Skip to main content
บันทึกโดย : ฟูอ๊าด (สุรชัย) ไวยวรรณจิตร
นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยสลัยลักษณ์
ผู้บริหารโรงเรียนเร๊าะห์มานีย๊ะห์ อ.จะนะ จ.สงขลา
นักวิชาการ/นักวิจัยอิสระ

 

“จงปีนภูเขาแม้จะเป็นภูเขาลูกเล็กก็ตาม หากทว่าภูเขาลูกนั้นยังไม่เคยมีใครปีนป่ายมันได้สำเร็จ...”

ผมเดินทางลงสนามสามวันกับทางหลักสูตรเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยสลัยลักษณ์ ระหว่างวันที่ ๑-๓ มิ.ย. ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ปรากฏการณ์ผ่านตาแวบๆ จากการได้พูดคุยในหลายประเด็นของการลงภาคสนาม ที่อยากสะท้อนย้อนมอง คือ บริษัทโฮมโปร รุกตลาดเข้าสู่ KL จนจะมาเปิดสาขาสองทีกลันตัน ประเด็นก็คือว่าเขาสนใจเยาวชนคนสยาม(คนไทยดั้งเดิมในกลันตัน) ในการที่จะรับเข้าทำงาน เพราะกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญนอกจากจะเป็นคนมาเลย์แล้วเขาต้องการลูกค้ากลุ่มคนสยามและคนจีน(กำลังซื้อมาก)ในรัฐกลันตัน ประเด็นต่อมาก็คือว่าเยาวชนสยามที่นั่นสามารถพูดได้ทั้งภาษามลายู ภาษาไทย ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ประเด็นสำคัญสืบเนื่องต่อมาก็คือว่ารัฐบาลมาเลเซียปัจจุบันทุ่มงบปีละ 2 ล้านเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยให้แก่โรงเรียนสอนภาษาไทยในรัฐกลันตันซึ่งมีประมาณ17แห่งในวัดร่วม 20 วัด เพื่อธำรงภาษาแม่ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ แม้เหตุผลลึกๆจะเป็นเรื่องการเมืองแต่การปรับตัวต่อรองในการอยู่ร่วมกันของทั้งภาครัฐและคนสยามจึงเป็นไปอย่างประนีประนอม เพราะเหตุผลง่ายๆเลยการเรียนรู้ภาษาที่ได้มากกว่า 2 ภาษา (ที่นี่เขาไม่พูดกันแล้วว่าได้มากกว่า1ภาษา) จะช่วยให้คนสามารถประกอบอาชีพอย่างมีโอกาสมากกว่า 

...
...

สะท้อนย้อนคิดกลับมาบ้านเรา

ถึงเลาทางกำแพงภาษาแห่งโอกาสถึงการจัดการสนับสนุนจากภาครัฐในภาษาแม่ของพื้นถิ่นแต่ละถิ่น โดยเฉพาะการค้าขายชายแดนที่โอกาสมันเห็นเลาทางมากมาย นี่แค่การเริ่มต้นปรับตัวต่อวิถีคิดชุมชนชายแดนแค่เรื่องภาษา ยังมีโอกาสอีกมาก หากค่อยๆส่องมอง ถ้าทำให้ความสำคัญเห็นร่วมกันได้ พรมแดนประเทศก็จะไม่หดตัวความพร่ามัวก็จะกระจ่างชัดในจินตนาการ

วัลลอฮ์อะลัม

...
 

 

fuad.jpg

#ภาพไม่เกี่ยวกับเรื่องเรื่องไม่เกี่ยวกับภาพแต่มันทำให้ผมฉุกคิดต่อทำไม7Elevenจึงเป็นที่โหยหาของคนต่างแดนอย่างเราๆไปได้ไม่ใช่แค่ในต่างถิ่น#

#แค่นักเดินทางผ่านมา # ในรัฐกลันตัน