Skip to main content

 

ขบวนการบีอาร์เอ็นพุ่งเป้าหมายที่การพูดคุยเพื่อสันติสุข

 

บทความโดย ดอน ปาทาน 
กรุงเทพฯ
 
 
 
 
 
    TH-pathan-620
    ทหารรักษาการณ์เฝ้ามองชาวมุสลิมกำลังสวดเพื่อสันติสุข ที่โรงพยาบาล ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งผู้ต้องสงสัยกลุ่มก่อการร้ายได้ซุ่มโจมตี เมื่อสองวันก่อนหน้า วันที่ 15 มีนาคม 2560
     เอเอฟพี
     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    แม้ว่าจะมีเหตุความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ไม่ได้ทำให้รัฐบาลไทยสั่นคลอน กลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ใหญ่และแข็งแกร่งที่สุด ในจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงออกแถลงการณ์ ให้ล้มล้างกระบวนการสันติภาพที่มีในปัจจุบัน และยังกล่าวย้ำความต้องการในการเจรจากับกรุงเทพฯโดยตรง

    บีอาร์เอ็น กลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ได้ออกมาเตือนประชาชนไทยว่ากระบวนการสันติภาพที่มีความหมายนั้น จะต้องสอดคล้องกับหลักปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ซึ่งหมายความว่า "ผู้ไกล่เกลี่ย" ที่เป็นผู้นำการเจรจา ต้องมีความเป็นกลาง

    "การพูดคุยสันติสุข ต้องเกิดจากการยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้ง และสมัครใจจะหาทางออกร่วมกัน" บีอาร์เอ็น กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์

    โดยขอให้ชี้แจง การอ้างอิงถึง "สองฝ่าย" ซึ่งผู้ปฏิบัติการของบีอาร์เอ็นรายนั้น ตอบว่า "รัฐบาลไทยและกลุ่มบีอาร์เอ็น" ไม่ใช่ มาราปาตานี องค์กรร่มของกลุ่มผู้แบ่งแยกดินแดนปาตานี ซึ่งได้มีการเจรจาแบบไม่เป็นทางการกับรัฐบาลไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 โดยมีมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก

    ขบวนการบีอาร์เอ็นควบคุมกลุ่มผู้ก่อการร้ายเกือบทั้งหมดในพื้นที่ สมาชิกฝ่ายปฏิบัติการรายหนึ่งกล่าว และขบวนการได้ยืนยันว่า กรุงเทพฯ ควรติดต่อพูดคุยโดยตรงกับตน และ ต้องมีประชาคมนานาชาติ เป็นผู้สังเกตการณ์ กระบวนการพูดคุย

    กระทำการล้ำเส้น

    การออกแถลงการณ์ของบีอาร์เอ็นดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่มีเพิ่มสูงขึ้น ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการตอบโต้ของขบวนการแบ่งแยกดินแดน ต่อเหตุวิสามัญชาวมาเลมุสลิมสองราย ซึ่งส่วนใหญ่ ไม่มีการรายงานข่าวนี้ในข่าวท้องถิ่น

    กลุ่มก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ ตั้งใจจะให้รัฐบาลไทยรู้ว่า รัฐต้องได้รับการตอบโต้ ในเมื่อรัฐปฏิบัติการล้ำเส้น

    ผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคง คือ นายอิสมาแอ หามะ อายุ 28 ปี และ นายอาเซ็ง อูเซ็ง อายุ 30 ปี ถูกยิงและสังหารในวันที่ 29 มีนาคม โดยเจ้าหน้าที่ยืนยันว่าทั้งสองคนได้ยิงเจ้าหน้าที่ก่อน จึงต้องยิงตอบโต้ ในระหว่างการขับรถไล่ล่า

    หลานสาววัย 15 ปี ของหนึ่งในผู้ต้องสงสัยกล่าวว่า ทั้งสองคนไม่มีอาวุธ เจ้าหน้าที่ความมั่นคง บอกทั้งสองให้ออกจากรถ และพาพวกเขาไป ขณะที่เธอรออยู่ในรถตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ครู่ต่อมาเธอได้ยินเสียงปืนดังขึ้น

    ต่อมาในวันเดียวกัน ได้มีการโพสต์ในเวบไซต์ ภาพถ่ายของชายสองคนเสียชีวิต ห่างจากรถของพวกเขาประมาณ 50 เมตร บนถนนเส้นใน ที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ข้างๆร่างของทั้งสอง มีปืนเอ็ม 16 และปืนพกขนาด 9 มม.ตกอยู่

    แต่คำพูดของเธอขัดกับของเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีความเห็นอกเห็นใจใดๆจากคนไทยทั่วไป ที่ไม่ได้อาศัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวว่า คาดว่าทั้งสองคนนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุสังหารรองผู้ใหญ่บ้าน ชาวพุทธ พร้อมสมาชิกในครอบครัว ในวันที่ 2 มีนาคม

    ดังที่เคยปรากฏ คนไทยมักจะไม่ปราณี กับผู้ที่ท้าทาย ทำการใดๆขัดกับสิ่งที่พวกเขาทำหรือกล่าวมา

    ฝ่ายขบวนการก่อการร้ายก็ไม่รีรอที่จะตอบโต้ เพราะเห็นว่ารัฐบาลไทยกระทำการเกินขอบเขต

    วันรุ่งขึ้น มีผู้ก่อการร้ายจำนวน 5 คน นั่งบนหลังรถกระบะ โดยขับผ่านหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส และเริ่มมีการยิงใส่กลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่เข้าแถวรอรับมอบนโยบายในตอนเช้าก่อนเริ่มงานวันนั้น ทำให้มีเจ้าหน้าที่ผู้เสียชีวิต 1 นาย และได้รับบาดเจ็บอีก 3 นาย

    สี่วันต่อมา กลุ่มกบฏก่อการร้ายร่วม 30 คน ก่อเหตุเข้าโจมตีด่านตรวจในพื้นที่อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา จนทำให้เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 12 นาย โดยคนร้ายวางแผนกันมาอย่างดี และต่อมาหลังเที่ยงคืนวันที่ 6 เมษายน คนร้ายกลุ่มก่อความไม่สงบก่อเหตุลอบวางระเบิด และวางเพลิงเผาทำลาย หลายจุดในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา ต่อเนื่องหลายจุด ในหลายพื้นที่มีการวางระเบิดบริเวณเสาไฟฟ้า ทำให้มีไฟฟ้าดับ และสัญญาณโทรศัพท์มือถือถูกตัดขาด

    ตั้งรกรากอยู่ในชุมชน

    กฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้น ในการเจรจาเพื่อสันติสุขที่ผ่านมา จะนำมาใช้ในภาคปฏิบัติระหว่างสองฝ่ายที่มีความขัดแย้ง จะมีการตีความอย่างไร ระหว่าง "การละเมิด" หรือ "การฆ่าอย่างถูกต้อง"

    กลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนยอมรับได้ หากสมาชิกแนวร่วมของตนถูกฆ่าตายในการต่อสู้กับฝ่ายเจ้าหน้าที่ ในพื้นที่ หรือในสนามรบ แต่จะไม่ยอมรับการถูกเป็นเป้าสังหาร เพราะตกเป็นผู้ต้องสงสัย สมาชิกขบวนการแบ่งแยกดินแดนรายหนึ่งกล่าว

    อย่างไรก็ตาม ผู้ก่อการร้ายกล่าวยืนยันว่า รัฐบาลไม่สามารถใช้เหตุและผลใดๆ ในการวิสามัญใครก็ตาม เพียงเพราะรัฐคิดว่า เขาเหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มขบวนการ

    ชาวมาเลมุสลิมเกือบทุกคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะรู้จักสมาชิกแนวร่วมขบวนการแบ่งแยกดินแดน สมาชิกบีอาร์เอ็นอาวุโสคนหนึ่งกล่าว

    ส่วนในการกล่าวหาบางคนว่ามี "ส่วนร่วม" กับการก่อการร้าย นั้นมักจะอ้างได้ง่ายที่สุด และไม่สามารถปฏิเสธได้ ในอีกนัยหนึ่ง ถ้า อิสมาแอ และ อาเซ็ง ถูกฆ่าตายได้ คนอื่นๆก็ถูกฆ่าได้

    ขบวนการบีอาร์เอ็นมีฐานสนับสนุนที่แข็งแกร่งจากชุมชนมลายู ในระดับรากหญ้า ที่ให้การสนับสนุนด้านลอจิสติกส์แก่สมาชิกขบวนการ และยังทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้ เจ้าหน้าที่ไทยในพื้นที่รู้เรื่องนี้ดี แต่ไม่สามารถพูดได้มากนัก เนื่องจากมีผู้ทำแผนและกำหนดนโยบายของปัญหาจังหวัดชายแดนใต้อยู่ที่กรุงเทพฯ

    สำหรับความท้าทายของทั้งกลุ่มผู้ก่อความรุนแรงและเจ้าหน้าที่ความมั่นคง คือ การตัดสินใจว่า ใครเป็นเป้าหมายที่ถูกต้อง และถ้าหากไม่มีผู้คุ้มกฎร่วมกัน เพื่อที่ทั้งสองฝ่าย จะสามารถยึดถือในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันอย่างเหมาะสมแล้ว "การละเมิด" ย่อมจะดำเนินต่อไป

    ดอน ปาทาน เป็นที่ปรึกษาและนักวิเคราะห์เรื่องความมั่นคง ประจำประเทศไทย ความคิดเห็นที่แสดงในงานเขียนชิ้นนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น ไม่ใช่ของเบนาร์นิวส์

    เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://www.benarnews.org/thai/commentary/TH-pathan-04112017201113.html