Skip to main content

รายงานพิเศษ 'คนหายในไฟใต้' 1
จาก "สมชาย" ถึง "อิบรอฮีม" เหยื่ออุ้มหายจากรัฐตำรวจสู่รัฐบาลสมานฉันท์   
เผยแพร่ | 2549-12-11

ไฟใต้ยังคงคุกรุ่นอยู่อย่างไม่มีท่าทีว่าจะมีสงบได้ง่ายๆ รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่เข้ามาบริหารประเทศแทนรัฐบาลนักการเมืองสามานย์ก็ยังไม่เห็นท่วงท่าว่าจะทำให้เหตุการณ์เฉพาะหน้าสังหารรายวันยุติได้โดยง่ายเช่นกัน

ความคาดหวังของประชาชนทั้งประเทศต่อการแก้ปัญหาภาคใต้ที่มีอยู่สูงมาก อาจเป็นเพราะในบรรดาเหตุผลหลักของการเข้ายึดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันเป็นประมุข (คปค.) อ้างต่อสาธารณะนั้น มีเนื้อหาของที่สะท้อนเจตจำนงที่จะเข้ามาแก้ปัญหาความแตกแยกในชาติ แน่นอน นอกจากปัญหาการเมืองที่ศูนย์กลางอำนาจแล้ว ปัญหาภาคใต้ก็เป็นหนึ่งในแขนงความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยร่วมสมัย

ในขณะเดียวกัน เมื่อครั้งการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ..สุรยุทธ์ ก็ได้ประกาศภารกิจเร่งด่วน 3 ประการ หนึ่งในนั้นได้แก้การแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความคาดหวังต่อบทบาทของ คมช.และรัฐบาลใหม่จึงสูงเป็นธรรมดา  (อ่านทั้งหมด...)

 

รายงานพิเศษ 'คนหายในไฟใต้' 2
เปิดบัญชี "คนหายชายแดนใต้" จะเยียวยาแค่เงินคงไม่พอ ?
เผยแพร่ | 2549-12-13

เย็นย่ำวันที่ 11 ก.พ.2547 ชายฉกรรจ์นับสิบคนก่อเหตุอุกฉกรรจ์กลางเทศบาลตำบลตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ซึ่งอุบัติขึ้นท่ามกลางสายตาของผู้สัญจรไปมาอย่างเปิดเผย ชายฉกรรจ์กลุ่มดังกล่าวสวมหมวกไหมพรมปิดหน้าพร้อมอาวุธปืนพกสั้นและปืนยาวครบมือ เดินทางมาพร้อมรถกระบะไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เข้าจอดเทียบหน้าร้านขายโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่งและบุกเข้าจี้เจ้าของร้านและลูกจ้างขึ้นรถคันดังกล่าวก่อนขับหนีภายในเวลาไม่กี่นาที

          ปฏิบัติการ "อุ้ม" ครั้งดังกล่าวกระทำการอย่างอุกอาจยิ่ง รายงานข่าวที่ร้อยเรียงอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ในวันรุ่งขึ้นตีพิมพ์เหตุการณ์ดังกล่าวอย่างค่อนข้างละเอียด พร้อมทั้งระบุด้วยว่า เจ้าหน้าที่เชื่อว่าหนึ่งในผู้ถูกอุ้มเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีพยายามลอบวางเพลิงเมื่อหลายวันก่อน  (อ่านทั้งหมด...)

รายงานพิเศษ 'คนหายในไฟใต้' 3
ความหวังผู้รอคอย..'ขอกระดูกสักชิ้นก็ยังดี'

เผยแพร่ | 2549-12-13

"กรณีทนายสมชาย" นับเป็นคดีสะท้อนความอยุติธรรมที่ประชาชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ต้องเผชิญ ท่ามกลางความหวาดระแวงว่ายังมีคนสูญหายอีกไม่น้อย บ้างก็ว่าเป็นร้อย บ้างก็ว่าเป็นพัน แต่ข้อมูลที่สามารถตรวจสอบและพิสูจน์อย่างเป็นทางการขณะนี้มีอยู่ 23 ราย เวลานี้ญาติของเหยื่ออุ้มหายหวังเพียงให้ฝ่ายรัฐรื้อคดีขึ้นมาใหม่เพื่อตามหา "ร่าง" ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม  (อ่านทั้งหมด...)

 

รายงานพิเศษ 'คนหายในไฟใต้' 4
ไขปม 'คนหายในไฟใต้' สู่หนทางคืนความยุติธรรม
เผยแพร่ | 2549-12-14

"กระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม" อาจเป็นทางออกสำหรับการคลี่คลาย "ปม" อันเป็นต้นเหตุของความไม่เป็นธรรมต่างๆ ในสังคมไทยได้ โดยเฉพาะปัญหา "คนหาย" ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ไม่เฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น ทว่าสถานการณ์พิเศษในพื้นที่ดังกล่าวกล้บจะยิ่งขับเน้นให้ "ปมคนหาย" เป็นเงื่อนไขของความไม่เป็นธรรม อันเป็นหนึ่งต้นเหตุหลักของปัญหาชายแดนภาคใต้ไปในที่สุด

สถานะของปัญหา "คนหายในไฟใต้" จึงต้องถูกยกระดับเป็นประเด็นด้านความมั่นคงที่ควรให้น้ำหนักอย่างถึงที่สุด  ในเมื่อแนวทางที่รัฐบาลเลือกใช้คือการสร้างสมานฉันท์ภายในสังคมไทยและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและเป็นธรรม การไข "ความจริง" ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของการสร้างสมานฉันท์จึงควรรีบกระทำอย่างยิ่งยวด ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร รัฐบาลในยุคสมานฉันท์ควรมีเจตนาที่จะคลี่ปมดังกล่าวอย่างจริงจังเสียที  (อ่านทั้งหมด...)