- Posted By: dsj
- Comments: 0
สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยภายใต้การสนับสนุน UNICEF และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ลงพื้นที่เก็บข้อมูลทำรายงานสิทธิเด็กที่เป็นรายงานคู่ขนานกับรายงานสิทธิเด็กของภาครัฐที่จะต้องให้ UN ใน 5 ภูมิภาค รวมถึงเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
สมาชิกสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยจำนวน 4 คน ได้พบนักวิจัยสถานนักวิจัยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) และทีมงานศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DeepSouthWatch) ปรึกษาหารือการทำรายงานสิทธิเด็ก ฉบับเด็ก หรือรายงานที่เกี่ยวกับสถานการณ์ของเด็กในประเทศไทย ภายใต้โครงการจัดทำรายงานสิทธิเด็ก ฉบับเด็ก ซึ่งจัดโดยจัดสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
นางสาวสุภาพิชญ์ ไชยดิษฐ์ รองประธานสภาเด็กและเยาวชนฯ กล่าวว่า ประเทศไทยลงนามอนุสัญญาด้วยว่าสิทธิเด็ก ดังนั้นในทุกๆ 5 ปี ประเทศไทยจะต้องทำรายงานสิทธิเด็กส่งให้กับสหประชาชาติ (UN) แต่สำหรับในครั้งนี้มีความพิเศษกว่าทุกๆ ครั้งที่ผ่าน คือ จะมีการทำรายงานสิทธิเด็ก ฉบับเด็กด้วย ซึ่งเป็นการรายงานสถานการณ์ของเด็กในประเทศไทย โดยที่เด็กเป็นคนคิด เด็กเป็นคนทำ ประเด็นมาจากเด็ก ทุกอย่างในรายงานฉบับนี้เด็กจะผู้ที่ทำทั้งหมด ซึ่งจัดทำโดยสภาเด็กและเยาวชนฯ รายงานฉบับนี้จะเป็นรายงานคู่ขนาดกับรายงานสิทธิเด็กของภาครัฐ ซึ่งในครั้งนี้จะต้องส่งต่อสหประชาชาติ ซึ่งในครั้งนี้ต้องส่งภายในเดือนตุลาคม 2560 นี้
ทำรายงานสิทธิเด็กทั่วประเทศ เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
นางสาวสุภาพิชญ์ กล่าวอีกว่า โดยในรายงานฉบับนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเด็นตามภูมิภาค คือภาคเหนือเรื่องชาติพันธ์ คือ ทำรายงานเกี่ยวกับเด็กที่ยังไม่ได้รับสัญชาติ โดยเฉพาะเด็กที่บนดอยหรือที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ ภาคอีสาน ทำรายงานเกี่ยวกับเด็กที่มีความยากจนที่อาศัยในชุมชนชนบทจังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคกลาง ทำรายงานเกี่ยวกับการใช้รายงานเด็กในจังหวัดสมุทรสาคร ภาคใต้ทำรายงานเกี่ยวกับเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และกรุงเทพมหานครที่จะทำรายงานประเด็นเกี่ยวกับความยากจนในบริบทชุมชนเมือง
“การทำงานรายงานฉบับนี้ได้การสนับสนุนจาก UNICEF และ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนสาเหตุที่ให้ UNICEF ให้สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยทำรายงานฉบับนี้ เนื่องจากสภาเด็กและเยาวชนฯ เป็นองค์กรที่ตามกฎหมาย” นางสาวสุภาพิชญ์ กล่าว
รายงานเรื่องเด็กที่ได้รับผลกระบทจากความไม่สงบ
ช่วงระหว่างวันที่ 9 – 13 สิงหาคม 2560 สภาเด็กและเยาวชนฯ มีกำหนดลงพื้นที่เก็บข้อมูลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเป้าหมายเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัดโดยประสานงานกับองค์กรต่างๆ ที่ทำงานด้านช่วยเหลือปกป้องคุ้มครองเด็กทั้งนี้จะเก็บข้อมูลทั้งที่เป็นผลกระทบในหลายๆ ด้าน เช่น ผลกระทบด้านการเรียน ด้านจิตใจ รวมทั้งข้อมูลจากครอบครัวผู้ปกครองโดยเก็บข้อมูลทั้งเด็กไทยพุทธและมุสลิมจำนวนเท่าๆ กัน
นางสาวสุภาพิชญ์ กล่าวปิดท้ายว่าภายในวันที่ 29 สิงหาคม สภาเด็กและเยาวชนฯ จะมีการพูดคุยกันในเรื่องการทำรายงาน เพื่อให้ข้อมูลของทั้ง 5 ภูมิภาคเป็นไปในแนวเดียวกัน เนื่องจากต้องทำรายงานเป็นฉบับเดียวกัน
- 960 reads