Skip to main content

 

ค่ายภาษาอังกฤษเพื่อสานเสวนาเยาวชนพุทธ-มุสลิม

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก ดินอะ)

ผู้อำนวยการศูนย์อัลกุรอ่านและภาษา QLCC

[email protected]http://www.oknation.net/blog/shukur

 

            ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

จากการศึกษาของศูนย์สันติวิธีมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าปัจจุบันนี้เหตุการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความไม่เข้าใจมากขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้เสนอทางออกหนึ่งให้มีการจัดสานเสวนาระหว่างพุทธและมุสลิมโดยเฉพาะ     เยาวชน(อ้างอิงข้อห่วงกังวลของชุมชนพุทธและมุสลิมในสังคมไทย   (http://www.deepsouthwatch.org/node/11160) และในขณะเดียวกันภาษาอังกฤษมีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมเพราะในเวทีนานาชาติภาษาอังกฤษมีความสำคัญในการสื่อสารในขณะที่เยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่มีทักษะเพียงพอในการสื่อสารจากหลักการและเหตุผลดังกล่าวศูนย์อัลกุรอ่านและภาษา QLCC  โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ         ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคม ที่ทำงานขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้

จึงได้จัดค่ายภาษาอังกฤษเพื่อสานเสวนาเยาวชนพุทธ-มุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ตามโครงการการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของศอ.บต.)  2 รุ่นกล่าวคือรุ่นที่ 1 วันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2560  (หญิงจำนวน 40 คน)รุ่นที่ 2 วันที่  15-17 ธันวาคม 2560(ชายจำนวน 40 คน)ณ โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ ตำบลสะกอม   อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลาและเยี่ยมชุมชนสำคัญรอบอำเภอจะนะ เพื่อดูวิถีวัฒนธรรม

จากค่ายอบรมดังกล่าวทำให้ผู้เข้าร่วมอบรม บรรลุวัตถุประสงค์เบื้องต้นดังนี้

1.เยาวชนพุทธ-มุสลิมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันโดยเฉาะสังคมพหุวัฒนธรรมของจังหวัดชายแดนภาคใต้อันเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมกันแก้ปัญหาในอนาคต

2.เยาวชนพุทธ-มุสลิมได้เรียนรู้แนวคิดสันติวิธีในการแสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง

3. เยาวชนพุทธ-มุสลิมได้เพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเบื้องต้นด้านสันติวิธีจังหวัดชายแดนภาคใต้

4.ได้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้จากเยาวชนมากมายเช่นการพัฒนาการศึกษาเยาวชนเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาที่ยั่งยืน  การเพิ่มเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมให้มากขึ้นเป็นบ่อเกิดความสามัคคีและลดการหวาดระแวง การเพิ่มพื้นที่ทางสังคมต่อเยาวชนในการร่วมพัฒนาและแก้ปัญหาสังคมและการให้ความสำคัญกับเยาวชนคือพื้นฐานการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน เป็นต้น

 

 

ครู ฟาตอนา ขุนดุเร็ะ หนึ่งในวิทยากรค่ายครั้งนี้กล่าวว่า การจัดค่ายเพื่อทีจะทำความเข้าใจกับพื้นที่ 3 จังหวัด 4 อำเภอ ซึ่งเป็นพื้นทีความขัดแย้ง  ความเข้าใจผิดอาจเกิดกับ เยาวไทยพุทธและมุสลิม ดังนั้นการจัดค่ายครั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยใช้ภาษาอังกฤษเบื้องต้นเป็นสื่อกลางในการเป็นตัวเชื่อมกับกิจกรรม  ในขณะที่อีกกิจกรรมหน่งในค่ายคือ การให้เยาวชนลงไปเรียนรู้ชุมชนและให้เขาได้มองแต่ละชุมชนที่มีความแตกต่างด้านวิถีวัฒนธรรมเข้าอยู่ร่วมกันอย่างไร และหวังว่าค่ายที่ดีอย่างนี้จะมีเต็มพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

หมายเหตุประมวลภาพ

 

 

ภาพโครงการค่ายภาษาอังกฤษเพื่อสานเสวนาเยาวชนพุทธมุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้รุ่นที่  1  วันที่  24-26  พฤศจิกายน 2560

 

ภาพโครงการค่ายภาษาอังกฤษเพื่อสานเสวนาเยาวชนพุทธมุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้รุ่นที่  2  วันที่  15-17 ธันวาคม 2560