Skip to main content

"สถานการณ์ร้อน-การเมืองเดือด" เจาะสนามเลือกตั้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้
โดย       | ศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ภาคใต้
เผยแพร่   | 2550-09-16  

             ศึกเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ  ส.ส.ที่คาดว่าจะมีขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ เริ่มมีอุณหภูมิร้อนแรงขึ้นทุกขณะ ในส่วนของพื้นที่ด้ามขวานทองซึ่งเป็นฐานที่มั่นของพรรคประชาธิปัตย์ มีแนวโน้มว่าการเลือกตั้งครั้งที่จะมาถึงนี้ สมาชิกลูกพระแม่ธรณีบีบมวยผมจะไล่กวาดมาตั้งแต่เพชรบุรีจนถึงสุดเขตแดนใต้ แต่ที่ยังเป็นก้างชิ้นใหญ่ที่พรรคประชาธิปัตย์กลืนไม่ลง คือ พื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

หลายยุคหลายสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องขับเคี่ยวกับนักการเมือง "กลุ่มวาดะห์" ซึ่งพื้นที่ในแต่ละเขตผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะเรื่อยมา  (อ่านทั้งหมด...)

 

วัดปรอทชายแดนใต้ : "เปิดพื้นที่ทางการเมือง"
โดย       | มูฮำมัดอายุบ ปาทาน
เผยแพร่   | 2550-08-25

การลงประชามติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญสำหรับพื้นที่ชายแดนภาคใต้ มีแง่มุมหลายที่น่าสนใจอยู่หลายแง่มุม ท่ามกลางความกังวลว่า สถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น อาจทำให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์น้อย แต่ผลที่ออกมาปรากฏว่า ประชาชนพากันออกมาใช้สิทธ์กว่า 50% แม้แต่ในพื้นที่สีแดง และในจำนวนนี้กว่า 70% เห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  (อ่านทั้งหมด...)

 

ยุทธศาสตร์การเมืองดับไฟใต้ (ตอน 1)
ถอดรหัส "พรรคใหม่" ชิงพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 
โดย       | กิ่งอ้อ เล่าฮง, ปกรณ์ พึ่งเนตร
เผยแพร่   | 2550-07-09

ปรากฏการณ์การชุมนุมของกลุ่มนักศึกษามุสลิมจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงและสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มัสยิดกลางปัตตานี เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมต่อเนื่องถึงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั้น ไม่ได้มีเพียงมิติของการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับประชาชนในพื้นที่แต่เพียงด้านเดียว

ทว่าการเคลื่อนไหวในแง่ของ "พลังมวลชน" ยังสะท้อนให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวการช่วงชิงพื้นที่ทางการเมืองในการเลือกตั้งครั้งใหม่อีกด้วย

รายงานลับจากหน่วยข่าวของรัฐบาล ยืนยันว่า การชุมนุมของนักศึกษาที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีมีกลุ่มเอ็นจีโอกับนักวิชาการมุสลิมบางส่วนอยู่เบื้องหลัง และมีวาระเพื่อเปิดพื้นที่ทางการเมืองของกลุ่มตนโดยผ่านการขับเคลื่อนของคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์รุนแรงหลายๆ เหตุการณ์ที่ประชาชนสงสัยว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ อันเป็นผลผลิตของการชุมนุมครั้งดังกล่าว โดยมีเป้าหมายปลายทางคือการประกาศตั้ง "พรรคการเมือง" ที่เป็นตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเป็นทางการ  (อ่านทั้งหมด...)

ยุทธศาสตร์การเมืองดับไฟใต้ (ตอนจบ)
จับตา "หมอแว" เบียด "วาดะห์-ประชาธิปัตย์" 
โดย       | กิ่งอ้อ เล่าฮง, ปกรณ์ พึ่งเนตร
เผยแพร่   | 2550-07-10

          กลุ่มการเมืองใหม่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังถูกจับตามองอย่างสูงในขณะนี้คือ "กลุ่มหมอแว" ภายใต้การนำของ น.พ.แวมาฮาดี แวดาโอะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อดีตจำเลยคดีความมั่นคง ผู้ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวพันกับขบวนการก่อการร้ายเจไอ แต่ภายหลังศาลพิพากษายกฟ้อง

          จริงๆ แล้วหมอแวไม่ใช่คนหน้าใหม่ในแวดวงการเมือง แต่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่จังหวัดนราธิวาสบ้านเกิดเมื่อปี 2549 และได้รับเลือกตั้งเข้ามาด้วยคะแนนเหยียบแสน สูงสุดในจังหวัดและสูงเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ  (อ่านทั้งหมด...)

รุกทางการทหาร...ระวังเพลี่ยงพล้ำทางการเมือง 
โดย       | มูฮำมัดอายุบ ปาทาน
เผยแพร่   | 2550-07-06

ยุทธการ "พิชิตบันนังสตา" และ "พิทักษ์ปาดี" ซึ่งผลการปฏิบัติสามารถควบคุมตัวบุคคลต้องสงสัยได้กว่า 200 คน พร้อมยึดอาวุธยุทธภัณฑ์ได้อีกจำนวนหนึ่ง ถือเป็นการกู้หน้าของฝ่ายรัฐในการโต้กลับขบวนการก่อความไม่สงบ หลังจากที่เพลี่ยงพล้ำทางยุทธวิธี เกิดความสูญเสียทั้งฝ่าย ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง มาโดยตลอด

เป็นมาตรการรุกทางการทหารครั้งใหญ่ที่เห็นผลอย่างชัดเจนที่สุด นับตั้งแต่ปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ปะทุขึ้นมาเมื่อปี 2547  (อ่านทั้งหมด...)

นักศึกษาและพื้นที่การเมืองในไฟใต้
โดย       | ศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ภาคใต้
เผยแพร่   | 2550-06-20

การปรากฏตัวของการชุมนุมของนักศึกษาและประชาชนจำนวนหลายพันคนที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งในความเคลื่อนไหวสำคัญที่บ่งบอกถึงโฉมหน้าล่าสุดของสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกภาพหนึ่ง นอกเหนือจากเหตุร้ายรายวันที่ที่ตอกย้ำการความรุนแรงและการสูญเสียอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน  (อ่านทั้งหมด...)