Skip to main content

มัสยิดยุคใหม่ในยุโรป เกิดจากการซื้อโบสถ์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมาปรับปรุงเป็นมัสยิด เป็นเรื่องจริง

 

โชคชัย วงษ์ตานี
อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่
 

 

มัสยิดในยุโรปเท่าที่พบมีทั้งมัสยิดที่เกิดจากการให้ความสำคัญจากรัฐ ที่สร้างขึ้นจากทางราชการบางแห่งมีอายุมากกว่า 50 ปี และมีราชวงศ์เสด็จมาเปิด ตั้งอยู่ในพื้นที่สำคัญใจกลางเมือง ทีความครบครั้นทั้งสถานที่ละหมาด ศูนย์ข้อมูลพื้นฐาน สนามเด็กเล่น ร้านของชำ พื้นที่เฉพาะส่วนของผู้หญิง สื่อสร้างความเข้าใจต่ออิสลาม มุสลิม ชั้นหนังสือและห้องสมุดประจำมัสยิด เช่น Moskee van Brussel มัสยิดกลางประจำกรุงบรัดเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม

 

ส่วนมัสยิดในยุโรปยุคใหม่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของชาวมุสลิมทั้งจากอาหรับ โมร็อคโคและชาวตุรกิช ที่เข้ามาพำนัก อยู่รวมกันเป็นย่านและประกอบอาชีพต่างๆ บางครอบครัวมาตั้งรกรากในยุโรปตั้งแต่ยุค 70's ปัจจุบันเป็นคนรุ่นที่ 3-4 มีโรงเรียนที่มีวิชาเกี่ยวกับอิสลามตั้งแต่อนุบาล ทำให้องค์กรศาสนาจากประเทศมุสลิมร่วมกันซื้อโบสต์เก่าใจกลางเมืองนำมาใช้เป็นมัสยิด โดยรักษาโครงสร้างเดิม เอารูปสัญลักษณ์ทางศาสนาออก เพิ่มมิฮรอบและมิมบัร ตั้งพิกัดทิศที่หันไปสู่กิบลัต นครเมกกะฮ ตัวอย่างในภาพคือมัสยิด Fatih Moskee/Camil Amsterdam ที่พัฒนาปรับปรุงโดยกลุ่มภาคประชาสังคม จากตุรกี มัสยิดแห่งนี้ ดูภายนอกแสนธรรมดา ทางเข้าเป็นซอกเล็กๆ เพื่อนต่างศาสนิกเข้าเยี่ยมชมได้ ตั้งอยู่ไม่ไกลจาก Amsterdam Centraal ใจกลางเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศฮอลแลนด์

 

แน่แท้การมีมัสยิดแล้ว ย่อมเกิดย่านการค้า ร้านอาหารมุสลิมในบริเวณใกล้เคียงกัน ด้วยการที่ต้องบริโภคอาหารฮาลาล และการที่ต้องมีที่ละหมาด จึงเป็นหนึ่งในกระแสการเพิ่มขึ้นของมุสลิมในยุโรป ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยของการขยายตัว การเพิ่มพื้นที่ การแข่งขัน การเหลื่อมกันจนอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความซับซ้อนของสังคมยุโรปที่เคยปกติสุข ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย กระแส Isis และกระแสผู้อพยพจากสงครามกลางเมืองในซีเรีย จนนำไปสู่การเกิดการความรุนแรงในหลายประเทศในยุโรปนับจากปลายปีที่แล้ว จนกระทั่งปัจจุบัน

 

อัลฮัมดูลิลละฮ/ขอบคุณพระผู้เป็นเจ้า

ที่ประทานโอกาสให้ข้าพเจ้าได้เห็น