Skip to main content

ย้อนรอยสื่อทางเลือกชายแดนใต้ 2: “เชื่อมร้อยเครือข่าย ผสานกำลังสื่อ สร้างพลังต่อรอง”

 
การสร้าง "พื้นที่สาธารณะ" เป็นอำนาจทางสังคมรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถดูดพลังอำนาจของประชาชน พลเมืองกลุ่มต่างๆ มารวมตัวกันเพื่อแสดงบทบาทของภาคพลเมืองจนสามารถกำหนดวาระสำคัญของกลุ่มหรือเครือข่ายขึ้นมาให้ได้ (civic assembly) โดยมี “ปฏิบัติการสื่อสาร” (communicative action) ที่สามารถท้าทายข้ออ้างและความชอบธรรมที่ดำรงอยู่อย่างไม่เคยถูกตั้งคำถามได้ คือยกระดับเป็น “ผู้ชี้นำ” มากกว่าการเป็นส่วนประกอบของสื่อกระแสหลัก นี่คือความท้าทายบทบาทของสื่อทางเลือกชายแดนใต้

'วิทยุม.อ.ปัตตานี': การทำงานบนเส้นทางสันติภาพ

'วิทยุ ม.อ.ปัตตานี' การทำงานบนพื้นฐานของการสื่อสารเชิงสันติภาพ 'พัชรา ยิ่งดำนุ่น' นักจัดรายการวิทยุที่เกาะติดสถานการณ์มาโดยตลอด เล่าถึงกระบวนการออกแบบสื่อวิทยุให้มีรูปแบบรายการที่หลากหลายเกาะติดสถานการณ์บนพื้นที่ในมิติ 3 วัฒนธรรม ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

กระบวนการพูดคุยสันติภาพ : จะถอย หรือจะไปข้างหน้า

รอฮานี จือนารา

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจากส่วนกลางทำให้การพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็นต้องหยุดชะงัก ในขณะที่หลายคนก็มองว่าเวทีพูดคุยดังกล่าวได้ล่มแล้ว ประจวบกับเหตุการณ์ความไม่สงบที่รุนแรงขึ้นโดยเฉพาะเหตุการณ์ระเบิดทหารที่อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานีเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 4 คน ก็ยิ่งทำให้หลายภาคส่วนรู้สึกถอดใจ

K4DS Post ฉบับเดือน ธันวาคม 2556

ท่ามกลางความขัดแย้งที่กำลังเผชิญหน้าและเงาของความรุนแรงที่ทอดทับอยู่ในหลายพื้นที่ในประเทศ
K4DS Post ฉบับธันวาคม นำเสนอเรื่องราวว่าด้วยกระบวนการสันติวิธีในระหว่างเส้นทางสู่สันติภาพ
จากตัวอย่างทั้งในและต่างประเทศเพื่อช่วยขับเคลื่อนพลังแห่งสันติและสติให้เกิดความสงบและ
สยบความรุนแรงเพื่อก้าวข้ามความขัดแย้งและหาทางออกให้กับปัญหาไปด้วยกัน

เชิญชวนชมนิทรรศการภาพถ่าย "คืนความทรงจำ: เมืองญาบะ" รือเสาะ, นราธิวาส

 
เชิญชวนร่วมงาน "คืนความทรงจำ: เมืองญาบะ" ในวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ ณ ศาลาประชาคมอำเภอรือเสาะ / โรงเรียนภัทรียาอนุบาล จ.นราธิวาส