Skip to main content

Astora Jabat

กัวลาลัมเปอร์ 23 พฤศจิกายน - ข้อเรียกร้องให้สร้างพื้นที่ปลอดภัยใน 3 จังหวัด และ 4 อำเภอชายแดนใต้ คืบหน้า 70 % บนโต๊ะเจรจาการพูดพูดคุยสันติภาพไม่เป็นทางการระหว่างคณะเทคนิครัฐบาลไทย และคณะเทคนิคมาปาตานี เมื่อวันที่ 21-22 พฤษจิกายน

แต่การเดินหน้าการพูดคุยคงจะติดขัดและไม่ราบรื่น เพราะมาราปาตานี มองว่าการสร้างพื้นที่ปลอดภัยนี้ ไม่ใช่แค่ประกาศให้พื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นดินแดนปลอดอาวุธ (no weapon zone) และไร้กองกำลัง (no millitary zone), แต่การดูแลและการบริหารจัดการพื้นที่พิเศษนนี้จะต้องทำร่วมกัน และมีส่วนร่วมและฝ่ายที่เป็นกลางเข้าร่วมมาด้วย

นี่หมายความว่าพื้นทีปลอดภัยนั้น คือไม่ใช่แค่มีความร่วมมือการปฏิบัติการในพื้นที่ปลอดภัยระหว่างมาราปาตานี และรัฐบาลไทยเท่านั้น แต่ต้องมีการร่วมมือกับซีเอสโอและฝ่ายที่กลางอื่นๆในพื้นที่ด้วย

นอกจากนั้นในระดับสุดท้ายคงจะต้องมีฝ่ายต่างประเทศเข้ามามอนีเตอร์อีกเช่นกัน

(รออ่านวิเคราะห์รายละเอียดเรื่องนี้ในหนังสือพิมพ์ จะบอกให้ทราบที่หลังว่าจะลงในหนังสือพิมพ์ไหน...)

โฆษกมาราปาตานี อายู ฮาฟิส อัล-ฮากีมบอกผู้เขียนเช้าวันนี้ว่า การประขุมคณะทำงานร่วมกันกระบวนการพูดคุยสันติสุข ( Joint Working Group- Peace Dialoque Process/JWG-PDP) ระดับคณะทำงานทางเทคนิคร่วม (Joint Technical Team/JTT) เพื่อหารือเกี่ยวกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยเกือบจะเสร็จสมบูรณ์เพราะเค้าโดรงพื้นทีปลอดภัยนั้นคืบหน้าไป 70% แล้ว

อาบู อาฟีสแจ้งให้ทราบว่า มาราปาตานีได้ยืน 3 ข้อเสนอ (ไม่ใช่ข้อเรียกร้อง) ให้รัฐบาลไทยพิจราณา

1- รับรองความปลอดภัยตัวแทนมาราปาตานีที่จะเข้าร่วทำงานคณะทำงานทางเทคนิคร่วม (Joint Technical Team/JTT) ในพื้นที่ปลอดภัย

2- อภัยโทษผู้ต้องขังบางคน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการสร้างพื้นที่ปลอดภัย 

และ 3. พิจารณาหยุดโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและขุดทรัพยากรแร่ธาตุอื่น ๆ ที่มีการคัดค้านจากคนในท้องถิ่น

การประชุมคณะทำงานเทคนิค ทั้งสองฝ่ายนี้มีกำหนดการประชุม 2 วัน คือ วันที่ 21 พฤศจิกายน เป็นวันรายงานตัว และ บรีฟฟิ้ง บรรยายสรุปจากหัวหน้าคณะแต่ละฝ่าย ส่วนวันที่ 22 พฤษจิกายนเป็นวันพูดคุยทั้ง 2 ฝ่ายบนโต๊ะเจรจาซึ้งมีมาเลเซียเป็นฝ่ายให้ความสะดวก

การพูดคุยไม่เป็นทางการคณะทำงานเทคนิคทั้ง 2 ฝ่าย ครั้งต่อไปจะมีขึ้นเดือนหน้า....