Skip to main content

 

 

 

การสัมมนาเรื่อง
“ภูมิวัฒนธรรมใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้”
พร้อมเปิดตัวหนังสือจากงานวิจัยชุด “การศึกษาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม”
สนับสนุนโดย “สำนักงานงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย”
 
วันที่ ๒๖-๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ห้องประชุม ๒ ชั้น ๔
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต แยกสวนรื่น กรุงเทพฯ
 
ในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่กล่าวถึง การจะเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาในเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองใดๆ กับผู้คนในสังคมนั้น ต้อง “เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา” แต่การพัฒนาอะไรก็ตามอันเป็นการกระทำหรือดำเนินการจากข้างบนลงสู่ข้างล่างหรือจากข้างนอกมาสู่ข้างในนั้น ไม่เคยเลยที่เข้าถึงตามที่มีในกระแสพระราชดำรัส เหตุเพราะไม่ถอดรหัสได้ถูกต้อง นั่นคือ การเข้าถึงนั้นอาจไปเน้นที่เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจแต่ไม่เคยเข้าถึงคนในแม้แต่น้อย หรือบางครั้งจะเข้าถึงคนในบ้างแต่ก็เป็นไปในเรื่องของคนในที่เป็นปัจเจกหรือเป็นกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มขัดแย้งเท่านั้น หาได้หมายถึงกลุ่มทางสังคมของแต่ละท้องถิ่นที่รวมกันอยู่อย่างเป็นชุมชน บ้านและเมืองที่มีความสัมพันธ์กับสำนึกร่วมของการเป็นพวกเดียวกันที่อาจเรียกได้ว่า “สำนึกของคนบ้านเกิดเดียวกัน”
 
การเข้าไม่ถึงคนในดังกล่าวนี้คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจในการที่รัฐและบ้านเมืองเข้าไปจัดการกับความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้อย่างไร้ประสิทธิภาพ มิหนำซ้ำยังทำให้สถานการณ์รุนแรงจนเกินการที่จะควบคุมได้ในทุกวันนี้
 
                ดังเห็นได้จากมุมมองของรัฐและคนนอกหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มักเห็นผู้คนในพื้นที่ว่าเป็นเพียงพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ที่แบ่งออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ที่มีคนมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่และเป็นกลุ่มคนที่สร้างปัญหาการแบ่งแยกดินแดนและการก่อความไม่สงบที่จะต้องจัดระเบียบให้สงบ ด้วยการใช้กำลังปราบปราม
 
แต่ในมุมมองของคณะวิจัยของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นั้น ให้ความสำคัญกับพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ว่าเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนมลายู แบ่งย่อยเป็นบ้านและเมืองตามท้องถิ่นต่างๆ ที่เข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของสยามรัฐในปัจจุบัน เป็นพื้นที่ซึ่งเป็นสังคมพหุลักษณ์ อันมีกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic group) ใหญ่ๆ คือ คนมุสลิม คนไทยพุทธและคนจีนอยู่ร่วมกันมาอย่างราบรื่นแต่อดีต 
 
ดังนั้น การเข้าถึงคนในจึงไม่ใช่มองแต่พื้นที่ความเป็นชุมชนที่ใช้หน่วยทางการปกครอง เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอและจังหวัดมากำหนดเป็นกรอบและขอบเขต
 
หากมองจากคนใน จากพื้นที่ทางวัฒนธรรม จากภูมิวัฒนธรรม นิเวศวัฒนธรรม และชีวิตวัฒนธรรมเป็นสำคัญ
 
นั่นคือ จากพื้นที่ภูมิประเทศที่คนในรู้จักมักคุ้น จากพื้นที่แคบลงมาที่แลเห็นความสัมพันธ์ของคนกับคน คนกับธรรมชาติและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ในลักษณะที่เป็น “นิเวศวัฒนธรรม” หรืออีกนัยหนึ่งพื้นที่อันประกอบด้วยบ้านและเมือง และที่สุดจากพื้นที่ซึ่งทำให้แลเห็นชีวิตวัฒนธรรมของผู้คนในชุมชนบ้านใดบ้านหนึ่งที่มองได้ลึกลงไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันแต่อดีตมาจนปัจจุบันและกำลังจะเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคตตามพลวัตรทางวัฒนธรรม
 
การศึกษาอย่างมีส่วนร่วมครั้งนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่มาจากข้างนอกที่มีผลกระทบต่อชีวิตวัฒนธรรมในแต่ละช่วงเวลา จากการเรียนรู้และรับรู้ของคนในทั้งหลายแหล่เหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลและความรู้ที่จะทำให้คนนอกพอเข้าใจคนในได้อย่างในพระราชดำรัสที่ว่า เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา ได้อย่างมหาศาลทีเดียว
 
 
รายการ
 
วันพุธ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓
 
                ๘.๓๐ น.                                 ลงทะเบียน
 
๙.๐๐-๙.๑๕ น.                       เปิดงานสัมมนาโดยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
                                                                ศ.ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์
 
                ๙.๑๕-๙.๓๐ น.                      วีดีทัศน์แนะนำหนังสือชุด “การศึกษาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม”
                                                               ๑. เล่าขานตำนานใต้
                                                  ตำนานเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง สถานที่และบุคคลสำคัญของท้องถิ่น
                                                                  พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม อุดม ปัตนวงศ์ ศรีศักร วัลลิโภดม
                                                                  ๒.ความทรงจำในอ่าวปัตตานี
                                                                  ดอเลาะ เจ๊ะแต มะรอนิง สาและ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
                                                                  ๓.ยาลอเป็ยะลา
ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและคนรุ่นใหม่ในเมืองและปริมณฑลเมืองยะลา
                                                                  ทรัยนุง มะเด็ง อับดุลเร๊าะมัน บาดา วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
                                                                  ๔. เรื่องเล่าจากหมู่บ้านเชิงเขาบูโด
                                                  กรณีบ้านตะโหนด
                                                                  มะอีซอ โซมะดะ งามพล จะปากิยา วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
                       
๙.๓๐-๑๐.๓๐ น.                   ปาฐกถาอาจารย์ ดร. ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ 
                                                             “การศึกษาท้องถิ่นเพื่อให้เข้าถึงคน”
 
                ๑๐.๔๕-๑๑.๔๕ น.                “การศึกษาท้องถิ่นโดยมุมมองภูมิวัฒนธรรม”
  อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม
 
                ๑๑.๔๕-๑๓.๐๐ น.                รับประทานอาหารกลางวัน
 
๑๓.๐๐-๑๕.๓๐ น.                   ท้องถิ่น-บ้านและเมือง: “อ่าวปัตตานี” และ “บ้านตะโหนด-เมืองรามัน”
                                                            วลัยลักษณ์ ทรงศิริ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
การใช้พื้นที่ทำมาหากินในอ่าวปัตตานีแบบดั้งเดิมที่กำลังสูญสิ้น
ดอเลาะ เจ๊ะแต มะรอนิง สาและ
จากทรัพยากรส่วนรวมของคนบ้านป่าสู่ปัญหาครอบครองกรรมสิทธิ์แบบปัจเจก
                                                             มะอีซอ โซมะดะ งามพล จะปากิยา
สถานการณ์ปัญหาการรุกล้ำทรัพยากรส่วนรวมของคนสามจังหวัดภาคใต้
ผศ.ดร.สุกรี หะยีสาแม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
           
๑๕.๓๕-๑๖.๓๕ น.                “ชีวิต ความใฝ่ฝัน ความสำเร็จและความล้มเหลว” ของหนุ่มสาวมุสลิมรุ่นใหม่เมืองยะลา
                                  ทรัยนุง มะเด็ง, อับดุลเร๊าะมัน บาดา, วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ดำเนินรายการ
 
วันพฤหัสบดี ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
 
๙.๐๐-๑๒.๐๐ น.                   “เล่าขานตำนานใต้” กับการถอดรหัสวิกฤตบ้านเมืองในสามจังหวัดชายแดนใต้
                                                                                พล.ต.ต. จำรูญ เด่นอุดม, อุดม ปัตนวงศ์, อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม
                                                                                                 
                ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.                   รับประทานอาหารกลางวัน
 
๑๓.๐๐-๑๔.๓๐ น.                   การศึกษาท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนใต้ในมุมมองนักวิชาการจากภายนอก
ผศ.ดร.วัฒนา สุกัณศีล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
                       
๑๔.๔๕-๑๖.๑๕ น.                สรุป- รับฟังข้อเสนอแนะจากเวทีประชุม
ดำเนินการโดยอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม
 
 
 

Event date