Skip to main content
สำนักเลขานุการ วิทยาลัยประชาชน
รูสะมิแล 30 มีนาคม 2557
 
 
ด้วยพระนามของผู้เป็นเจ้า ขอแสดงความยินดีแด่นักศึกษาวิทยาลัยประชาชน (People’s College) หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพ ทั้ง 41 ท่าน ในโอกาสรับมอบประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557 ณ หอประชุมใหญ่สำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมี Prof.Dr.Kamarulzaman Askandar อาจารย์ด้านสันติภาพศึกษา University Sain Malaysia และ Prof.Dr.Ichsan Malik อาจารย์ด้านสันติภาพศึกษา University of Indonesia ให้เกียติมอบประกาศนียบัตรในครั้งนี้ และมี ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและวัฒนธรรมวิทยาเขตปัตตานี เป็นประธานในพิธี ในฐานะเจ้าบ้าน
 

 
 
color:#1F497D;">หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพ
 
หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพได้ริเริ่มร่วมร่างขึ้นระหว่างศูนย์จัดการความขัดแย้งศึกษา วิทยาลัยประชาชน (People’s College) กับ Dr.Norbert Ropers นักวิจัยอวุโส สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) มอ.ปัตตานี บรรดานักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิด้านสันติภาพศึกษา ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณโครงการจาก Sasakawa Peace Foundation (SPF) สำนักงานกรุงโตเกียว
 
เนื้อหาในหลักสูตรจะศึกษาครอบคลุมตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของรัฐในโลก ความขัดแย้งต่างๆที่สำคัญๆในแต่ละภูมิภาคของโลก สหประชาชาติ OIC และบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในการจัดการปัญหาความขัดแย้ง อาเซียนกับบทบาทการจัดการปัญหาภายในภูมิภาค ประวัติศาสตร์ชาติไทยและความขัดแย้งภายในประเทศ ประวัติศาสตร์ทางการเมืองชายแดนใต้/ปาตานี ความพยายามของรัฐไทยในการสร้างสันติภาพในชายแดนใต้/ปาตานี การริเริ่มพูดคุยสันติภาพที่กัวเลอลัมเปอร์ การสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนงานสันติภาพ เป็นต้น
 
ที่สำคัญหลักสูตรนี้ถูกออกแบบภายใต้บริบทสถานการณ์ที่สังคมชายแดนใต้/ปาตานี กำลังเรียกร้องถึงวิถีทางการเมืองเพื่อการจัดการกับปัญหาความรุนแรงที่ส่อจะเป็นสงครามที่บานปลายจากการใช้ความรุนแรงโดยพลเรือนติดอาวุธที่ถูกจัดตั้งมาอย่างเป็นระบบและปัญหาพลเรือนถูกสังหารนอกระบบ ประกอบกับบริบทสังคมโลกในศตวรรษนี้ปัญหามีความซับซ้อนยิ่ง เช่นการแทรกแทรงของรัฐมหาอำนาจในโลกและกระแสโลกของการยิบยกถึงสิทธิในการกำหนดอนาคตของตน ดังนั้นจึงนับว่าหลักสูตรนี้มีความก้าวหน้าพอสมควรสำหรับทศวรรษนี้ของสังคมปาตานี
 
color:#1F497D;">ผู้เข้าศึกษาอบรม
 
ในเอกสารระเบียบหลักสูตรของวิทยาลัยประชาชนได้กำหนดคุณสมบัติอันพึ่งประสงค์ของผู้สมัครเพื่อเข้าศึกษาอบรมในหลักสูตรนี้ดำรงอยู่ภายใต้เหตุผลสำหรับ “ผู้นำประชาชนในภูมิภาคปาตานี” เป็นพลเรือนที่มีบทบาทการทำงานเพื่อการปลี่ยนแปลงสังคมชายแดนใต้/ปาตานี ในมิติต่างๆ โดยไม่จำกัดช่วงอายุ ระดับการศึกษา และยศตำแหน่ง อาทิ ผู้นำในองค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนในมิติผู้หญิง กฏหมายและสิทธิมนุษยชน ทรัพยากรและเศษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม และมิติประวัติศาสตร์ ผู้นำศาสนาที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนงานสังคม ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำนักศึกษา นักบริหารส่วนท้องถิ่น และบุคคลากรในหน่วยงานราชการพลเรือนในระดับหัวหน้างานขึ้นไป หรือบุคคลธรรมดาแต่ด้วยมีความสามารถและมีบทบาทเป็นที่ยอมรับของสังคม
 
ทั้งนี้ยังไม่รวมถึง “บุคคลนอกภูมิภาคปาตานี” ซึ่งจะมีการเปิดรับเข้าศึกษาอบรมในหลักสูตรใหม่ที่กำลังจะเปิดรับสมัครในเร็ววันนี้ เนื่องจากเห็นว่าบุคคลนอกภูมิภาคปาตานีที่ปฎิบัติงานในพื้นที่ ปฎิบัติราชการในพื้นที่ หรือทำกิจการใดๆ ในพื้นที่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออนาคตปาตานี มีความสำคัญในการสนับสนุนและขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพปาตานี เฉกเช่นเดียวกับผู้นำประชาชนในภูมิภาคนี้
 
color:#1F497D;">ศึกษากันอย่างไรและใครสอนเรา
 
“วันนี้ข้าพเจ้าจะพูดกับท่านทั้งหลายในฐานะท่านคือผู้นำประชาชน…ปัญหาความรุนแรงในปาตานีเป็นปัญหาที่ผู้นำปาตานีจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพราะเป็นปัญหาตั้งแต่โครงสร้าง เป็นปัญหาที่รัฐจะต้องทุ่มเททั้งงบประมาณและบุคคลากรของประเทศเพื่อการแก้ปัญหา ส่วนผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือประชาชนและจะยังส่งผลกระทบอันโหดร้ายถึงชนรุ่นหลังของเราต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...
 
ดังนั้นขอให้ตระหนักว่าปัญหาปาตานีไม่ใช่ปัญหาที่ผู้ใหญ่บ้านมีปัญหากับลูกบ้าน และนี่เป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไม่วิทยาลัยประชาชนจึงต้องพยายามอย่างแรงกล้าเพื่อสรรหาผู้มาบรรยายและแลกเปลี่ยนในหลักสูตรเป็นนักวิชาการที่สำคัญในประเทศนี้ และเป็นบุคคลระดับนโยบายของรัฐบาลและหน่วยความมั่นคงของไทย
 
นี่เป็นถ้อยคำหนึ่งของผู้แทนวิทยาลัยประชาชนที่กล่าวในวันปฐมนิเทศน์นักศึกษาใหม่หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ผ่านมาวิทยาลับประชาชนได้เชิญผู้มาบรรยายและแลกเปลี่ยนในหลักสูตร อาทิเช่น
 
 
กวี จงกิจถาวร นายกสมาคมเครือข่ายสนับสนุนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) และผู้ช่วยบรรณาธิการเครือเนชั่น บรรยายในวิชาอำนาจที่ได้รับมอบหมายของอาเซียนและนโยบายเพื่อยุติความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพ
 
 
ศ.ดร.แอนเดรีย โมลนาร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา บรรยายในหัวข้อวิชาการจัดการหลังความขัดแย้ง
 
 
อัคชา พรมสูตร ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและประเมินผลกระบวนการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ วุฒิสภา และที่ปรึกษาวิทยาลัยประชาชน  บรรยายในหัวข้อวิชาการประเมินความพยายามในกระบวนการสร้างสันติภาพในปัจจุบัน (ตั้งแต่ข้อตกลง 28 กุมภาพันธ์ 2556)
 
 
ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายในหัวข้อวิชาประวัติศาสตร์ไทยและวิชาประวัติศาสตร์ปาตานีจนถึงข้อตกลงแองโกล-สยาม (มิติของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)
 
 
นายสมเกียรติ บุญชู  ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี บรรยายในหัวข้อวิชาความพยายามของรัฐไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการสร้างสันติภาพในชายแดนใต้/ปาตานี
 
 
ดร.ศราวุฒิ อารีย์  รองผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายในหัวข้อวิชา OIC กับการยุติความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพ
 
 
พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รอง ผอ.ศปป.5 กอ.รมน. บรรยายในหัวข้อวิชาพัฒนาการของข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงกระบวนการสันติภาพ
 
 
พ.อ.นพดล มังคละทน ผู้อำนวยการข่าวกรองยุธศาสตร์  สำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหาร  และอัครชทูตที่ปรึกษาฝ่ายทหารประจำคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ บรรยายในหัวข้อวิชาการรักษาและการสร้างสันติภาพของ UN และตัวแทน UN กับการเข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้งภายในประเทศ
 
 
นายดนัย มู่ส่า ผอ.สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงภาคใต้และชนต่างวัฒนธรรม สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) บรรยายในหัวข้อวิชาความพยายามอย่างเป็นทางการของรัฐไทยในการจัดการความขัดแย้งและความไม่สงบในชายแดนใต้/ปาตานี : การปรับปรุงหลักนิติรัฐ สิทธิมนุษยชน การพัฒนา และการปรับปรุงด้านความมั่นคง
 
 
Dr.Norbert Ropers นักวิจัยอวุโสสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ บรรยายในหัวข้อวิชาแนวโน้มความขัดแย้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคและการวิเคราะห์แนวโน้มความขัดแย้งทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
 
 
Adam Burke นักวิจัยชาวอังกฤษ บรรยายในวิชาการวิเคราะห์กระบวนการสันติภาพและแผนสันติภาพ
 
 
นายมูฮำหมัดอายุบ ปาทาน บรรณาธิกาอาวุโส ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ บรรยายในหัวข้อวิชาการทำแผนที่องค์กรภาคประชาสังคมในชายแดนใต้
 
 
นายรอมฏอนปันจอร์ ผู้ปฏิบัติการศูนย์เฝ้าระหวังสถานการณ์ภาคใต้ บรรยายในหัวข้อวิชาการทำแผนที่ความขัดแย้ง
 
 
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตรภิรมศรี ผอ.สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) บรรยายในหัวข้อวิชาการพัฒนาประชาธิปไตยและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
 
นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนกาชาดสากล บรรยายในหัวข้อวิชาหลักสิทธิมนุษยธรรมระหว่างประเทศอีกด้วย
 
color:#1F497D;">ระยะเวลาการศึกษาอบรม
 
หลักสูตรมีทั้งหมด 140 ชั่วโมงใช้ช่วงเวลาในการศึกษาอบรมระหว่างเดือนมิถุนายน 2556 – มกราคม 2557 โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาการศึกษาอบรมทั้หมด 8 ครั้งๆละ 3 วัน การศึกษาจะจัดที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หลักสูตรนี้จะเปิดรับสมัครเข้ารีบการศึกษาอบรมอีกครั้งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งสามารถติดตามการรับสมัครได้ที่เว็ปไซด์ของวิทยาลัยประชาชน
 
color:#1F497D;">การศึกษาดูงาน
 
วิทยาลัยประชาชนได้รับงบประมาณส่วนหนึ่งจาก ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อจัดการศึกษาดูงานในประเทศ นอกจากนั้นการศึกษาดูงานในต่างประเทศ คณะนักศึกษาได้เลือกเดินทางไปดูงานเขตปกครองตนเองอาเจะเนื่องจากลักษณะเฉพาะของปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาจะคล้ายๆกับทางภาคใต้ของไทย
 
color:#1F497D;">หลักสูตรที่จะเปิดในปี 2014
 
1)   ศูนย์ประชาธิปไตยศึกษา จะเปิดรับสมัครผู้เข้าศึกษาอบรมหลักสูตรวุฒิบัตรประชาธิปไตยศึกษาชั้นสูง รับจำนวน  25 ท่าน จะเปิดรับสมัครในเดือนเมษายน  2557 ในหลักสูตรจะเน้นถึงการจัดการองค์กรชุมชน และหลักธรรมาภิบาลในการจัดการองค์กรท้องถิ่นและนักการเมืองท้องถิ่น หลักสูตรนี้จะมุ้งกับกลุ่มผู้นำนักศึกษาและผู้นำในองค์กรเยาวชน เพื่อการขับเคลื่อนประชาธิปไตยในท้องถิ่น
 
2)   ศูนย์จัดการความขัดแย้งศึกษา จะเปิดรับสมัครผู้เข้าศึกษาอบรมในหลักสูตรประกาศนียบัตรการเปลี่ยนผ่านความขัดแย้ง (Conflict Transition)  รับจำนวน 30 ท่าน ในหลักสูตรมุ่งให้เห็นถึงการการเปลี่ยนผ่านของความขัดแย้งในช่วงเวลาต่างๆ อาทิเช่น ตั้งแต่การเปลี่ยนเปลี่ยนผ่านของรัฐในโลก รูปแบบการปกครองรูปแบบต่างๆ ทางออกการแก้ปัญหาชายแดนใต้ เป็นต้น
 
3)   ศูนย์พัฒนาบุคคลากร จะเปิดรับสมัครผู้เข้าศึกษาอบรมในหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง TOT เพื่อการเปลี่ยนผ่าน (TOT for conflict Transition) รับจำนวน 15 ท่าน ในหลักสูตรจะฝึกการเป็นกระบวนกรและการให้การศึกษาในเรื่องการเปลี่ยนผ่านความขัดแย้ง ผู้สอนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้เป็นพิเศษ
 
4)   สำนักกงศุล จะเปิดรับสมัครผู้เข้าศึกษาอบรมในหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง Peace building and post conflict Development  รับจำนวน 12 ท่าน ในหลักสูตรจะศึกษากระบวนการเพื่อทำงานงานสันติภาพและการพัฒนาหลังความขัดแย้ง โดยมีผู้เชียวญด้านในด้าน post conflict ให้การอบรม
 
ท่านสามารถติดตามรายละเอียดในหลักสูตรได้อีกครั้งในบทความและประกาศทางวิทยาลัยประชาชนในเร็วๆ นี้