Skip to main content

 

ดร.มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง 

คณะรัฐศาสตร์ ม. รามคำแหง

 

 

มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ เช่น oxford ล้วนเติบโตมาจาก โรงเรียนสอนศาสนา (religious seminary) เมื่อมีการปฎิรูปทางความคิดในยุโรป วิธีการเรียนการสอนศาสนา ก็มีการเปลี่ยนแปลงจากอธิบายปรากฎการณ์ด้วยศาสนาหรือพระเจ้า (theology - textual) เป็นการใช้ระเบียบวิธีที่ หลากหลายขึ้น ทั้ง empirical, historical, etc.

 

การศึกษาในโลกตะวันตกจึงมีความก้าวหน้า สร้างสรรค์ และเป็นที่มาของ "ความรู้คืออำนาจ" เช่น เมื่อนักศึกษาถาม Victor Weisskopf นักฟิสิกส์ผู้โด่งดังจากMIT ว่าเนื้อหาวิชาที่เขาจะทำการสอนครอบคลุม (cover) ถึงไหน เขาตอบว่า มันไม่สำคัญหรอก ที่สำคัญกว่าคือคุณค้นพบ (discover) อะไร นักวิทยาศาสตร์ คนสำคัญๆ เช่น นิวตัน ปาสคาล ฯลฯ ล้วนเป็นชาวคริสต์ที่เคร่งครัด

 

พัฒนาการการศึกษาของโลกมุสลิมผกผันกับพัฒนาการการศึกษาของตะวันตก ระบบการศึกษาของมุสลิม ปลูกฝังให้นักเรียนปฎิบัติตามคำสั่งอย่าเคร่งครัด ต้องยอมรับความคิดของอุลามาอ์รุ่นก่อน ต้องยอมรับต่อระบบความเชื่อ (doctrine) ที่ถูกประกอบสร้างขึ้น เน้นการท่องจำ ไม่ต้องตั้งคำถามมาก ปรากฎการณ์ถูก อธิบายด้วย texts เพียงอย่างเดียว

 

การศึกษาแบบ ปอเนาะ (pondok) คอนเกาะฮ (khalkah) ซาวียะ (Sawiyyah) ซึ่งมีรูปแบบการเรียนการสอนลักษณะดังกล่าวข้างต้นถูกตั้งคำถามอย่างหนัก และถูกชี้ว่าเป็นผู้รับผิดชอบต่อความตกต่ำของโลกมุสลิม

 

ในโอกาสที่ปอเนาะญีฮาด ได้รับ "สถานะใหม่" ผมขอแสดงความยินดีอย่างยิ่ง และหวังว่าสถานะใหม่นี้จะทำให้ ญีฮาด "เป็นมากกว่าปอเนาะ" ในความหมายที่กล่าวมา

 

รูป: ห้องสมุดของมัสยิดกลาง ณ ซองต์ กองต์ แนร์ กรุงบรัซเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

 

เตรียมอ่านฉบับสมบูรณ์ได้เร็วๆ นี้