Skip to main content

 

                                                     กำหนดการ

การระดมทุนเพื่อช่วยเหลือครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบ
วันที่ 23 มกราคม 2553
ณ ร้านคาลิคคาร์แคร์ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
 
 
09.00 -  10.00  น.       กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดงาน
10.00 - 12.00   น.      การบรรยายเรื่อง “พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551
                                      และสิทธิมนุษยชน” โดยศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดยะลา
                                      คุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ  มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
13.30 - 15.30 น.        การเสวนาเรื่อง “เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไรโดยสันติ”
                                      โดย คุณนารี เจริญผลพิริยะ หัวหน้าโครงการสันติอาสาสักขีพยาน
                                               นายอำเภอสะบ้าย้อย
                                               ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะบ้าย้อย
                                               ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจสงขลา
                                               ตัวแทนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ
15.30 - 16.00 น.        อภิปรายและสรุป
 
หมายเหตุ มีอาหารเลี้ยงตลอดทั้งวัน  09.00 – 19.00 น. 
 
 
หลักการและเหตุผล
 
          จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่สูญเสียบุคคลในครอบครัว สูญเสียทรัพย์สิน และผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีความมั่นคง โดยเรือนจำในจังหวัดปัตตานีมีจำนวน 83 คน จังหวัดยะลามีจำนวน 143 คน จังหวัดนราธิวาสมีจำนวน 202 คน และในจังหวัดสงขลามีจำนวน 120  คน รวมทั้งหมด 548 คน    สำรวจถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2552 แต่ในจังหวัดสงขลาซึ่งมีพื้นที่ที่เคยใช้กฎอัยการศึก 4 อำเภอ คือ อำเภอเทพา อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย กลับมีจำนวนผู้ต้องหาคิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนผู้ต้องหาที่อยู่ในเรือนจำทั้ง 4 จังหวัด ดังนั้นจึงมี

          หลายครอบครัวในพื้นที่จังหวัดสงขลาที่ได้รับผลกระทบ แต่กลับมีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลืออย่างจำกัด และไม่ได้รับความเห็นใจจากสังคม เพราะเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าการทำการ
ก่อการร้ายหรือทำร้ายผู้อื่น แต่แท้จริงแล้ว การจะตัดสินว่าผู้ต้องหาจะถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับกระบวนการยุติธรรมซึ่งต้องใช้เวลา 3
– 5 ปี และร้อยละ 70 ศาลตัดสินยกฟ้อง จึงมีผู้บริสุทธิ์และครอบครัวได้รับความเจ็บปวดทั้งกายและใจ กว่าจะผ่านภาวะยากลำบากนี้ได้ และเพื่อมิให้พวกเขาตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายตรงข้าม การก่อตั้งกลุ่ม “ด้วยใจ” และกองทุน “ด้วยใจ” ขึ้น จึงเป็นความหวังหนึ่งที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐ และสังคมในการให้ความช่วยเหลือในการให้การศึกษาแก่เด็กๆ การหาทุนในการประกอบอาชีพ การเยียวยาและฟื้นฟูจิตใจของครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ และการสร้างความเข้าใจระหว่างกันในสังคม โดยการดำเนินงานผ่านโครงการต่างๆ ในปี 2553 อาทิเช่น โครงการกิจกรรมเข้าค่ายเด็ก โครงการเยียวยาและฟื้นฟูจิตใจครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบ และโครงการสร้างความเข้าใจระหว่างกันในสังคม และการจะดำเนินการโครงการเหล่านี้ได้ จึงต้องระดมทุนโดยการจัดกิจกรรมระดมทุนขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการ

 

ติดต่อประสานงาน

มุมตัส    081 - 8098609

ปัทมา    087 - 2894328

Event date