แทบไม่มีสื่อที่กระทำเช่นนั้น ตั้งแต่กระบวนการสันติภาพปาตานีริิเริ่ม สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่ยังไม่ทำหน้าที่ซึ่งเอื้อต่อกระบวนการสันติภาพ แต่ยังเป็น คนขายข่าว เพื่อป้อนความต้องการของผู้บริโภคสื่อเท่านั้น