Skip to main content

ผลิตภัณฑ์ยาปลอดหมู 

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน

color:#333333">          ถึงเวลานี้ประชากรโลกไต่ขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 7 พันล้านคนแล้ว ในจำนวนนี้มีอยู่กว่า 3 พันล้านคนที่ไม่บริโภคสุกรหรือหมู กลุ่มที่รู้จักกันดีที่สุดคือมุสลิมหรือคนที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งหลักการในศาสนาห้ามการบริโภคหมู คนกลุ่มนี้มีอยู่ 2 พันล้านคนทั่วโลก กลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่บริโภคหมูคือพวกที่ถือมังสะวิรัติ กลุ่มนี้อาจนับถือศาสนาหรือความเชื่ออะไรก็ได้แต่ไม่นับรวมมุสลิมบางคนที่ถือมังสะวิรัติรวมแล้วมีประมาณ 1 พันล้านคน นอกจากนี้ยังมีคนยิวซึ่งไม่บริโภคหมูเหมือนกัน กลุ่มหลังนี้มีไม่มากนักแค่ 14 ล้านคนเท่านั้น

color:#333333">          ถึงแม้ไม่บริโภคหมูแต่ภายใต้ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลก ความซับซ้อนของกระบวนการผลิตซึ่งผู้ค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมทั้งผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นคนที่บริโภคหมูทั้งฝรั่ง ทั้งญี่ปุ่นทั้งจีน จึงบอกได้เลยว่ายากเหลือเกินที่คนที่ไม่บริโภคหมูจะหลีกเลี่ยงหมูไปได้ เพราะมีผลิตภัณฑ์มากมายทั้งที่เป็นอาหาร ยา รวมทั้งผลิตภัณฑ์บริโภคอีกจำนวนมหาศาลที่มีหมูเป็นองค์ประกอบ ที่อยู่ในรูปเนื้อหมูเห็นกันจะจะเป็นแค่ส่วนน้อยเท่านั้น ส่วนใหญ่อยู่ในรูปสารเคมีที่สกัดได้จากหมู จะมองด้วยตาเปล่าอย่างไรก็มองไม่เห็น  

color:#333333">          ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของหมูในรูปแบบใดแบบหนึ่งเมื่อพัฒนาขึ้นมาแล้ว ย่อมแน่นอนที่ผู้คนทั้งโลกมีโอกาสได้ใช้ด้วยความไม่รู้หรืออาจจะด้วยหาหนทางเลี่ยงไม่ได้เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต ส่งผลให้สุดท้ายแล้วผู้ที่ปฏิเสธหมูเองต้องบริโภคหมูด้วยความจำใจ กระทั่งกลายเป็นปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคที่พบได้บ่อย เรื่องราวเช่นนี้ดูเหมือนกำลังจะได้รับการแก้ไขแล้วล่ะครับ ไม่ใช่เพราะคนที่ไม่บริโภคหมูลุกขึ้นมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง แต่ส่วนใหญ่เป็นเพราะนักพัฒนาที่บริโภคหมูนั่นแหละเริ่มตระหนักถึงปัญหาและพยายามแก้ไข

color:#333333">          ตัวอย่างปัญหาที่ว่านี้ที่เห็นชัดเจนและเจอะเจอบ่อยที่สุดคือผลิตภัณฑ์ยา เนื่องจากเนื้อเยื่อของหมูมีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุดอีกทั้งการผลิตหมูจำนวนมากในฟาร์มใช้เวลาน้อย ต้นทุนต่ำ ความนิยมใช้เนื้อเยื่อและอวัยวะหมูเพื่อพัฒนาและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์จึงมีสูง เกิดเป็นเวชภัณฑ์จำนวนมากมายที่วางขายกันกลาดเกลื่อนในตลาด เห็นกันบ่อยที่สุดคือเจลาตินจากหนังหมูที่นิยมนำมาใช้ผลิตแคปซูลยาทั้งชนิดแข็งและชนิดนิ่ม ฮอร์โมนอินสุลิน เอนไซม์รวมทั้งสารชีวเคมีสารพัดชนิดที่สกัดมาจากอวัยวะต่างๆของหมู ทั้งตับ ไต ตับอ่อน หัวใจ ม้าม ลำไส้ หนัง เนื้อ เลือด สมอง ของหมู

color:#333333">          การหาเนื้อเยื่อสัตว์อื่นที่ไม่ใช่หมูหรือแม้กระทั่งพืชเพื่อใช้ทดแทนหมูมีการทำกันนานแล้วแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมสักเท่าไหร่ เนื่องจากคุณภาพต่ำทั้งราคายังแพงมากอีกต่างหาก อย่างเช่น เจลาตินหรือคอลลาเจนจากกระดูกและเนื้อเยื่อของวัวควายหรือแพะแกะหรือแม้กระทั่งจากปลาที่พบได้มากขึ้น ปัญหาคือหาได้ยาก ราคาแพงทั้งยังมีคุณภาพสู้ผลิตภัณฑ์จากหมูไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ใช่ว่านักวิทยาศาสตร์จะหมดความพยายาม เนื่องจากหากพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลอดหมูขึ้นมาได้สำเร็จด้วยคุณภาพที่ดี ราคาถูก ตลาดใหญ่มหาศาลรออยู่เบื้องหน้าแล้ว จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้นักวิจัยจำนวนไม่น้อยหันมาสนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนหมูกันมากขึ้น

color:#333333">          ดร.เจียน หลิว (Jian Liu color:#333333">) นักวิจัยด้านเคมีทางการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ท แคโรไลน่า เมืองชาเปลฮิลล์ รัฐนอร์ทแคโรไลน่า สหรัฐอเมริกา สนใจพัฒนาสารเฮปารินซึ่งเป็นยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อนใช้กันมากในโรงพยาบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องผ่าตัด นอกจากนี้ยังนิยมใช้เป็นยารักษาบางโรคบาง อย่างเช่น หอบหืด สารเฮปารินที่ว่านี้อาจผลิตมาจากปอดของวัวก็ได้ แต่ที่นิยมกันมากที่สุดคือเฮปารินที่สกัดจากลำไส้ของหมู

color:#333333">          ปัจจุบันความต้องการใช้เฮปารินมีสูง ทำให้ต้องใช้หมูถึง 700 ล้านตัวต่อปี หมูเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้มาจากประเทศจีนที่มักมีปัญหาด้านคุณภาพการผลิต เมื่อปี 2008 เฮปารินหมูจากประเทศจีนคร่าชีวิตผู้ป่วยไปกว่า 200 รายทั่วโลก ส่งผลให้แพทย์และนักวิทยาศาสตร์เริ่มเรียกร้องสารทดแทนเฮปารินมากขึ้น เคยมีผู้พัฒนาสารเฮปารินสังเคราะห์ขึ้นมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน แต่มีปัญหาคือราคาแพงมาก 50-60 เหรียญสหรัฐต่อโดสหรือการใช้หนึ่งครั้งเมื่อเทียบกับเฮปารินจากลำไส้หมูที่มีราคาเพียง 5-35 เหรียญสหรัฐ สู้อุตส่าห์ผลิตขึ้นมาแล้วแต่ราคาแพงขนาดนั้นก็แทบไม่มีใครอยากจะใช้

color:#333333">         งานพัฒนาวิจัยที่ ดร.หลิวนำเสนอและตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ชื่อดัง Science ปลายปี 2011 คือการต่อยอดงานสังเคราะห์เฮปารินที่นักวิทยาศาสตร์ก่อนหน้านี้ลดขั้นตอนทางเคมีจาก 50 ขั้นตอนลงเหลือแค่ 12 ขั้นตอน เพียงแต่เป็นขั้นตอนทางเคมีล้วนๆ ดร.หลิวหันมาใช้แบคทีเรียตัดแต่งพันธุกรรมเป็นตัวทำงานตัดหมู่ซัลเฟตออกจากโมเลกุล โดยแค่กำหนดสารตั้งต้นรวมทั้งกำหนดเอนไซม์และโคแฟคเตอร์จากนั้นจึงใช้แบคทีเรียตัดแต่งพันธุกรรมเป็นตัวทำงานในขั้นตอนต่างๆ ผลคืดงานเดินหน้าไปได้เร็วกว่าการสังเคราะห์ทางเคมีมาก แถมราคายังถูกกว่ากันแยะ

color:#333333">         การสังเคราะห์โดยใช้แบคทีเรียที่ว่านี้เรียกกันว่าการสังเคราะห์แบบเอนไซม์และเคมีหรือ chemoenzymatic มีประสิทธิภาพในการผลิตยาได้มากถึง 40% ค่าใช้จ่ายลดลงมหาศาล สารสุดท้ายที่ผลิตขึ้นมาได้คือ Arixta ที่มีโครงสร้างคล้ายอินสุลิน ทดสอบในสัตว์ทดลอง แล้วพบว่าปลอดภัยทั้งยังแสดงคุณสมบัติของเฮปารินได้ดี แต่นักวิทยาศาสตร์ต้องทำการทดสอบต่อในมนุษย์ว่าประสิทธิภาพเป็นอย่างไร ปลอดภัยหรือเปล่า

color:#333333">          หากทดสอบในมนุษย์ได้ผลตามที่ต้องการแล้ว สิ่งที่ต้องพัฒนาขั้นต่อไปคือการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมให้ได้ปริมาณมากโดยยังมีคุณภาพเทียบเท่ากับเฮปารินที่ผลิตขึ้นในห้องทดลอง งานหลังนี้ท้าทายสุดๆ ดร.หลิวกล่าวยืนยันว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นการเปิดประตู บานใหม่ให้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาปลอดหมู ซึ่งหากภาคอุตสาหกรรมเห็นประโยชน์รวมถึงขนาดของตลาดในอนาคตแล้วคงเข้ามาช่วยทางด้านการพัฒนาทำให้การผลิตยามีประสิทธิภาพมากขึ้น

color:#333333">           ดร.เจเรมี เทิร์นบูล (Jeremy Turnbull) ผู้เชี่ยวชาญด้านเฮปามินแห่งมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร ให้ข้อมูลสนับสนุนว่าหากภาคอุตสาหกรรมโดดเข้ามาช่วยเต็มที่เชื่อได้ว่าการใช้เนื้อเยื่อสัตว์ในการผลิตยาสารพัดชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เนื้อเยื่อจากหมู คงถึงเวลาสิ้นสุดลงภายในเวลาแค่สิบปี ยิ่งไปกว่านั้นคือการรักษาสารพัดโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งนอกจากจะพัฒนาได้ยาใหม่ๆเข้ามาช่วยในการรักษาแล้ว ยังทำให้ยาเหล่านั้นมีราคาถูกลงอย่างมากอีกต่างหาก อันเป็นความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจอยู่แล้ว

color:#333333">           ปฏิกิริยาผสมผสานเอนไซม์-เคมีที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้จะกลายเป็นทางออกในการแก้ปัญหายาที่ใช้ผลิตภัณฑ์จากหมูที่กลายเป็นปัญหาสำหรับสังคมที่รังเกียจหมูมาโดยตลอด หลังจากประสบความสำเร็จกับตลาดยาแล้ว สารเคมีที่พัฒนาขึ้นจะกลายเป็นทางออกให้กับ อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมอื่นๆพร้อมกันไปด้วย โลกในอนาคตคงจะเป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ไม่บริโภคหมูได้เสียที