Skip to main content

“สู่สังคมที่ยอมรับกันว่า Fair”: การประชุมวิชาการครั้งที่ ๑๑ สถาบันพระปกเกล้า
 
“สู่สังคมที่ยอมรับกันว่า Fair
:  การประชุมวิชาการครั้งที่ ๑๑ สถาบันพระปกเกล้า
          อัลฮัมดุลิลละ ฮฺ...ตั้งใจเขียนบล็อกแลกเปลี่ยนเรียนรู้เปิดประเด็นนี้ในงานวันแรกที่เข้า ร่วมประชุมวิชาการครั้งที่ ๑๑ ของสถาบันพระปกเกล้า ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ  เลยรอเวลากลับมาให้ถึงปัตตานี แล้วค่อยสรุปประเด็นให้ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทีเดียว แต่ไม่รู้ว่าจะได้ประเด็นหรือป่าวนะครับ อิอิ เพราะงานนี้ทั้งเต็มอิ่ม ทั้งมึนกับวิชาการ ทั้งงานเข้าครับ
            งานนี้ปาฐกถานำโดยท่านอาจารย์ ศ.ดร.ผาสุก  พงษ์ไพจิตร  ครับในประเด็น “สู่สังคมที่ยอมรับกันว่า Fair อาจารย์เปิดมุมมองได้อย่างน่าสนใจครับกับความหมายของคำว่า Fair ว่าที่ไม่เลือกใช้คำแปลภาษาไทยเพราะไม่รู้จะหาคำใดที่เหมาะสมแล้วแปลได้อย่างลงตัว อาจารย์มองว่า แท้ที่จริงแล้วคำว่า Fair ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องหมายถึงความเท่าเทียมกันทั้งหมดหากแต่ต้องเท่าเทียมกันทางโอกาสในเชิงการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม[1]  คนรุ่นต่อไปจะต้องมีอนาคตที่สดใสทั้งนี้ทั้งนั้น สังคมดังกล่าวนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่จะต้องมาจากการผลักดันร่วมกันของคนในสังคม... เอาพอประมาณนะครับวันนี้ อิอิ
            หลังจากนั้นก็เป็นการอภิปรายในหัวข้อเรื่อง “พลวัตของระบบการจัดสรรผลประโยชน์กับการจัดการความขัดแย้ง” โดยมีผู้ร่วมอภิปราย คือ ศ.ดร.นิธิ  เอียวศรีวงษ์  คุณสารี  อ๋องสมหวัง  ดร.ปรเมธี  วิมลศิริ และ ดร.สมภพ  เจริญกุล ดำเนินรายการโดยผู้ประกาศข่าวช่อง ๗ คุณภัทร จึงกานต์กุล (คนนี้ยอมรับเลยครับทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการได้อย่างสมบูรณ์แบบครับ
 
            อาจารย์นิธิ  เอียวศรีวงศ์ กล่าวว่า สภาพความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงความขัดแย้งในระดับ ปัจเจกบุคคล แต่เป็นปัญหาความขัดแย้งในระดับโครงสร้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจรัฐในการจัด สรรทรัพยากร  อาจารย์ท่านมองว่า จาก สถิติคนรวยของประเทศมีอยู่เพียง ๒๐ เปอร์เซ็นต์แต่ทรัพยากรทั้งประเทศเกือบ ๘๐ เปอร์เซ็นต์กลับอยู่ที่คนกลุ่มนี้ นั่นหมายถึงว่าเราปล่อยให้คนส่วนน้อยยึดทรัพยากร ซึ่งอยู่ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “อำนาจ” ประเด็นที่ต้องคิดอีกต่อมาที่อาจารย์พูดไว้อย่างน่าสนใจ จนผมรู้สึกว่ามางานนี้มันคุ้มตั้งแต่คนแรกที่พูดแล้ว อาจารย์ท่านมองว่า “คนไทยอยากเห็นการกระจายอำนาจแต่คนไทยก็สับสนกับการกระจายอำนาจเสียเอง” คิดเอาเองนะครับว่าคืออะไร อิอิ และอีกหลากหลายประเด็นที่อาจารย์ได้พูดคงจำนมาสาธยายในบลีอกไม่หมดครับ แต่มีอีกประเด็นที่น่าคิด คือ รัฐธรรมนูญปี ๔๐ และ ปี ๕๐ มีการดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากมายแต่สิ่งสำคัญคือกลับมีการสร้างพลังในการตรวจสอบน้อยมาก

            อีกท่านสำหรับวันนี้ที่อยากนำเสนอ คือ ดร.สมภพ เจริญกุล อาจารย์เปิดประเด็นไว้อย่างน่าคิดครับ ลองดูนะครับว่า ๕ ส. ที่ท่านพูดไว้กับสังคมเมืองไทย ณ ปัจจุบัน...
                 ส.๑      เราสับสนไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี...
                            คงไม่ต้องขยายความนะครับบอกแล้วลองคิดดู
                ส.๒     เราเสียวกับเสียว (สุดเสียว) อันนี้ท่านให้เหตุผลว่านักธุรกิจเข้าใจดี
                          ระหว่างสองคำนี้ “เจ๊ง” กับ “เจ๋ง”  เพราะไม่รู้ว่าทิศทางเศรษฐกิจ
                          จะเป็นอย่างไร
                 ส.๓     เราสยอง อันนี้ท่านมองว่าแม้แต่ในสภาก็มีความรุนแรงเกิดขึ้น
                          โดยที่เราไม่แพ้ญี่ปุ่นหรือเกาหลีเลย อิอิ การให้สัมภาษณ์ของ
                           ผู้ใหญ่ก็มีการประชดประชันกัน คุย กันสยองสุดๆ
                ส.๔     เราสิ้นหวัง คือ “เรามองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายถ้ำ” อิอิ มิใช่ปลาย
                           อุโมงค์นะครับ
               ส.๕     เราเศร้าสร้อย ท่านมองว่าเราคนไทยแม้จะยิ้มหรือหัวเราะก็ไม่เต็มที่
                          ทั้งนั้น อิอิ
        เป็นไงบ้างครับสำหรับ ๕ส. ของท่าน...ผมก็จำมาได้เท่านี้แหละครับ ฮ่าๆๆๆ ยังไงอินชาอัลลอฮฺ
              จะพยายามรวบรวมที่เขี่ย(ไม่เขียนนะครับเพราะอ่านแทบไม่รู้เรื่องพอมานั่ง แกะ)ไว้ มาเล่าสู่กันฟังอีกทีเพราะมีอีกหลายประเด็นครับที่หลายท่านได้เสนอมุมคิดไว้ อย่างน่าขบคิดและขบขัน อิอิ ยังไงวันนี้ผมขอเอาประเด็นที่ท่าน ศ.ดร.บวรศักดิ์  เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าพูดทิ้งท้ายในงานมานำเสนอก่อนนะครับเพราะว่ากลัว ลืมมากกับสิ่งที่ท่านได้พูดไว้อย่างน่าคิดจนผมแทบจะไม่ได้บันทึกอะไรเป็นลาย ลักษณ์อักษรเลย อิอิ ท่านพูดว่า “สามวันกับการประชุมวิชาการวันนี้เราต้องทำอะไรนับต่อจากนี้บ้าง  สังคมเราได้อะไรบ้าง นอกจากกีฬาสีเหลืองเขียวแดง นอกจากเราจะเสียรัฐธรรมนูญไปถึงสองฉบับ เสียนายกไปถึง ๔ คนและขออย่าให้เสียคนที่ ๕ ไปเร็วนัก”   (อิอิ) ...แล้วก็มีอีกมากมายครับแต่วันนี้ผมชักจะไม่ไหวแล้วครับ อ๋อ...ลืมไปนึกขึ้นมาได้อีก ท่านทิ้งท้ายไว้ว่า “ทั้ง หมดของงานในวันนี้และปัญหา ความขัดแย้งต่างๆในสังคมมันคืออดีต เรามิอาจเปลี่ยนแปลงได้ เราต้องช่วยกันป้องกันมิให้มันตามหลอกหลอนเยาวชนของเราในอนาคตได้”
 
........................................................................................................................
            งาน นี้ผมเองก็ขอขอบคุณลุงเอก ที่ให้โอกาสเข้าร่วมงานในครั้งนี้ และขอบคุณน้องมานิตา ที่ช่วยประสานงานอำนวยความสะดวกในทุกๆเรื่องตั้งแต่ที่พัก อาหารการกิน ตลอดจนรบรับส่ง และความรู้สึกดีๆทุกอย่างตลอดที่เข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้

 
 
 

[1] จดหมายข่าวสถาบันพระปกเกล้าในงานประชุมวิชาการครั้งที่ ๑๑ ณ ศูนย์การประชุมสหปราชาติ