Skip to main content

 

 

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
เชิญสมัครเข้าร่วมหลักสูตรภาคฤดูร้อน
“การจัดการความขัดแย้งทางสังคมที่ยืดเยื้อ”
Protracted Social Conflict Management
ระหว่างวันที่ 29 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2553
ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม
 
ดูรายละเอียดและ ดาวน์โหลดใบสมัคร
ได้ที่ www.peace.mahidol.ac.th สอบถามเพิ่มเติมที่
ดวงหทัย 089-791-2435 089-791-2435 พรพิมล 02-849-6072-4 อธิษฐาน์ 02-849-6359-60
อีเมล [email protected]
 
หลักสูตรมุ่งหวังให้ผู้เรียน ซึ่งเป็นผู้ทำงานในภาครัฐและเอกชน มีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความขัดแย้งทางสังคมที่ยืดเยื้อสามารถอธิบายเหตุ ปัจจัย และผลของความขัดแย้งได้ รู้เครื่องมือในการวิเคราะห์และจัดการความขัดแย้ง รวมทั้งได้ฝึกทักษะการใช้เครื่องมือ และฝึกกระบวนการกลุ่มในการจัดการความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ
 
1. ปริทัศน์และการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งทางสังคมที่ยืดเยื้อ
เพื่อผู้เรียนจะมีความเข้าใจภูมิทัศน์และสามารถอธิบายลักษณะและสาเหตุของความขัดแย้งทางสังคมที่ยืดเยื้อได้อย่างครอบคลุม มีความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ความขัดแย้งด้วยเครื่องมือ กรอบแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
พฤหัสบดีที่ 29 เม.ย.- อาทิตย์ที่ 2 พ.ค. 2553
 
2. จิตวิทยาความขัดแย้งและการเยียวยา
ผู้เรียนจะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบด้านจิตวิทยาของความขัดแย้ง และเรียนรู้แนวทางจัดการและเยียวยาบาดแผลทางจิตใจในระดับบุคคลในบริบทของความขัดแย้งที่ยืดเยื้อและสร้างบาดแผลทางจิตใจให้กับกลุ่มคนในสังคม และเรียนรู้การใช้ปฏิบัติการและกลไกสันติวิธีเพื่อยุติวงจรความรุนแรง
ศุกร์ที่14 - อาทิตย์ที่16 พ.ค. 2553
 
3. สัมมนากรณีศึกษาความขัดแย้งทางสังคมที่ยืดเยื้อ
ผู้เรียนจะมีโอกาสนำเสนอกรณีศึกษาความขัดแย้งทางสังคมไทย เช่น กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งด้านทรัพยากร และความขัดแย้งอื่นๆ ที่ผู้เรียนสนใจและจะเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ มาร่วมอภิปรายและเสวนาในเชิงลึก
ศุกร์ที่ 21 – อาทิตย์ที่ 23 พ.ค. 2553
 
4. สานเสวนาเพื่อการจัดการความขัดแย้ง
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้แนวคิด เทคนิคและการประยุกต์ใช้การจัดกระบวนการกลุ่มขนาดใหญ่ที่มีหลายภาคีและมีจุดยืนและความต้องการที่แตกต่างกันให้สามารถมีส่วนร่วมในการจัดการความขัดแย้งร่วมกัน ด้วยกระบวนการกลุ่ม 4 แบบ คือ Open Space Technology, World Café, Appreciative Inquiry และ Dialogue
เสาร์ที่ 29 – จันทร์ที่ 31 พ.ค. 2553
 
 
คณะวิทยากร
รศ.ดร. โคทม อารียา รศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ผศ.ดร. ปาริชาด สุวรรณบุบผา
ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช อ.นารี เจริญผลพิริยะ อ.งามศุกร์ รัตนเสถียร
อ.ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์  อ.อธิษฐาน์ คงทรัพย์ อ.ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ
 
อัตราค่าลงทะเบียน
เพื่อให้ทุกท่านที่สนใจสามารถเข้าร่วมการอบรม และศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธีสามารถจัดการอบรมได้ จึงแบ่งการเก็บค่าลงทะเบียนเป็นแบบอัตราก้าวหน้า ดังนี้
ค่าลงทะเบียนอบรมสำหรับข้าราชการและผู้ที่ที่เบิกจากต้นสังกัดได้ 15,000 บาท
ค่าลงทะเบียนอบรมสำหรับผู้ที่ทำงานเพื่อสังคม-นักพัฒนาเอกชน 5,000 บาท
ค่าลงทะเบียนอบรมสำหรับนักศึกษาปริญญาโท 5,000 บาท ปริญญาตรี 3,000 บาท
Event date