Skip to main content
อาบีบุสตา ดอเลาะ                                              
กลุ่มกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมชายแดนใต้(KAWAN-KAWAN)
“ความยุติธรรมและความเจริญรุ่งเรือง หมายถึง เอกราชปาตานี (Patani merdeka)  คือ สันติภาพที่แท้จริง” คำชี้แจงและจุดยืน ของบีอาร์เอ็น ผ่านฮะซัน ตอยิบ อดีตคณะผู้แทนการเจรจาของบีอาร์เอ็น เมื่อคืนที่ผ่านมา ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าคำชี้แจงและจุดยันเมื่อคืนที่ผ่านมาสามารถให้ความกระจ่างกับรัฐไทยและประชานหรือยังว่า สิทธิความเป็นเจ้าของอธิปไตย หมายถึงอะไร เพราะก่อนหน้านี้สื่อหลายสำนักและคณะผู้แทนการเจรจาของรัฐไทย มีความกังวลถึงความไม่ชัดเจนถึงคำดังกล่าวว่ามีความหมายว่าอย่างไร
จากคำชี้แจงและจุดยันดัวกล่าวนั้น ส่อเค้าว่าโต๊ะสานเสวนาสันติภาพได้ล่มแล้วการที่บีอาร์เอ็น ขอยุติการพูดคุยสันติภาพในครั้งนี้ จนกว่ารัฐไทยจะยอมรับเงื่อนไขต่างๆที่ได้เสนอไป ผู้เขียนมองว่ามาจากสาเหตุ 2 ประการ กล่าวคือ 1.การพูดคุยสันติภาพที่เกิดขึ้นครั้งนี้บีอาร์เอ็นไม่สามารถทำให้ประชาชนปาตานีมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสันติภาพได้ 2.รัฐไทยไม่มีความจริงใจในการเจรจาเนื่องจากมิได้นำเรื่องการพูดคุยสันติภาพเป็นวาระแห่งชาติที่ได้รับการรับรองจากรัฐสภา ยิ่งในสภาวะที่รัฐไทยกำลังประสบกับวิกฤตความความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรงอาจเกิดสูญญากาศทางการเมือง ทำให้ไม่มีหลักประกันใดๆแก่บีอาร์เอ็นที่จะต้องพูดคุยสันติภาพกับรัฐไทยต่อไป แต่กระนั้นการสานเสวนาสันติภาพครั้งนี้ ทำให้เกิดการตื่นตัวทางการเมืองของคนปาตานีอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและยังเป็นบทเรียนครั้งสำคัญในการสร้างสันติภาพในอนาคต จากบทเรียนในครั้งนี้หากจะมีการสานเสวนาเจรจาสันติภาพในอนาคต ผู้เขียนเห็นว่าควรมีแนวทางดังต่อไปนี้
หลังจากมีการเริ่มพูดคุยสันติภาพ แม้จะทราบว่าเป็นการพูดคุยภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  ผู้เขียนไม่ค่อยมีความกังวลต่อประเด็นนี้ว่าจะเป็นอุปสรรคในการให้ประชาชนปาตานีมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง โดยมองว่า การพูดคุยดังกล่าวเป็นเพียงกระบวนการเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายยินยอมตกลงทำการเจรจาสันติภาพในภายหลัง อันเป็นยุทธวิธีทางการเมืองที่แยบยลของพรรคเพื่อไทยแต่ไม่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้ามกับพรรคนำเรื่องการพูดคุยกับบีอาร์เอน เป็นเงื่อนไขในการการเคลื่อไหวทางการเพื่อล้มรัฐบาล อย่างที่เกิดการชุมนุมล้มรัฐบาลจากม็อบต่างๆ จากการที่รัฐบาลออกกฎหมาย พ.ร.บ .นิรโทษกรรมและพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกิดในขณะนี้ ที่สำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดทางกฎหมาย ในภาวะที่ไม่มีกระบวนการทางกฎหมายและทางการเมืองเพื่อคุ้มครองผู้ที่พูดคุยกับกลุ่มคนที่รัฐไทยอ้างว่าเป็น กลุ่มแบ่งแยกดินแดนหรือผู้ก่อการร้าย การพูดคุยสันติภาพจึงจำเป็นต้องกำหนดให้เป็นการพูดคุยภายใต้รัฐธรรมนูญ  เมื่อมีการตกลงพูดคุยจนทั้งสองฝ่ายมีความไว้วางใจซึ่งกันและกันแล้ว ทั้งบีอาร์เอ็นและรัฐไทย จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่สภาของตนเพื่อรับฉันทามติจากสภาสูงสุดของทั้งสองฝ่าย ว่าตกลงจะทำการเจรจาสันติภาพอย่างเป็นทางการหรือไม่ ถ้ารัฐสภาของไทยหรือสภาชูรอของบีอาร์เอ็น ไม่เห็นด้วยการเจรจาก็ตกไป แต่หากเห็นด้วยกับการเจรจา ก็จะดำเนินการขั้นตอนต่อไป
ก่อนเข้าสู่การเจรจานั้น ทางฝั่งรัฐไทยจะมีความยุ่งยากและความสับซ้อนในการจัดการทางการเมืองมากกว่าบีอาร์เอ็น เนื่องจากรัฐไทยมีฐานะเป็นรัฐที่เป็นทางการของกฎหมายระหว่างประเทศ  มีกฎหมายภายในที่เป็นอุปสรรในการเจรจาจึงอาจต้องสร้างกระบวนการทางการเมืองและข้อกฎหมายเป็นกรณีพิเศษเพื่อรองรับการเจรจา
อย่างไรก็ตาม ฉันทามติที่ได้จากสภาสูงสุดของแต่ละฝ่ายที่จะทำให้อีกฝ่ายยอมทำการเจรจาจะเกิดขึ้นกรณีเดียว คือ ยินดีให้คนปาตานีกำหนดชะตากรรมด้วยตนเองประชาชนต้องการอะไร เพราะเป็นหลักการที่ยังคงรักษาสถานะของทั้งสองฝ่ายโดยไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบ หากเป็นหลักการอื่นนอกจากนี้ โดยเฉพาะการกำหนดเงื่อนไขที่ทำให้อีกฝ่ายเสียเปรียบ คงเป็นเรื่องยากที่อีกฝ่ายจะทำการเจรจาด้วย เช่น หากรัฐไทยกำหนดเงื่อนไขว่า การเจราจาจะต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญไทย การเจรจาก็ไม่อาจเดินต่อไปได้เพราะอุดมการณ์ของบีอาร์เอ็น คือเอกราช หรือหากบีอาร์เอ็นกำหนดเงื่อนไขว่า การเจรจาจะต้องจะต้องได้เอกราชสถานเดียว การเจรจาก็ไม่อาจเดินต่อไปได้เช่นเดียวกัน เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญของไทย การถามประชาชนปาตานีจึงเป็นสิ่งที่ยุติธรรมที่สุดแล้วแก่สองฝ่าย(WIN-WIN)   หลังจากได้รับฉันทามติจากอำนาจสูงสุดของแต่ละฝ่ายแล้ว ก็จะนำเรื่องดังกล่าวไปสู่ การเจรจาสันติภาพ ซึ่งบีอาร์เอ็นและรัฐไทย ต้องทำการเจรจาตกลงโดยกำหนดเงื่อนไขและข้อตกลงฉบับใหม่ อันมีสาระสำคัญว่าให้ประชาชนปาตานีกำหนดชะตากรรมของตนเอง
ส่วนจะให้ประชาชนปาตานีกำหนดชะตากรรมของตนเองอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย แต่สำหรับทัศนะของผู้เขียนจะเป็นอย่างไรนั้น ขอให้ติดตามบทความชิ้นต่อไป เรื่อง :บทเรียนจากการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐไทยกับบีอาร์เอ็น :รัฐสภาไทยและสภาชูรอของบีอาร์เอ็นต้องให้ประชาชนปาตานีกำหนดชะตากรรมของตนเอง (ตอนที่ 2)