ตลอดช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา การสำรวจความคิดเห็น หรือ โพล ต่างๆ ต่อประเด็นสันติภาพและความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนใต้ได้มีการศึกษาไว้หลายครั้ง แต่หากเครือข่ายสถาบันวิชาการร่วมกับภาคประชาสังคมในพื้นที่ ร่วมกันทำPeace Survey หรือ การสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพ
“Survey” หรือการเก็บข้อมูลสำรวจความคิดเห็นประชาชนผ่านการสุ่มตัวอย่างของประชากร เพื่อสะท้อนเสียงตัวแทนคนส่วนใหญ่ในประเด็นต่างๆ ตามสถานการณ์ และในพื้นที่ชายแดนใต้ที่ขณะนี้ได้เดินหน้ากระบวนการพูดคุยสันติสุข “Peace Survey” ซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่คู่เจรจาจะนำไปใช้พิจารณาข้อตกลงร่วมกัน
พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า หนึ่งในสถาบันวิชาการร่วมโครงการ กล่าวว่าการสำรวจครั้งนี้ทำเพื่อตอบสนองต่อข้อมูลทางวิชาการให้กับทีมเจรจาทั้งสองฝ่าย เพราะทั้งสองฝ่ายต่างก็อยากจะทำตามที่ประชาชนต้องการ และที่ผ่านมาโดยส่วนใหญ่มักใช้กรวัดเพียงความรู้สึกของประชาชน แต่ครั้งนี้เราจะวัดมากกว่าแคความรู้สึกและจะลงลึกทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกอำเภอ ในสามจังหวัดและสี่อำเภอของสงลาทั้งหมด เพราะฉะนั้นจึงทำในแง่วิชาการที่มีความเข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิม และจะไม่ทำเพียงครั้งเดียวแต่จะทำไปเรื่อยๆ เพราะจะทำเป็นโพล คือทำเป็นช่วงระยะเวลาว่า ประชาชนมีความรู้สึกต่อกระวนการเจรจาสันติภาพหรือสันติสุขนี้อย่างไรบ้าง
ทางด้าน ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผอ.สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มอ.ปัตตานี ได้กล่าวถึงความคาดหวังสำคัญของการทำงานในครั้งนี้ว่า เป้าหมายหลักของ Peace Survey ก็คือเมื่อได้ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นข้อเสนอแนะของกระบวนกรสันติภาพ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาในกระบวนการสันติภาพ ข้อเสนอของ Peace Survey ก็จะนำไปสู่คณะคู่เจรจาในกระบวนการสันติภาพและนำไปสูประชาชนด้วย เพื่อให้รับทราบถึงความคืบหน้าของกระบวนการสันติภาพ โดยที่ข้อเสนอนี้มีความน่าเชื่อถือ เพราะมาจากฐานทางวิชาการและจากการร่วมมือกันระหว่างภาคประชาสังคมและภาคส่วนต่างๆ ในการเก็บข้อมูลด้วย
การทำ Peace Survey โดยเปิดให้ภาคปะชาสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานวิชาการ จึงต้องมีการจัดอบรมพนักงานสัมภาษณ์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนลงเก็บข้อมูลของแต่ละชุมชน
ขณะเดียวกัน มารีก๊ะ หวังจิ พนักงานสัมภาษณ์ Peace Survey จากเครือข่ายชุมชนศรัทธา ได้สะท้อนความคิดเห็นที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการสำรวจครั้งนี้ว่า การเป็นอาสาสมัครมาช่วยตรงนี้อย่างหนึ่งก็คือว่าตนเองนั้นได้บุญ คือมันไม่ใช่ค่าตอบแทนแต่ว่าเราทำแล้ว เราสบายใจ และที่ตนอยากจะทำมันอยู่ในใจของตัวเองอยู่แล้ว เวลาลงพื้นที่เก็บข้อมูล ก็อยากให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ตรงนี้ด้วย คือเราทำวิจัยตรงนี้เราคิดนะว่า เวลาลงพื้นที่ได้พบปะชาวบ้านแล้วได้ถามสารทุกข์สุขกันอย่างนี้เราจะรู้ข้อมูลจากเขา เราได้ประโยชน์ เขาก็ไประโยชน์จากการทำวิจัยตรงนี้ด้วย
การเดินหน้าด้วยความพยายามใช้ องค์ความรู้ทางวิชาการ นำมาแก้ไขและคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งในกระบวนการสันติภาพ โดยขยายพื้นที่การเรียนรู้สู่ชุมชน ถือเป็นการยกระดับความก้าวหน้าของกาสร้างสันติภาพ ที่ไม่ใช่มีเพียงคู่เจรจาหลักอีกต่อไป หากแต่ Track ที่ 3 ยังให้การสนับสนุนโดยการมีส่วนร่วมของ ประชาชนอย่างแท้จริง
การเปิดให้ภาคประชาสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานสำรวจตามหลักวิชาการ นอกจากมีความน่าเชื่อถือแล้ว ยังได้รับการยอมรับจากคนในท้องถิ่น เพื่อที่จะสะท้อนเสียงและความเป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ทั้งนี้จะได้เป็นอีกหนึ่งข้อมูลพื้นฐานในกระบวนการพดคุยสันติสุขที่กำลังดำเนินหน้าต่อจากนี้
รายงานโดย สุวรา แก้วนุ้ย สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ม.อ.ปัตตานี CSCD
ชมคลิปนักข่าวพลเมือง ตอน เดินหน้า Peace Survey ชายแดนใต้