Skip to main content

อินเดีย  ; การพัฒนาท่ามกลางกองขยะ ความเชื่อ ความฝัน ความจริง[1 

โดย       อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม 

http://blogs.voanews.com/photos/files/2012/08/ap_india_daily_life_14Aug121-975x662.jpg

 “มนุษย์สามารถปีนป่ายขึ้นผาสูงได้

ไม่ใช่เพราะพละกำลังหรือความหนุ่มแน่น แต่เพราะศรัทธา”

มหาตมะ คานธี

 

              โลกหลังอเมริกามีประเทศใหม่ ๆ โตขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย บราซิล รัสเซีย หรือ แอฟริกาใต้ ประเทศทั้งหมดเหล่านี้ไม่ได้ล้มประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา แต่พวกเขามีระบบเศรษฐกิจที่ดีเยี่ยม โดยเฉพาะหนึ่งนั้น คือ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นอีกประเทศที่ได้ขึ้นหิ้งมหาอำนาจ จึงไม่แปลกที่เช้าตรู่ของวันชาติอินเดียเมื่อ 26 มกราคม 2015 ที่ผ่านมา รูปนายกรัฐมนตรีอินเดียกับผู้นำชาติมหาอำนาจอย่างอเมริกาปรากฏโฉมในหนังสือพิมพ์อย่างเอิกเกริก พร้อมข้อความสั้น ๆ “Republic Day” เสมือนวันคล้ายวันแรกของปี 1950 ที่อินเดียเริ่มใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ  หากอินเดียไม่เป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก แล้วผู้นำชาติตะวันตกอย่าง บารัก โอบาม่า จะมางานวันชาติไปเพื่ออะไรกัน ?

              Encyclopedia Britanica บอกว่า “ประชากรอินเดียประมาณ 1,210 ล้านคน ซึ่งประชากรอันดับ 2 ของโลก หรือประมาณ 378.4 คน / ตารางกิโลเมตร ซึ่งจากจำนวน ประชากร 100 คน ประกอบด้วย ฮินดู 72.4 คน / อิสลาม 12.6 คน / คริสต์ 6.8คน / นับถือบรรพบุรุษ 3.83 คน ซิกห์ 1.87คน / พุทธ 0.6 คน / เชน 0.51 คน / บาไฮ 0.17 คน โซโรเอสเตอร์ 0.02 คน / ไม่มีศาสนา 1.22 คน  ไม่สามารถสำรวจได้ 0.43 คน ซึ่งมีภาษาราชการที่ใช้ประมาณ 22 ภาษาทั่วอินเดีย และเป็นอิสรภาพจากอังกฤษ 15 สิงหาคม 1947 รัฐบาล ยาวาฮาลาล เนห์รู เป็นนายกรัฐมนตรีชุดแรกของประเทศ”

           เราพอจะรับทราบว่า อินเดียเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมการอ่านเป็นอันดับ 1 ของโลกจากการสำรวจในพื้นที่สังคมเมือง  เฉลี่ยประมาณ 10 ชั่วโมง 42 นาที

           อมาตยา เซน (Amartya Sen) อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาววาร์ด และเจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ๒๕๔๑ กล่าวว่า “หากนึกถึงอินเดียมี ๓ แบบ ในเวลาเดียวกัน”

๑.เมืองถูกละเลย

           ฟาริด ซาการียา (Fareed Zakaria) ผู้เขียน “เมื่อโลกไม่ได้หมุนรอบอเมริกา” (The Post American World) หนังสือขายดีลำดับต้น ๆ ระดับโลกของนักรัฐศาสตร์ผู้โด่งดังชาวอินเดีย หนุ่มมุสลิมแห่งเมืองมุมไบ นักหนังสือพิมพ์และนักเขียนผู้ทรงอิทธิพลลำดับต้น ๆ ของอเมริกา ซึ่งได้ย้ายรกรากไปอยู่อเมริกาเมื่อ 1982 และสำเร็จปริญญาเอกจากฮาววาร์ด ด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาได้ชี้ชวนให้เราเห็นภาพของมหาอำนาจอย่างอเมริกาที่ไม่ได้กลายเป็นศูนย์กลางของโลกอีกต่อไป ได้เล่าว่า “ปี ๑๙๘๐  ทุกคนต้องออกจากประเทศ เพราะทนสภาพความตกต่ำและล้าหลังของอินเดียไม่ไหว เพราะต้องคอยอีก ๕๗ ปี ค่าครองชีพจะเพิ่มขึ้น ๒ เท่า” เกิดจากปัญหา การประท้วง เหตุจลาจล แบ่งแยกดินแดน และการก่อความไม่สงบ

         บัณฑิตกลุ่มสถาบันเทคโนโลยีในอินเดียกว่า ๗๕ เปอร์เซ็น (ซึ่งผู้เรียนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จบการศึกษาปีละ ๓๕,๐๐๐ คนในประเทศอินเดีย) ต้องอพยพไปตายเอาดาบหน้าที่อเมริกา ถึงปี ๑๙๙๗ อินเดียสงบสุข ไฟแห่งการแบ่งแยกดินแดนได้ดับลง ความวุ่นวายได้หายไป  เศรษฐกิจเติบโตขึ้น ๗.๑ เปอร์เซ็น ตลอด ๑๐ ปี เพิ่มขึ้นเป็น ๘.๓ เปอร์เซ็น ในปี ถัดมา อีก ๙ ปี ค่าครองชีพจะเพิ่มเป็น ๒ เท่า

         จากการสำรวจปี 2004 ของ Encyclopedia Britanica  พอจะสรุปได้ว่า แม้จะมีพื้นที่โรงเรียนประถมศึกษากว่า 651382 โรงเรียน และครู 3,038,204 คน ซึ่งต้องดูแลนักเรียนประมาณ 125,568,597 คน และมีโรงเรียนมัธยมศึกษามากถึง 382482 โรงเรียน และครูประมาณ 2507,357 คน ซึ่งนักเรียน 11,295,041 คน แต่ตัวเลขดังกล่าวชี้ให้เราเห็น ความเหลื่อมล้ำของชนชั้นในการได้รับโอกาสศึกษาต่อระดับสูง และที่โหดร้ายกว่านั้น จากเยาวชนประมาณ 600 ล้านคน มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนเพียง  136 ล้านคน ส่วนที่เหลือก็คือ แรงงานเด็กในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศอินเดียไม่ว่าจะเป็น ร้านชงชา ร้านหมาก ร้านซ่อมรองเท้า ร้านขายอุปกรณ์ต่าง ๆ ร้านกระเป๋า ร้านหาบเร่ ร้านซ่อม ขอทานข้างถนน กรรมกร ร้านอาหารและร้านเครื่องเพชร

http://www.penguin.com.au/jpg-large/9780241958759.jpg

๒.เมืองกำลังพัฒนา

          ฟาริด ซาการียา “เมื่อเดินทางกลับมาอินเดีย “คนอเมริกาสิ้นหวัง ไม่มีงานทำ เพราะค่าแรงงานสูง ซึ่ง วันละ ๑๔ ดอลลาร์ ในการจ้างงาน ส่งผลให้ บริษัททั้งหมด ถอนฐานการลงทุนไปอยู่ต่างประเทศ เช่น ผลิตรถในเม็กซิโก ๗ ดอลลาร์/วัน หรือ ไอโฟน ผลิตในจีน ต้นทุน ๑๕๐ ดอลลาร์ นำไปตีแบรนด์เอเปิ้ล ที่แคลิฟอร์เนีย เพิ่มเป็น ๕๐๐ ดอลลาร์ เมื่อเอจคนอินเดียในสายตาของพวกเขามีแต่รอยยิ้มแห่งความหวังและความศรัทธาต่ออนาคตและวันรุ่งขึ้น”

         บริษัทรีไลอันซ์ อินดัสทรี เพิ่มกำไรสองเท่าในปี ๒๐๐๔-๒๐๐๖ และอีกสองเท่า ๒๐๐๖-๒๐๑๐    จีดีพี ของประเทศได้มาจากส่วนภาคบริการ ๕๐เปอร์เซ็น  ภาคอุตสาหกรรม ๒๕ เปอร์เซ็น และ ภาคเกษตรกรรม ๒๕ เปอร์เซ็น   อุตสาหกรรมบัตรเครดิส เติบโตขึ้นปีละ ๓๕ เปอร์เซ็น   อัตราการบริโภคสูงถึง ๖๗ เปอร์เซ็น เป็นอันดับ ๒ ของโลก ต่ำกว่า อเมริกาประมาณ  ๗๐ เปอร์เซ็น  ธุรกิจในอาณาจักรงานวิวาห์ทำยอดปี๒๐๑๔ ประมาณ ๑,๕๐๐,๐๐๐ ล้านรูปี เพราะตั้งแต่หัว จรดเท้า รวมถึงการ์ด ชุด งานเลี้ยง  ธุรกิจรถยนต์เพิ่มจาก ๖,๐๐๐ ดอลลาร์ ปี ๒๐๐๓ เป็น ๑๕,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ ปี ๒๐๐๗

           บริษัทผลิตรถยนต์ ใน ๗ รัฐหลัก ๆ ยอดเงินลงทุนประมาณ ๑๕,๖๐๐ ล้านดอลลาร์  ยอดขายรถในประเทศอินเดีย ๑๕,๕๐๐,๐๐๐ คัน แต่ในไทยเพิ่มเพียง ๘๐๐,๓๕๗ คัน ปี ๒๐๑๒  และในปี ๒๐๑๒ ไทยผลิตรถได้ ๒.๔ ล้านคัน อินเดียกว่า ๔ ล้านคัน (เป็นอันดับ ๖ ของโลกในตลาดค้ารถและไทยอันดับ ๙)  อัตราการเพิ่มของรถ ปีละ ๑๗ เปอร์เซ็น และอุบัติเหตุทางรถยนต์ในอินเดียส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๒๐ คน / ประชากร ๑๐,๐๐๐ คน

วันทนา ชิวะ (Vandana Shiva) ได้กล่าวใน ผืนดินไม่ใช่น้ำมัน (Soil not oil) บอกว่า

              “รัฐบาลทุ่มเงินไปกับการสร้างถนนหนทางในประเทศกว่า ๑๔๐๐๐ ล้านดอลลาร์ เพื่อตลาดรถยนต์รองรับคนมีรายได้สูงเพียง ๒๑๖ ล้านคน จากประชากร ๑,๒๑๐ ล้านคน ซึ่งกลายเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ในอินเดีย ๗ คน ใน จำนวน ๑,๐๐๐ คน ต่างจากการเข้าถึงในอเมริกา ๔๕๐/๑,๐๐๐ และยุโรป ๕๐๐/๑,๐๐๐”

 

๓ เมืองที่เจริญแล้ว

              ฟาริด ซาการียา บอกเราอีกว่า “แม้อินเดียเคยเป็นประเทศที่ถูกละเลย ประชากรยากจนไม่ต่างจากไนจีเรีย ประมาณ 3 แห่งด้วยกัน ซึ่งประชากรมีรายได้ไม่ถึง 1 ดอลลาร์ / วัน กว่า 300 ล้านคน หรือ อินเดียเป็นบ้านของคนจนประมาณ 40 เปอร์เซ็นของโลก ประชากรติดเชื้อ HIV เป็นอันดับ 2 ของโลก รายได้ประชากรไม่ถึง 2 ดอลลาร์ / วัน ประมาณ 800 ล้านคน และนักการเมือง 1 ใน 5 คน มีคดีอาชญากร เจ้าพ่อค้ายาเสพติด ยักยอกเงิน ข่มขื่น ฆาตกร”

               แต่อินเดียก็ได้พยายามปรับโถมหน้าเหล่านี้จนกลายจิกซอร์ชิ้นสำคัญของโลก ด้วยการมีโรงกลั่นน้ำมันชั้นนำของโลก อุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างบอลลีวูดซึ่งขายตั๋วได้กว่า 500 ล้านคน ธุรกิจอาณาจักรงานวิวาห์ทำยอดปี2014 ประมาณ 1,500,000 ล้านรูปี เพชรที่มีการเจียระไน บนโลกประมาณ 10 เม็ด ซึ่ง 8เม็ด มาจากเมืองคุชราช ของอินเดีย หรือประมาณ 60 เปอร์เซ็นของเพชรที่มีการซื้อขายอยู่บนโลก

               บริษัทในวงการธุรกิจยา Cipla ที่มีรายได้สูงอันดับ 3 ในอุตสาหกรรมยาของอินเดีย ได้จับมือกับ Desano Group จากจีน ทำให้ ตลาดยาของอินเดียและจีน ครองการผลิตยาประมาณ 80 เปอร์เซ็นของโลก  

               ในเมืองบังกาลอร์ มี บริษัทซอร์ฟแวร์อย่าง อินโฟซีส (Infosyse Solfware) ก่อตั้งเมื่อ ๓๒ ปี ที่แล้ว ทำกำไรเพิ่มขึ้นตลอดจาก ๑๕ เป็น ๒๐ เป็น ๒๕ เปอร์เซ็น ตามลำดับ รายได้ปีละ ๗,๔๐๐ ล้านดอลลาร์ พนักงานทั่วโลกประมาณ ๑๕๕,๐๐๐ คน

               เมืองไฮเดอราบาด มีการเรียนการสอน MBA ใน Indian Business School (ISB) เป็นอันดับ 2 ของอินเดียและเป็นอันดับที่ 20 ของโลก

               ไม่เว้นแม้กระทั่งรัฐคุชราช ซึ่งเป็นรัฐที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะวงการอุตสาหกรรม  จนกระทั่งนิตยสารฟอร์บ ได้สรุปในปี ๒๕๕๓ ว่า “เมืองอะเมดาบาด รัฐคุชราช กลายเป็นเมืองเศรษฐกิจโตเร็วอันดับ ๓ ของโลก”

              นิคมอุตสาหกรรมกว่า ๒๐๐ แห่ง / สนามบินภายในรัฐประมาณ 12 แห่ง / เขตเศรษฐกิจพิเศษ ๖๐ แห่ง / คนรวยทุก ๒๕ คนของอินเดีย มาจากคุชราชประมาณ ๑๐ คน  / มีท่อเชื่อมต่อก๊าซธรรมชาติภายในรัฐกว่า ๒,๒๐๐ กิโลเมตร / ไฟฟ้าเข้าถึง ๑๘,๐๖๕ หมู่บ้าน  / เขตปกครองในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษดาเฮจ (Dahej) เป็น 1 ใน 25 ที่เศรษฐกิจที่มีดที่สุดในโลก จากการสำรวจของ FDI; Foreign Direct Investment

               บริษัท Tata มีพนักงานทั่วโลก ๑๖ สัญชาติ ประมาณ ๕,๑๐๐ คน มีประมาณ ๑๔ โรงงาน ผลิตตั้งแต่เหล็กกล้า ซอร์ฟแวร์ รายได้เพิ่มจาก ๑๗,๘๐๐ ล้านดอลลาร์ เป็น ๒๒,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ ในปี ๒๐๐๖  ในเครือบริษัท Tata Nano มีการผลิตรถประหยัดน้ำมัน ซึ่ง ๑ ลิตร วิ่งได้ระยะทางประมาณ ๒๕.๒ กิโลเมตร ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มทุกอย่างประมาณ ๒๕๔,๐๐๐ รูปี  โรงงานเดิมเคยอยู่ที่ Singar ในรัฐเบงกอล บนพื้นที่ ๔.๓ กิโลเมตร แต่โดนต่อต้านจากชาวบ้านในรัฐเนื่องจากทำให้สุขภาวะและสิ่งแวดล้อมเสียหาย Ratan Tata ตัดสินใจย้ายบริษัทจากพื้นที่และขนย้าย รื้อถอนอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ทุกอย่างในระยะเวลา ๑๔ เดือน  

              บริษัทผลิต Tata Nano วางรกรากที่คุชราช มีพื้นที่โรงงานประมาณ ๒,๗๙๐ ไร่ ผลิตรถได้วันละ ๑,๒๐๐ คัน / วัน ประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ คัน / ปี  ซึ่งอินเดียมีนักศึกษาจบวิศวกรรมศาสตร์ ปีละ 35,000 คน ในขณะ จีน 50,000 คนและอเมริกา 8,000 คน

               เพชรที่มีการเจียระไน บนโลกประมาณ ๑๐ เม็ด มาจากเมืองคุชราช ๘ เม็ด ประมาณ ๖๐ เปอร์เซ็นของเพชรที่มีการซื้อขายอยู่บนโลก จะอยู่ที่ Opera House ที่เมืองมุมไบ ซื้อขายบนถนนที่แออัดไปด้วยผู้คนและห่อกระดาษทิชชู นั่งขายริมทางเท้า ซึ่งกลุ่มพ่อค้าเพชรหลัก ๆ จะเป็นศาสนาเชนและกลุ่มพ่อค้าชาวคุชราช ในเมืองคุชราชมีสถาบันที่ศึกษาเกี่ยวกับเพชร ชื่อ Indian Diamond Institute ซึ่งค่าเล่าเรียนไม่แพงเมื่อเทียบกับที่ประเทศอื่นและนักศึกษาได้รับการฝึกอบรมเป็นอย่างดีผ่านเพชรเม็ดงามที่วางขายในอินเดีย   บริษัทเจียระไนเพชร ชื่อ ศรีราม-กฤษณะ เอ๊กพอร์ท มีคนงานกว่า ๓,๐๐๐ คน มีความไว้วางใจสูง ไม่มีการตรวจสอบใด ๆ ทั้งสิ้นก่อน เดินออกจากที่ทำงานในแต่ละวัน

            สำหรับวงการชา อินเดียก็อยู่ในลำดับต้น ๆ ของโลก ซึ่งชาที่ได้รับการกล่าวขานอย่างหนาหู นั่นคือ ชาอัซซัม ซึ่งมีอัตตราการผลิตมากเป็น 1 ใน 6 อันดับที่มีขายกันอยู่ทั่วโลก

http://www.supriya.im/wp-content/uploads/2011/01/india.jpg

มหาเศรษฐีโลกอินเดีย

นิตยสารฟอร์บ รายงานเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๐๑๔ ว่า    “มหาเศรษฐี 1,000 ล้านดอลลาร์ มีประมาณ 100 คน รวมเงินทั้งสิ้น 346,000 ล้านดอลลาร์ มีผู้หญิง ๔ คน ต่างจากปี 2013 ประมาณ 259,000 ล้านดอลลาร์”

ปี ๒๐๑๑ – ๒๐๑๒ มหาเศรษฐีมีทรัพย์สินสูงกว่า ๔.๕ ล้านดอลลาร์ประมาณ ๘๑,๐๐๐ คน และอีก ๔ ปี ข้างหน้า เพิ่มเป็น ๒๘๖,๐๐๐ คน  

อันดับที่ ๑ มูเกช อัมบานี เจ้าพ่อรีไลอันซ์ อินดัสทรี ค้าน้ำมัน ก๊าซ  ๒๓,๖๐๐ ล้าน อายุ ๕๗ ปี

อันดับ ๒ ดิลลิป ชานกวี เจ้าพ่อวงการธุรกิจผลิตยา  ๑๘๐๐๐ ล้านดอลลาร์ อายุ ๕๙ ปี เจ้าของบริษัท Sun Pharmaceutical industrial ซึ่งคุมตลาดยารักษาโรคของอินเดีย ทำกำไรในตลาดอินเดีย มากถึง ๒๗,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ จบจากมหาวิทยาลัยกัลกัตตา ปริญญาตรีด้านศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์

อันดับ ๓ อาซิม เปรมจิ ๑๖,๔๐๐ ล้านดอลลาร์ อายุ ๖๙ ปี

อันดับ ๔ ปัลลูนจิ มิสทรี ประมาณ ๑๕,๙๐๐ ล้านดอลลาร์ อายุ ๘๕ ปี  ธุรกิจก่อสร้าง บริษัท Shapoorji Pallonji Group ทำกำไรในปี ๒๐๑๔ ประมาณ ๓,๔๐๐ ล้านดอลลาร์ เกิดที่เมืองมุมไบ ซึ่งปัจจุบันอยู่ประเทศไอร์แลนด์

อันดับ ๕ ลักษมี มิตตาล ประมาณ ๑๕,๘๐๐ ล้านดอลลาร์ อายุ ๖๔ ปี เป็นเจ้าพ่อค้าเหล็กลงทุนในประเทสบราซิล

 

มหาเศรษฐีในประเทศไทย

อันดับ ๑ ครอบครอบจิระธิวัฒน์ ประมาณ ๑๒,๗๐๐ ล้านดอลลาร์  ธุรกิจเจ้าพ่อค้าปลีก 

อันดับ ๒ เจ้าสัวธานินทร์ จิรวนนทน์ ประมาณ ๑๑,๕๐๐ ล้านดอลลาร์ เจ้าสัวซีพี

อันดับ ๓ เจริญ ศิริวัฒนภักดี ประมาณ ๑๑,๓๐๐ ล้านดอลลาร์  เจ้าของธุรกิจเอเชียทิก

อันดับ ๔ เฉลิม อยู่วิทยา ๙,๙๐๐ ล้านดอลลาร์ 

อันดับ ๕ กฤษ์ วัฒนรักษ์ ๕,๑๐๐ ล้านดอลลาร์

 ๕ อันดับ แรกของไทย ประมาณ ๕๐,๕๐๐ ล้านดอลลาร์  ขณะที่ ๕ อันดับแรกของอินเดีย ประมาณ ๘๙,๗๐๐ ล้านดอลลาร์   (แค่ ๓ อันดับแรกของอินเดีย ประมาณ ๕๘,๐๐๐ ล้านดอลลาร์)  และประมาณ ๒๖ คน เศรษฐี ๑,๐๐๐ ล้านในประเทศไทย

หมายเหตุ   ประเทศจีนและยุโรป มีปัญหาเรื่องแรงงานในอนาคตเพราะเกิดจากการควบคุมอัตราการเกิดผ่าน “นโยบายลูกหนึ่งคน” แต่อินเดียมีอีก ๖๐๐ ล้านคนที่คอยเข้าสู่ตลาดแรงงาน

  “เมื่อท่านทั้งหลายได้สอยเท้าในย่านมหานครประวัติศาสตร์ ท่านจะพบมิตรสหายที่มาจากซากปรักหักพังของอาณานิคม แนวคิดที่เติบโตมาท่ามกลางการถูกเอาเปรียบ ระบบการศึกษาแบบเข้มข้นเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิต ท่านจะเจอกับโลกแห่งความเหลื่อมล้ำ ใบหน้าต่างรอยยิ้ม สีผิวดำเข้ม โสโครกและขาวเนียน มันปะปนกันท่ามกลางโลกแห่งความหลากรายล้อมรอบตัวของท่าน

เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายจงภูมิใจและดีใจเถิด พวกท่านคือ ผู้โชคดีและเป็นบุคคลที่ถูกเลือก พวกท่านได้เข้ามาเรียนรู้ความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวโยงกับวิถีชีวิตของพวกเขา เพราะสิ่งที่มีทั้งหมดในตัวของพวกเขา มักเป็นสิ่งที่พวกท่านทั้งหมดไม่มี เพราะในตาของพวกเขามีแต่ความหวัง และความฝันยามค่ำคืนที่แทรกร่างลงบนพื้นดินอันหนาวเหน็บเพื่อมองดูเช้าวันใหม่ และหวังว่า สักวันหนึ่งโอกาสของตัวเองจะมาถึง

- ชีวิตมักดำรงอยู่ได้ท่ามกลางโลกแห่งความจริงอันเจ็บปวดด้วยความหวังและศรัทธา-  

อ่านเพิ่มเติม

Encyclopedia Britannica, The Ency­clopedia Britannica guide to India , Philadelphia; Running Press Book Publisher, 2009.

Fareed Zakaria, The Post American World, New York: W. W. Norton, 2008.

ประพันธ์ สามพายวรกิจ, มองอินเดียใหม่, กรุงเทพฯ; สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี กระทรวงการต่างประเทศ, 2556.

Vandana Shiva, Soil not Oil, New Delhi; Woman unlimited, 2008.

สมาคมนักเรียนไทยในประเทศอินเดีย (สาขาอาลิการ์), อิสลามกับประวัติศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลง, วารสาร The Effort, vol.16 , Aligarh; Thai Student Association (Aligarh Muslim University), 2557.

อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม, เปิดโลกอินเดียสู่สังคมไทยฯ, วารสารแนะแนวศึกษาต่อมหาวิทยาลัยมุสลิมอาลิการ์ ประเทศอินเดีย, อาลิการ์: สมาคมนักเรียนไทยในประเทศอินเดีย (สาขาอาลิการ์), 2557


[1] ปรับปรุงจาก เอกสารประกอบการสัมมนาของศูนย์อินเดียศึกษาครั้งที่ ๓ วันศุกร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗  ณ บ้านใหญ่ สมาคมนักเรียนไทยในอินเดีย (อาลิการ์) ประเทศอินเดีย  โดย อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม นักศึกษามหาวิทยาลัยอาลิการ์มุสลิม ประเทศอินเดีย