Skip to main content

กองบรรณาธิการศูนย์ข่าวอามาน
http://voicepeace.org 

เกาะติดกระแส  ‘นครปัตตานี’ ศูนย์ข่าวอามานพาย้อนกลับไปดูความเคลื่อนไหวของสื่อมาเลเซียต่อกรณีการหาทางออกปัญหาภาคใต้ แม้เปิดหัวด้วยคำสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ของ นายนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซียในช่วงการประชุมอาเซียนซัมมิท แต่หลังผู้นำมาเลเซียกลับประเทศสื่อมวลชนของมาลเซียยังเสนอข่าวเรื่องภาคใต้ของไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับสัมภาษณ์รองหัวหน้าองค์กรพูโลที่ไม่ได้รับความสนใจในวงกว้างจากสื่อไทย เพราะรองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณไม่ฟัง ย้อนกระแสสื่อมาเลเซียอีกครั้ง และถอดคำสัมภาษณ์ของ ‘กัสตูรี มัฮฺโกตา’ ว่าถ้าพัฒนาและแก้ความเป็นธรรมให้คนชายแดนใต้แล้ว ทำไมปัญหาจึงยังไม่จบ 

 

ฉบับวันที่ 25 ตุลาคม หนังสือพิมพ์อุตุซัน มาเลเซียเสนอข่าว พบกันระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับมาเลเซียที่ภาคใต้ในการพูดคุยหาแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้  

และ 26 ตุลาคม สำนักข่าวเบอร์นามาได้พาดหัวข่าวว่าการปกครองตนเองเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับภาคใต้ (  Autonomi Mungkin Satu Pilihan Buat Selatan Thailand – Najib) ซึ่งในเนื้อหาจากคำสัมภาษณ์นายนาจิบ ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องเอกราชของกลุ่มขบวนการปลดปล่อยปาตานี แต่ประเทศไทยก็ควรที่จะเสนอเขตปกครองตนเองให้จังหวัดภาคใต้ที่ชนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม  

และกลายเป็นประเด็นร้อนทันทีในประเทศมาเลเซียเมื่อสื่อทีวี 3 ของมาเลเซียได้สัมภาษณ์ ‘กัสตูรี มัฮฺโกตา’ รองหัวหน้าพูโลถึง 3 ตอนติดต่อกันในประเด็นเกี่ยวกับทางออกในการแก้ปัญหาความขัดแย้งและกระบวนการเจรจาระหว่างไทยกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนในห้วงเวลาที่ผ่านมา กองบรรณาธิการศูนย์ข่าวอามานเห็นเป็นประเด็นที่น่าสนใจจึงถอดบทสัมภาษณ์ทั้งสามตอนของทีวี 3 มาเลเซียมาเผยแพร่ ดังนี้ 

มากกว่า 40 ปี ที่พูโลลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเอกราชหรือเพื่อเขตปกครองตัวเองของปาตานี จนถึงทุกวันนี้การต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประชาชนปาตานีและความเป็นอัตลักษณ์ของปาตานีกลับคืนมายังคงดำเนินต่อไป  

“และความหมายของพลเมืองปาตานีในตรงนี้หมายถึง ประชาชนส่วนใหญ่คือมลายูมุสลิม แต่การต่อสู้ของเราไม่จำกัดแค่ชาวมลายูมุสลิมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชนกลุ่มน้อยที่เป็นชาวจีน คนไทยพุทธที่อาศัยอยู่ตรงนี้มาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย นับร้อยๆ ปี พวกเขาเหล่านั้นก็เป็นพลเมืองปาตานีเช่นกัน” รอง หน.พูโล กัสตูรี มะฮโกตาให้สัมภาษณ์ TV3 มาเลเซีย  

การให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรี มาเลเซีย นายนาจิบ ราซัก ระหว่างการประชุมอาเซียนที่หัวหิน เป็นการเปิดโอกาส ให้กลุ่มเคลื่อนไหวที่ก่อตัวมาในปี 1968 พร้อมทั้งได้รับการตอบรับจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทย ในการให้สัมภาษณ์กับหนังสื่อพิมพ์เดอะเนชั่น โดยได้เสนอรูปแบบการปกครองตนเองในรูปแบบต่างๆ สามารถที่จะคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งในภาคใต้ได้ เช่นเสนอการให้เป็นเขตปกครองตนเอง โดยการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่น ให้อาชีพ ศาสนา การศึกษา กัสตูรีได้ตอบรับข้อเสนอแนะของผู้นำมาเลเซียในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยกล่าวว่า  

“กระบวนการแก้ไขปัญหา จำเป็นต้องจริงใจจากทั้งสองฝ่าย และถ้าเป็นไปได้และเราหวังว่า กระบวนการแก้ปัญหา ต้องเปลี่ยนไปยังปัญหาดั้งเดิม ปัญหาประวัติศาสตร์ ไม่เพียงแต่แก้ปัญหาการพัฒนาและเรื่องความเป็นธรรมเท่านั้น เพราะปัญหาปาตานีไม่ใช่ปัญหาการพัฒนาและปัญหาความไม่เป็นธรรม แต่ปัญหาปาตานีคือปัญหาการล่าอาณานิคม การกดขี่ และปัญหาอัตลักษณ์ ความเป็นชาติพันธุ์ที่ผมได้กล่าวข้างต้น” รอง หน. พูโลกล่าว 

นายกัสตูรีกล่าวว่า  พูโลพร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอจากรัฐบาลไทย พร้อมมองว่าการเจรจาจะนำมาซึ่งทางออกและประโยชน์มหาศาล หากดำเนินการโดยประเทศที่สามหรือคนกลาง ดังนั้นพูโลได้เสนอให้มาเลเซียเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้  

“เราในนามพูโล พร้อมที่จะพูดคุย แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะรับข้อเสนอแนะของรัฐบาลไทย เราพร้อมที่พูดคุยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอของไทย ไม่ว่าจะเป็นเขตปกครองตนเอง (autonomi) , federation (สหพันธรัฐ)  และอื่นๆ ที่สำคัญคืออะไรคือเนื้อหาหรือ content ในการพูดคุย คำว่าเอกราช คำว่า  autonomi และคำอื่นๆ นั้นมีความสำคัญ” กัสตูรี กล่าว  

ในฐานะที่เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวหลัก  พูโลยอมรับได้พยายามดำเนินการในเรื่องการเจรจา โดยมีเป้าหมายคือเพื่อเป็นหนึ่งและความสงบสุขของประชาชนกว่า 5 ล้านคน แต่ไม่ได้จำกัดระยะเวลาที่แน่นอน  

“พูโลมีความมั่นใจว่า ความพยายามนี้ต้องให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาท พูโลไม่เคยโอ้อวดหลงตัวเองในเรื่องนี้ ว่าพูโลเท่านั้นสามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยส่วนตัวของผมเองเพื่อแก้ปัญหาพลเมืองปาตานีหากปราศจากเอกภาพ ความร่วมมือ เราจะไม่ประสบความสำเร็จ ” รองหัวหน้าพูโลให้ความเห็น  

หากกระบวนการนำไปสู่เอกภาพประสพความสำเร็จ  กัสตูรี มีความมั่นใจว่าความพยายามในการสร้างสันติภาพก็จะง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับการพูดคุยกับรัฐบาลไทย แต่จำเป็นต้องทำอย่างรอบคอบโดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องหลักที่เกี่ยวกับเรื่องศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมของชาวมลายู และจะต้องไม่จำกัดอยู่เพียงการเรียกร้องในเรื่องเอกราช หรือเรื่อง autonomi ที่สำคัญคือพูโลจำเป็นต้องรับฟังการตัดสินของประชาชนชาวปาตานีก่อนที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง  

“ในเรื่อง autonomi ผมไม่สามารถที่จะตอบได้ ว่าเราจะรับหรือไม่รับ เพราะผมเองได้พยายามที่จะทำแผนแห่งชาติขึ้น ในเรื่องแก้ปัญหาชาติ ไม่ใช่เป็นแผนการแก้ปัญหาที่มาจากพูโลเท่านั้น แต่ต้องเป็นการแก้ปัญหาแห่งชาติร่วมกันกับขบวนการกอบกู้เอกราชอื่นๆ ตลอดชนการเข้ามีส่วนร่วมของพลเมืองปาตานีและตัวแทนจากปาตานี” กัสตูรีให้ความกระจ่างในเรื่องการแก้ปัญหาปาตานี 

ถึงแม้ว่านายกรัฐมนตรีไทยจะปฏิเสธขอเสนอในการตั้งเขตปกครองพิเศษโดยการตั้งกระทู้ถามสดในสภาจาก ส.ส. นราธิวาส โดยนายแวมาฮาดี แวดาโอ๊ะ  แต่รองหัวหน้าพูโลยอมรับว่าการแก้ปัญหาปาตานีจำเป็นต้องแก้ด้วยการใช้สติปัญญาที่ชาญฉลาด ในขณะที่กรุงเทพฯ บอกว่ายอมรับในโรคที่เป็นอยู่ นายกรัฐมนตรีไทยได้ตอบกระทู้ในสภาต่อขอเสนอของพูโลว่าทำไมจนถึงทุกวันนี้ไม่มีการเชิญตัวแกนนำเพื่อมาเจรจา โดยมติของสภาว่าไม่มีเขตปกครองตนเองในภาคใต้ และผู้นำหนุ่มยังคงมีความแนวแน่ที่จะพัฒนาเขตพื้นที่พิเศษและการแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมที่เป็นต้นเหตุของปัญหาเพื่อเป็นทางออกความขัดแย้งที่เกิดขึ้น  

“เรื่องนี้เป็นที่ตั้งใจทำให้เกิดขึ้นโดยรัฐบาลไทย เพื่อให้เราลืมรากเหง้าของปัญหา ไม่เคยมีพลเมืองปาตานีที่เสียชีวิตจากการขาดอาหาร ไม่มีชาวปาตานยีที่ไม่มีบ้านเป็นของตนเอง หากเปรียบเทียบกับประเทศยากจนอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยคนปาตานีก็สามารถยืนหยัดบนลำแข้งของตัวเองได้” นายกัสตูรีแสดงความมั่นใจ

รองผู้นำองค์กรพูโลให้เหตุผลว่าการแก้ปัญหาด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจและความไม่เป็นธรรมไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และกลับตรงข้ามการลุกขึ้นต่อสู้จะทวีความรุนแรงมากขึ้นและต่อเนื่องจะไม่มีวันสิ้นสุด และพูโลได้เปลี่ยนจุดยืนจากการใช้กำลังอาวุธมาต่อสู้ด้วยการเจรจา  

“ผมรู้สึกว่าคนไทยหรือคนสยามจะฟังหากคนที่พูดนั้นเป็นคนไทยด้วยกัน แน่นอนที่สุดเมื่อผมพูดเขาถือว่าผมเป็นศัตรูของเขา ดังนั้นหากผมพูดอะไรไปเป็นเรื่องยากที่เขาจะรับฟัง แต่ถ้าคนไทยด้วยกันที่พูดก็เป็นเรื่องง่ายสำหรับเขาที่จะรับฟัง และนี้คือแนวทางที่เราพยายามทำอยู่ และมันได้เริ่มดำเนินการแล้ว” กัสตูรี กล่าว  

สำหรับพูโลข้อเรียกร้องและการต่อสู้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นเรื่องชัดเจน เพียงแต่จะทำให้เป็นรูปธรรมในเรื่องดังกล่าวจำเป็นจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากคนกลาง 

“เรื่องที่สำคัญมากคือ เพื่อได้รับการสนับสนุนจากข้างนอก จากต่างปะเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้วยวิธีการสนับสนุนคุณธรรม (moral support) หรือด้วยการกดดันจากภายนอกก็สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้เช่นกัน ไม่เพียงแต่การใช้กองกำลังภายในเท่านั้นแต่ การสนับสนุนการกดดันจากนานาชาติอาจจะใหญ่กว่าหรือสำคัญกว่าการใช้กองกำลัง เสียอีก”  รองหัวหน้าพูโลปิดท้ายการให้สำภาษณ์