Skip to main content

 

 

กองทุนเสริมสร้างสันติภาพ โครงการ ช .ช .ต.

สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา โดยการสนับสนุนของธนาคารโลก สถาบันสันติศึกษา ม.อ หาดใหญ่ และสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายวัฒนธรรมภาคใต้ จัดกิจกรรมนำเสนองานวิจัยและเสวนาวิชาการเรื่อง "การประเมินสถานการณ์ของผู้ชายและเยาวชนชายในพื้นที่เปราะบางชายแดนใต้ของประเทศไทย " 21 กันยายน 2559 ณ ตึกอธิการบดี ม.อ หาดใหญ่ มีผู้นำเสนอผลงานวิจัยคือ ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี ผู้ร่วมอภิปราย อาทิ ผอ. กิตติ สุระกำแหง จาก สำนักบริหารงานยุติธรรม ศอ.บต. ผศ.ดร.เมตตา กูนิง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ ปัตตานี ผอ.ซาราห์ บินเยาะ สำนักส่งเสริมและสนับสนุนทางวิชาการที่ 12 สงขลา(สสว.12) นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาล จะนะ นายอับดุลรอซะ ฆาเด ผู้ชายที่รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ นำอภิปรายโดย ศ.สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์สันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มี ผู้เข้าร่วม จาก หน่วยงานและกลุ่มประชาสังคม ได้แก่ สำนักให้การช่วยเหลือเยียวยาจาก ศอ.บต. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน แรงงานจังหวัด นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันสันติศึกษา ม.อ หาดใหญ่ กลุ่มบ้านบุญเต็ม และกลุ่มเป้าหมายในงานวิจัยที่เป็นผู้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฯ ประมาณ 70 คน

สำหรับ งาน วิจัยชิ้น นี้ ได้ทำการศึกษาโดยทีมงาน ผศ.ดร.ศรีสมภพ และคณะสหวิชาชีพ ได้รับการสนันสนุนงานวิจัยโดย กองทุน UFCG และ กองทุน KTF ธนาคารโลก กลุ่มเป้าหมายในการทำวิจัยทั้งหมด มาจาก ผู้รับผลกระทบ 24 กลุ่ม จำนวน 118 คน สัมภาษณ์เจาะลึก 17 คน หน่วยบริการและสนับสนุนทั้งรัฐ เอกชน 21 หน่วย/องค์กร จำนวน 34 คน แบ่งกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ชายและเยาวชนชายที่รับผลกระทบใน จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส เป็น 2 กลุ่ม คือ

1)ผู้ถูกจับดำเนินคดีความมั่นคง 2) ผู้รับผลกระทบทางอ้อม ทั้งนี้ แยกเป็น 4 กลุ่ม/ประเด็นคือ

1) ผู้ชายที่ถูกจับกุมดำเนินคดีความมั่นคง

2) ผู้ชายและเยาวชนชายที่อยู่ในการเฝ้าระวังของรัฐ

3) เยาวชนชายที่สูญเสียบุคคลในครอบครัวและ

4) เยาวชนที่ว่างงาน

งาน วิจัย เรื่องนี้ พบว่า กลุ่ม ผู้ชาย และ เยาวชน ชาย มีผลกระทบด้านจิตใจ ความปลอดภัยในชีวิต ความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม ความมีอิสรภาพและศักดิ์ศรี ครอบครัว การศึกษาและคุณภาพการศึกษา แหล่งงาน เศรษฐกิจมี

งานวิจัยได้นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายอันเนื่องมาจากกลุ่มเป้าหมายได้รับผลกระทบต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ

1) สร้างความเข้มแข็งให้กับระบบและกระบวนการยุติธรรมทางกฎหมายและมีเป้าหมายไปสู่ยุติธรรมสมานฉันท์

2) ปรับทัศนคติในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยสร้างทัศนะเชิงบวกต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนและต่อกระบวนการสันติภาพให้เจ้าหน้าที่รัฐและคนในสังคม

3) เพิ่มประสิทธิภาพงานเยียวยาโดยใช้แนวทางการมีส่วนร่วมและให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูความรู้สึกและศักดิ์ศรีของผู้รับผลกระทบและฟื้นคืนความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่

4) กำหนดให้ผู้ชาย เยาวชนชาย เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ต้องให้การสนับสนุนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมเริ่มยอมรับ และการศึกษา

5) กระตุ้น สนับสนุนผู้ชาย เยาวชนชายที่ได้รับผลกระทบให้มีการรวมตัวเป็นเครือข่าย

6) ส่งเสริมกระบวรการเรียนรู้และพัฒนาทักษะให้เยาวชนชาย

7) สร้างบรรยากาศทางสังคมของการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม

8) ฟื้นฟูและสร้างความเข้มแข็ง เพื่อให้ชุมชนเป็นที่ไว้วางใจและมีบทบาทในการดูแลช่วยเหลือผู้รับผลกระทบ

9) การสื่อสารที่สร้างความรู้ความเข้าใจ ที่นำสู่การเสริมสร้างสันติภาพ

งานวิจัยชื้นนี้ถือเป็นมิติใหม่ เป็นงานชิ้นแรกที่นำเอา "เสียงของลูกผู้ชาย" ออกมา สู่ สาธารณะ และ การเสวนาครั้งนี้เป็นการช่วยส่งเสียงต่อให้ดังขั้น อีกชั้นหนึ่ง ผู้จัดได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ จากผู้เข้าร่วมการเสวนาอย่างมาก ขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่เอ่ยนามข้างต้น และที่ไม่สามารถเอ่ยนามได้ทั้งหมด ที่ทำให้ สังคมเห็นทุกข์ของลูกผู้ชาย จะขอบคุณอย่างสูงหากหน่วยปฏิบัติและหน่วยนโยบายทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคธุรกิจ จะนำข้อเสนอไปดำเนินการต่อ อันจะเป็นการร่วมกันสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนต่อไป

บันทึกโดย ลม้าย มานะการ กองทุนเสริมสร้างสันติภาพ โครงการ ช.ช.ต. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. ปัตตานี/ 22 ก.ย. 59