Skip to main content

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
สถานที่ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
วันเวลา : 2-3 พฤศจิกายน 2550
 

มหกรรมสันติวิธี ครั้งที่ 2
วิถีสู่ความเป็นธรรมและสมานฉันท์

สันติวิธี คือ การลงมือกระทำเพื่อแก้ไขปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง มิใช่เพราะเหตุผลทางศีลธรรมเท่านั้น หากยังเป็นเพราะข้อเท็จจริงที่ว่า การใช้ความรุนแรงตอบโต้มีแต่จะเพิ่มความรุนแรงให้มากขึ้น นอกจากนี้สันติวิธียังรวมถึงการสร้างเงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เพื่อมุ่งขจัดไปที่รากเหง้าของความรุนแรงโดยเฉพาะความไม่เป็นธรรมทางสังคมให้ลดน้อยลง

เราทุกคนสามารถใช้สันติวิธีได้ ด้วยการมีใจเชื่อมั่นในหัวใจความเป็นมนุษย์ ที่กล้าเผชิญต่อปัญหาหรือข้อขัดแย้ง โดยการคิดหาทางออกด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ ยิ่งไปกว่านั้นการรวมพลังและร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องของผู้ใฝ่สันติ ในการนำทักษะที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ความขัดแย้งอย่างจริงจัง น่าจะช่วยลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นนั้นลงได้มาก และเมื่อนำสันติวิธีมาสู่การใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน ก็จะเกิดความสันติสุข  สมานฉันท์โดยแท้จริง

ในปีนี้ได้มีการจัดงานมหกรรมสันติวิธีเป็นครั้งที่ 2 ใช้ชื่อประเด็นงานว่า "วิถีสู่ความเป็นธรรมและสมานฉันท์" ด้วยการร่วมมือของหลายองค์กรที่ทำงานด้านสันติวิธีในสังคมไทย

กิจกรรมภายในงาน

วันที่ 2 พ.ย. 50
08.45 น.        พิธีเปิด
09.00 น.        ปาฐกถา "ความหวังและปัญหาท้าทายแนวทางสันติวิธีในปัจจุบัน 
                   โดย พระไพศาล วิสาโล
10.00 น.        เวทีวิชาการ งานวิจัยและการใช้สันติวิธีเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง
                   ในพื้นที่ภาคใต้ 
สังคมไทยและสังคมโลก  
13.30 น.        กิจกรรมห้องย่อยเพื่อการเรียนรู้ "สันติวิธีที่เราทำได้"
                  
(สามารถสมัครเข้าร่วมตามความสนใจ)
16.00 น.        การแสดงละครหน้าขาว
16.30 น.        เสวนาผู้ว่าฯ จังหวัดชายแดนภาคใต้กับนโยบายสันติวิธีในพื้นที่
17.30 น.        เวทีวัฒนธรรม การขับร้องประสานเสียงของเยาวชน, การขับร้องอันนาชีด,
                  
การแสดงดิเกฮูลู, การแสดงดนตรีชนเผ่า, การแสดงดนตรีของวงคีตาญชลี
20.30 น.      

วันที่ 3 พ.ย. 50
09.00 น.        ปาฐกถา "ศีลธรรมและสันติภาพ"  โดย  ผศ.ดร. ไชยันต์  รัชชกูล
10.00 น.        เวทีวิชาการ งานวิจัยและการใช้สันติวิธีเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง
                   ในพื้นที่ภาคใต้
สังคมไทยและสังคมโลก  
13.30 น.        กิจกรรมห้องย่อยเพื่อการเรียนรู้ "สันติวิธีที่เราทำได้"
                  
(สามารถสมัครเข้าร่วมตามความสนใจ)
16.00 น.        การแสดงปัญจะสีลัต
16.30 น.        เสวนาพรรคการเมืองกับนโยบายด้านสันติวิธี
17.30 .        เวทีวัฒนธรรม การประกาศเจตนารมณ์ สันติวิธี สู่สังคมสันติสุข,
                  
การแสดงละคร, พิธีแห่งการคืนดี, การขับร้องประสานเสียง, 
                   
การแสดงดนตรี  ความรักและสันติภาพ โดย อี๊ด  ฟุตบาธ
20.30 น.       

ตลอดทั้งวันชมนิทรรศการ เข้าร่วมซุ้มกิจกรรม และอุดหนุนสินค้าจากร้านค้าทางเลือก

 

สอบถามรายละเอียด หรือส่งรายละเอียดใบสมัครได้ที่
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล   
โทรศัพท์ 02-849-6072 ถึง 4 โทรสาร 02-849-6075 
http://www.santisikkha.org/

ประสานงานการจัดห้องย่อยเพื่อการเรียนรู้โดย
ศูนย์ศึกษาและพัฒนางานสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และเสมสิกขาลัย

ร่วมสนับสนุนโดย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (มสส.)
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

 

รายละเอียดหัวข้อกิจกรรมห้องย่อยเพื่อการเรียนรู้   "สันติวิธีที่เราทำได้"


หัวข้อที่จัดวันที่
2-3 พ.ย. 50 (จัดต่อเนื่อง 2 วัน)

ที่

หัวข้อ

องค์กรที่จัด

 
 

1

การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง * เลื่อนเป็น 26 พ.ย.         
รับจำนวน 30 คน
เป็นแนวทางที่ฝึกฝนให้เกิดความเข้าใจในความขัดแย้ง และเปิดโอกาสต่อการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งไปสู่ทางเลือกอีกมากมาย บนพื้นฐานของการร่วมมือและความพึงพอใจของทุกฝ่าย แล้วเราจะเห็นว่าการมีความขัดแย้งอยู่ร่วมในชีวิตเป็นเรื่องที่สนุกมากกว่าที่ผ่านมา

โดย อ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ  

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

2

การจัดการความขัดแย้ง
รับจำนวน 20 คน
เรียนรู้ที่จะมองความขัดแย้งด้วยความเข้าใจ หรือมองด้วยมุมมองใหม่ๆ และฝึกฝนวิธีการต่างๆที่จะนำความขัดแย้งไปสู่การสร้างสรรค์ประโยชน์ มากกว่าการใช้ความรุนแรง เพื่อสามารถรับมือได้กับสังคมสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

สถาบันพระปกเกล้า

 

 

3

สื่อละครเพื่อการเข้าใจความขัดแย้ง * เต็มแล้ว    
รับเยาวชนจำนวน 15 คน
เป็นการเรียนรู้ถึงการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีผ่านกิจกรรมการละคร ภายใต้แนวคิดแบบมะขามป้อมคือ สนุก ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และมีสีสัน ได้สาระ และการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับและแบ่งปัน

โดย ปองจิต  สรรพคุณ และคณะ

กลุ่มละครมะขามป้อม

      

 

4

การสานเสวนา 
รับจำนวน 40 คน
ฝึกฝนการยอมรับความแตกต่างหลากหลายของผู้ที่อาจมีจุดยืนต่างกัน   เป็นการฟังอย่างลึกซึ้งโดยไม่ตัดสินผู้ใดไว้ก่อน ด้วยการใช้เมตตาเพื่อเกิดปัญญา สันติสุข และการพัฒนาความเป็นมนุษย์ จนทำให้เกิด ความร่วมมือและนำไปสู่ การแก้ไขความขัดแย้งและความรุนแรงร่วมกัน

โดย อ.ปาริชาด สุวรรณบุบผา

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

5

เรียนรู้สิทธิมนุษยชนด้วยตนเอง                         
รับจำนวน 30 คน
ร่วมเรียนรู้ "อะไรคือสิ่งจำเป็นในชีวิตมนุษย์ที่คนทุกคนควรได้รับ" เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน เช่น อากาศบริสุทธิ์ การมีงานทำ หากมีการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน สังคมจะมีความสงบและอยู่ร่วมกันได้ด้วยความเข้าใจ โดยไม่เบียดเบียนกัน 

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน

 

6

สันติวิธีในสถานพินิจ    
รับจำนวน 50 คน
เรียนรู้ถึงการทำงานและกระบวนการเพื่อให้วัยรุ่นที่ก้าวพลาดหรือก้าวผิดจังหวะในชีวิต ได้ค้นพบเป้าหมายคือ การตระหนักในคุณค่าของตนเองและพร้อมจะกลับคืนสู่สังคมอย่างมั่นใจและเป็นมิตร

 

โดย อ.ทิชา ณ นคร และเยาวชน

ศูนย์ฝึกฯ บ้านกาญจนาภิเษก

 

 


หัวข้อที่จัดเฉพาะวันที่
2 พ.ย. 50

ที่

หัวข้อ

องค์กรที่จัด

7

สันติวิถีกับชีวิตที่ต้องเผชิญกับความรุนแรง
รับจำนวน 40 คน
สันติวิธีเป็นพลังเพื่อช่วยแปรเปลี่ยนความขัดแย้งและลดความรุนแรง ให้เกิดสันติร่วมกัน โดยที่ทุกคนสามารถใช้สันติวิธีได้ หากคุณเชื่อมั่นในหัวใจความเป็นมนุษย์ กล้าเผชิญต่ออุปสรรค และคิดหาทางออกโดยวิธีที่สร้างสรรค์

โดย

อ.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์

และคณะ

มูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม

8

สื่อสารสันติในครอบครัว
รับจำนวน 60 คน
เป็นการสร้างกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมภายในครอบครัว และสร้างความเข้าใจถึงบทบาทและความสัมพันธ์ในวิถีชีวิตสมัยใหม่ เพื่อให้เกิดการหล่อเลี้ยงความสัมพันธ์ด้วยความรัก เกื้อกูลและสนับสนุนต่อกันทั้ง พ่อ แม่และลูก หรือบุคคลต่างๆในครอบครัว

มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว

 

9

ประสบการณ์การเดินธรรมยาตรา                                    
รับจำนวน 50 คน
กว่า 10 ปีที่ผ่านมารูปแบบธรรมยาตราขยายออกไปอย่างกว้างขวาง สร้างความตระหนักและมีส่วนร่วมในชุมชน ให้เกิดความเข้าใจและร่วมแก้ไขปัญหาอย่างสันติ อะไรเป็นแรงบันดาลใจและประสบการณ์ที่ได้รับจากงานที่ผ่านมา และขบวนธรรมยาตราจะคงอยู่และขับเคลื่อนต่อไปอย่างไร

โดยกลุ่ม

- ธรรมชาติยาตราเพื่อแม่น้ำมูล

- ธรรมยาตราเพื่อทะเลสาบสงขลา

- ธรรมยาตราเพื่อลุ่มน้ำลำปะทาว

- ธรรมยาตราเพื่อป่าชุมชน


หัวข้อที่จัดเฉพาะวันที่
3 พ.ย. 50

10

การสื่อสารอย่างสันติ
รับจำนวน 40 คน
ทักษะเพื่อฝึกการรับรู้และสัมผัสถึงความรู้สึกและความต้องการที่เป็น พื้นฐานภายใน ทั้งตัวเราและคู่สนทนา เพื่อสร้างสัมพันธภาพและมุมมองใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานแห่งความกรุณาและความเข้าใจ  อันจะทำให้แปรเปลี่ยนความขัดแย้งไปสู่ทางออกอย่างสร้างสรรค์ 

โดย ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์ 

และคณะ

11

ประสบการณ์สันติอาสาสักขีพยาน
(พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้) 
รับจำนวน
50 คน
เป็นการกระตุ้นให้คนเห็นความสำคัญของการแสวงหาความจริงมากขึ้น  เพราะการคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งให้นำไปสู่สันติ ทุกฝ่ายต้องรู้ว่ความจริงคืออะไร เพราะเมื่อความจริงปรากฏก็จะไม่มีความชอบธรรมเพียงพอที่จะใช้ความรุนแรง

โดย นารี เจริญผลพิริยะ และคณะ

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี

มหาวิทยาลัยมหิดล

12

ถอดบทเรียนการชุมนุมเรียกร้อง
รับจำนวน 50 คน
เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อให้เสียงแห่งความทุกข์ยาก การแสดงความคิดเห็น และการเรียกร้องดังก้องออกสู่สังคม ประสบการณ์ที่หลายหลากนี้เกิดเป็นความเคลื่อนไหวได้อย่างไร และอะไรเป็นสิ่งที่สังคมยังจะต้องเรียนรู้ เพื่อการเปิดพื้นที่ของสังคม และเปิดพื้นที่ในใจเรา

โดยกลุ่มชุมนุมเรียกร้องกรณีสำคัญๆ

- เครือข่ายสมัชชาคนจน

- กลุ่มร่วมคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้า

บ่อนอก-หินกรูด

- กลุ่มคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย

 


กิจกรรมห้องย่อยเพื่อการเรียนรู้
  
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้
  ถึง 25 ตุลาคม 2550
ขอสงวนสิทธิ์ปิดรับสมัครเมื่อครบตามจำนวนที่กำหนด หรือหากยังไม่ครบจำนวนจะเปิดรับต่อเนื่องจนถึงหน้างาน

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล
สำนักงานอธิการบดี ชั้น 2 ห้อง 204
999 ถ.พุทธมณฑล สาย 4 ศาลายา นครปฐม 73170   
โทรศัพท์ 02-849-6072 ถึง 4 โทรสาร 02-849-6075

หมายเหตุ

ห้วข้ออบรม 
 

หมายเหตุ
หัวข้ออบรมวันที่ 2-3 เป็นการจัดอบรมต่อเนื่อง ผู้ที่สนใจจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมตลอด 2 วัน