Skip to main content

โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก  ดินอะ) 

 

  ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน   

            ช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีนักศึกษาอินโดนีเซียหลายมหาวิทยาลัยเช่นมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งชาติ  มหาวิทยาลัยมุฮัมมาดียะห์ มหาวิทยาลัยอิบนุคอลดูนด้านคุรุศาสตร์ในสาขาการสอนภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับและมลายูนับร้อยชีวิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูหรือการสอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้ง กระบี่ และพังงา

            การมาของนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นผ่านขั้นตอนการทำMOUกับหลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นสมาคมศิษย์เก่านักศึกษาไทยที่เคยเรียนประเทศอินโดนีเซีย สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม  สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามผ่านการรับรู้ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้  สำนักงานการศึกษาเอกชนแต่ละจังหวัด  สถานกงศุลอินโดนีเซีย  และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อเดินเรื่องต่อวีซ่า

            สถาบันระดับอุดมศึกษาอินโดนีเซียมีสายตากว้างไกลเมื่อสมาคมอาเซี่ยนเปิดปีพ.ศ.2559เพื่อให้นักศึกษาเหล่านี้ได้เข้ามาทำงานในสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในไทยเพราะบุคคลากรเหล่านี้มีความรู้อย่างน้อยสามภาษา มลายู  อังกฤษ  อาหรับและสามารถสอนอัลกุรอานได้ที่สำคัญค่าจ้างถูกกว่าการจ้างครูไทยเพราะขั้นต่ำครูไทย 15,000บาท ในขณะที่ชาวอินโดนีเซีย 10,000-13,000 บาทที่สำคัญก่อนนักศึกษาฝึกสอนเหล่านี้เดินทางมาไทยเขาต้องสอบภาษาอังกฤษ  อาหรับและอัลกุรอานทั้งข้อสอบและสัมภาษณ์แถมต้องใช้เงินส่วนตัวในการเดินทางและดำเนินการอื่น

            สิ่งเหล่านี้มหาวิทยาลัยไทยโดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งรัฐและเอกชนเป็นอีกหนึ่งความท้าทายว่าสามารถส่งนักศึกษาฝึกสอนในต่างประเทศได้ไหม

            ในขณะเดียวกันท่ามกลางการประกาศของISว่าไทยคือหนึ่งในเป้าหมายการก่อการร้ายทำให้หน่วยความั่นคงไทยเริ่มเขาไปตรวจ สืบหาข่าวชาวอินโดนีเซียเหล่านี้เช่นกัน (อย่างที่เกิดขึ้นในสี่โรงเรียนในอำเภอจะนะ)

            การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูดังกล่าวเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญที่นักศึกษาอินโดนีเซียจะได้เรียนรู้และพัฒนาการเรียนการสอน และงานในหน้าที่ครูอย่างเข้มข้นและเป็นรูปธรรม  เป็นโอกาสที่จะได้นำความรู้และทฤษฎี ไปประยุกต์ใช้ และสร้างองค์ความรู้ทางการศึกษา  เพื่อสร้างสรรค์และแก้ปัญหาในกระบวนการทำงาน โดยมีครูพี่เลี้ยง  อาจารย์นิเทศ และผู้บริหารสถานศึกษา เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือทำให้คนไทยเองในสถาบันดังกล่าวพัฒนาไปด้วยโดยเฉพาะด้านภาษาที่จะรองรับอาเซี่ยน

           

หมายเหตุตัวอย่างผลงาน

https://www.youtube.com/watch?v=Xg5aGzXcfeE

https://www.youtube.com/watch?v=EB4BAZpDaIs

https://www.youtube.com/watch?v=XzpDx8O3-08

https://www.youtube.com/watch?v=U6fMWuLgRyI

https://www.youtube.com/watch?v=QY_H9kj2t30

https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xfa1/v/t1.0-9/12540738_1096543737022398_6002592312867569884_n.jpg?oh=ebe8a704778a52735e4bedecaca7d8ff&oe=5734221A&__gda__=1463085201_7f3012dcdac442ba36635048f60175b9

ภาพนักศึกษาฝึกสอนอินโดเซียที่โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1096543737022398&set=pcb.1096545967022175&type=3&theater

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10201157773503679&set=pcb.10201157793504179&type=3&theaterhttps://scontent-sin1-1.xx.fbcdn.net/hphotos-xfp1/v/t1.0-9/12540916_10201157773503679_6821481562209817930_n.jpg?oh=0b951e4c9d1819144f2fa006b767186b&oe=573EBA4B