[คลิกอ่าน ‘หญิงเหล็กแห่งขุนเขา ตอนที่ 1’]
color:#333333">เช้าวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 เป็นเช้าที่ทุกคนในครอบครัวปฎิบัติกิจวัตรเหมือนอย่างเคย สุกรี มุมีนะห์ และคอลิดไปเรียนหนังสือ ส่วนเธอเตรียมตัวไปสอนตาดีกา แต่สักพักเสียงโทรศัพท์เธอก็ดังขึ้นอย่างผิดสังเกต เพราะตอนเช้าจะไม่ค่อยมีใครโทรหาสักเท่าไร
color:#333333">"อัสลามูอาลัยกุม
color:#333333">” เธอทักทายด้วยน้ำเสียงที่สุภาพและอ่อนโยน
color:#333333">แต่เสียงปลายที่เธอรับ กลับกลายเป็นเสียงของบุรุษเพศชายที่มีน้ำเสียงตะคอกและดัง
color:#333333">"หยุดตามหาความจริงของคนที่ตายและคนที่ไร้อิสรภาพได้แล้ว! ไม่อย่างนั้นเธอจะลำบากมากกว่านี้!!"
color:#333333">ท้องฟ้าที่เริ่มจะสว่าง ต้องกลับกลายเป็นสีดำอีกครั้ง เหตุการณ์ที่เกิดกับเธอในวันนี้ ทำให้เธอไม่กล้าที่จะปรึกษาใคร ไม่กล้าแม้ที่จะบอกลูกๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น เธอไม่กล้าที่จะเคลื่อนไหวคดีของลูกชาย เธอกลัว เธอกลัวว่าจะเกิดร้ายในครอบครัวเธออีก
color:#333333">
color:#333333"> เวลา 3.30 น. เธอลุกขึ้นละหมาดตะฮัดญุดและขอดุอาอ์ให้ตัวเองและลูกๆ ของเธอปลอดภัยจากเหตุการณ์ความไม่สงบ
color:#333333">เธอขอดุอาอ์ด้วยน้ำตาที่ไหลอาบแก้ม จนเสียงสะอื้นของเธอทำให้ลูกชายคนเล็กตื่นจากที่นอน แล้วมาโอบกอดผู้เป็นแม่ที่กำลังร้องไห้ เขาปลอบโยนผู้เป็นแม่ด้วยคำพูดที่ว่า "อัลลอฮ์จะอยู่กับคนที่อดทนน่ะมามา"
color:#333333">เสียงปลอบของลูกชายยิ่งทำให้เธอร้องไห้ดังขึ้นกว่าเดิม
color:#333333">เช้าวันที่ 5 กรกฎาคม 2556 เธอตัดสินใจนำเรื่องที่เกิดขึ้นดังกล่าวไปปรึกษาศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจังหวัด ทนายก็ได้ให้คำปรึกษาแก่เธอทุกครั้ง เธอได้ฟังคำแนะนำไม่ว่าจะเป็นศูนย์ทนายหรือองค์กรที่เข้ามาช่วยเหลือเธอ แต่เหมือนฟ้าเต็มใจ เหตุการณ์คนแปลกหน้าโทรศัพท์เข้ามา กลับทำให้เธอแข็งแกร่ง เข้มแข็งมากขึ้นกว่าเดิม โดยไม่หวั่นกับเหตุการณ์หลังจากนี้ที่จะเกิดขึ้นกับเธออีก
color:#333333">การค้นหาหลักฐานของเธอเป็นไปอย่างเป็นระบบ เธอได้ปรึกษากับองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับสิทธิในพื้นที่ ซึ่งความพยายามของเธอในการหาความจริง ใกล้จะเห็นผลขึ้นเรื่อยๆ และสามารถที่จะหาข้อสรุปเกี่ยวกับคดีลูกชายเธอ
color:#333333">เช้าวันที่ 20 กรกฎาคม 2556 ได้มีการนัดฟังคำพิพากษาคดีของลูกชาย หลังจากที่ลูกชายอยู่ในเรือนจำเป็นเวลานานสำหรับผู้ที่เป็นแม่ที่เฝ้ารอคอย เช้าวันนั้นเป็นเช้าที่ญาติๆ มาให้กำลังใจเธอ พร้อมด้วยลูกๆ ทั้งสามคนที่หยุดเรียนเพื่อไปฟังคำพิพากษา ผู้พิพากษาศาลได้กล่าวประโยคที่ทำให้ผู้เป็นแม่ถึงกับน้ำตาไหลด้วยความดีใจ "คดีได้ยกฟ้องในชั้นฎีกาแล้ว"
color:#333333">"อัลฮัมดุลลิลลาฮ์! อัลฮัมดุลลิลลาฮ์! อัลฮัมดุลลิลลาฮ์!" สามครั้งที่เธอได้เอ่ยจากปาก ด้วยความตื่นเต้น และตื่นตันใจที่เธอจะได้พบกับลูกชายอีกครั้ง
color:#333333">เวลา 18.00 น. ทุกคนพร้อมเพรียงหน้าเรือนจำ เพื่อรอการปรากฏตัวอีกครั้งของลูกชาย แล้วในที่สุดเวลา18.30 น. ผู้เป็นดั่งดวงหฤทัยได้ก้าวออกจากเรือนจำ ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม พร้อมหยาดน้ำตาลูกผู้ชายที่ไหลอาบแก้มเขาโดยไม่หยุด เขาได้โอบกอดผู้เป็นแม่ด้วยความรัก ความคิดถึง และความห่วงใย ทั้งยังกอดน้องๆ อย่างแนบชิดกายพร้อมญาติที่พี่น้องที่เป็นผู้ชาย เขากอดด้วยความดีใจ จนตัวเขาเองไม่สามารถที่จะบรรยายด้วยคำใดๆ ได้ ทุกอย่างเป็นไปอย่างไม่รีบร้อนในการขึ้นรถกลับบ้านของเขาและครอบครัว
color:#333333">เช้าวันรุ่งขึ้นเสียงหัวเราะในครอบครัวเธอ กลับมาอีกครั้งบนโต๊ะอาหาร ทุกการเคลื่อนไหวของคนในบ้าน มีแต่ความชื่นบานใจ และความดีใจของญาติๆ เพื่อนพ้องที่มาเยี่ยม
color:#333333">เมื่อตกค่ำทุกคนในบ้านก็ละหมาดพร้อมกัน โดยลูกชายคนโตเป็นผู้นำละหมาดในครั้งนี้ เขาได้ดุอาอ์หลังละหมาด้วยน้ำตาที่ไหลรินอย่างบอกไม่ถูก เขาไม่สามารถที่จะอธิบายคำบรรยายใดๆ ทุกๆ อย่างเหมือนฟ้าเปิดให้สว่างขึ้นอีกครั้ง
color:#333333">เมื่อทำการละหมาดเสร็จ ทุกคนในบ้านเข้ามาโอบกอดเขาด้วยความรัก ความเป็นห่วง และความคิดถึง โอบกอดอย่างใกล้ชิดเพื่อทดแทนกับวันและเวลาที่ไม่สามารถสัมผัสตัวอับดุลเลาะห์ได้
color:#333333">เขากลับมาด้วยอิสรภาพและไม่มีสิ่งใดที่จะกีดกั้นเขาได้อีกแล้ว เขาอุทิศตัวเองด้วยการไปเป็นครูสอนตาดีกา (โรงเรียนสอนศาสนา) และสอนอัล-กรุอ่านให้กับเยาวชนในหมู่บ้าน ทั้งยังเป็นผู้สร้างเด็กในหมู่บ้านให้มีความกล้าในการแสดงออกด้านกิจกรรมที่เป็นประโยชน์
color:#333333"> ชีวิตของเขาอยู่กับหน้าที่ความเป็นครูตาดีกาและเป็นเสาหลักเยาวชนเกือบ 4 ปี เขาภูมิใจที่เยาวชนในหมู่บ้านเสียสละตัวเองด้วยการไปเป็นครูตาดีกา และเป็นผู้นำเยาวชนในหมู่บ้าน
color:#333333">เขาเคยสอนลูกศิษย์ไว้ว่า
color:#333333">“ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับชีวิตคนเรา ล้วนแล้วเป็นบททดสอบที่อัลลอฮ์ (พระผู้เป็นเจ้า) จะทดสอบเราก็เพียงเท่านั้น จำไว้!”