Skip to main content

 

 

เอกสารประกอบการแถลงนโยบาย

ยุทธ์ศาสตร์สภาประชาสังคมชายแดนใต้ (พ.ศ.  2559 – พ.ศ. 2561)

 

1.      ภูมิหลัง

สภาประชาสังคมชายแดนใต้  เกิดขึ้นตามมติของที่ประชุมนักพัฒนาอาวุโสและนักกิจกรรมเพื่อสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องการให้จัดตั้งองค์กรสภาประชาสังคมชายแดนใต้  เพื่อเป็นองค์กรประสานงานกลางของเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม  ที่ดำเนินกิจกรรมพัฒนาสังคมอย่างถาวรขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 20  สิงหาคม 2554

 

2.      วัตถุประสงค์

1.       เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรภาคประชาชน/ภาคประชาสังคม

2.       เพื่อร่วมกำหนดทิศทางการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน

3.       เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสาน  และสนับสนุนระหว่างองค์กรที่ทำงานเพื่อสังคม

4.       เพื่อสร้างพื้นที่กลางแก่ทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสันติภาพ  

 

3.      การวิเคราะห์จุด จุดอ่อน จุดแข็ง

เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในส่วนของแกนนำสมาชิกสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ที่ผ่านมาได้มีการ

วิเคราะห์ ถึงจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค (ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก) ในการทำงานของสภาประชาสังคมที่ผ่านมาและการวางทิศทางต่อไปในอนาคต ซึ่งจะมีการกำหนดยุทธศาสตร์ของสภาฯ ชุดใหม่ ในปี 2559 นี้  จุดแข็งของสภาฯ ในการทำงานที่ผ่านมาคือ เป็นพื้นที่ที่สมาชิกและเครือข่ายสามารถที่จะหยิบยกประเด็นมาพูดคุยได้ทุกเรื่อง  มีความหลากหลายของสมาชิกสูง ทำให้บทบาทของสภาฯ ได้รับการยอมรับที่เป็นทางการ สามารถที่จะทำงานเชื่อมต่อภาคประชาสังคมได้จริง  อีกทั้งที่ผ่านสภาฯ มีความโดดเด่นในการขับเคลื่อนประเด็นกระบวนการสันติภาพและกระจายอำนาจ ส่วน จุดอ่อนของสภาฯ คือ การกำหนดยุทธศาสตร์ที่ผ่านมากว้างเกินไป ไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ทุกเรื่อง มีสมาชิกยังน้อยและยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังขาดคนรุ่นใหม่เข้าร่วมทำงานในฐานะสมาชิกสภาฯ และทำงานยังเป็นลักษณะตั้งรับขาดการสื่อสารต่อสังคมภายนอกทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ นอกจากนี้ยังมี อุปสรรคบางอย่างที่อาจต้องคำนึงในการกำหนดยุทธศาสตร์หรือทิศทางการทำงานในอนาคต คือ ภายใต้ห้วงเวลาของการอยู่ภายใต้รัฐบาลทหาร อาจทำให้เป็นอุปสรรคในการทำงาน เนื่องจากช่องทางกฎหมายบางอย่างที่จำกัดการทำงาน และการที่องค์กรภาคประชาสังคมบางส่วนนั้นได้รับการจัดตั้งโดยฝ่ายรัฐอาจทำให้ความเป็นอิสระในการทำงานของภาคประชาสังคมหายไป

 

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางอุปสรรคก็ยังมีโอกาสที่เมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับจุดแข็งก็จะเห็น โอกาสใน

การทำงานของภาคประชาสังคมมากขึ้นคือ การที่มีองค์กรภายในและภายนอกหนุนเสริมประเด็นสันติภาพมากขึ้น อีกทั้งโอกาสที่เกิดจากนโยบาย สภาความมั่นคงแห่งชาติ สมช.ปี 2555 – 2557 ว่าด้วยเรื่อง การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้   และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 230/2557  ว่าด้วย “การจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จังหวัดชายแดนใต้”  ที่เอื้อให้เกิดการพูดคุยสันติภาพ  การมีช่องทางสื่อสาร โดยเฉพาะ social media และบรรยากาศของการเปิดประชาคมอาเซียน ก็เป็นโอกาสที่สภาฯจะได้ทำงานเชื่อมต่อทั้งในด้านการดำเนินโครงการและองค์ความรู้จากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น   ซึ่งจากการวิเคราะห์ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกสามารถที่จะกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของสภาฯได้ดังนี้

 

4.      วิสัยทัศน์ : สังคมที่เป็นธรรมและมีสันติภาพที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน

5.      พันธกิจ : หนุนเสริมการสร้างสันติภาพและกระบวนการสันติภาพอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

6.      เป้าหมาย : เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน  เพื่อให้เกิดข้อตกลงสันติภาพที่มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชน

7.      ยุทธศาสตร์  3  ประการ ประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์ที่ การสร้างพื้นที่กลางและผลักดันเชิงนโยบาย ( Common Space and Advocacy)      

สร้าง/ขยายพื้นที่กลางให้กับภาคประชาชนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน กระบวนการสันติภาพเพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอและผลักดันเชิงนโยบายด้วยความรู้แก่ทุกฝ่าย

ยุทธศาสตร์ที่  2  การเสริมพลัง  (Empowerment) เสริมพลัง สร้างความเข้มแข็งและอำนาจ

          การต่อรองให้กับภาคประชาสังคม และภาคประชาชนในทุกมิติ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การขยายเครือข่าย (Networking) ขยายองค์กรสมาชิก/สมาชิกของสภาประชาสังคม ชายแดนใต้รวมทั้งขยายเครือข่ายองค์กรภายในประเทศและต่างประเทศ

 

8.      ประเด็นการขับเคลื่อน ปี 2559 - 2561

1.      การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านกระบวนการสร้างสันติภาพในชุมชน

2.      การพัฒนาศักยภาพและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพในชุมชน

3.      การเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ อาทิ ภาคราชการ ภาควิชาการ  ภาคท้องถิ่นในการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพใน

4.      ขยายสมาชิกและจัดทำฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพและงานพัฒนาอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นปัจจุบัน

 

9.      ข้อเสนอประเด็นการขับเคลื่อน จากองค์กรภาคีเครือข่าย

1.       สนับสนุนและเปิดพื้นที่กลางในการสร้างดุลอำนาจและการต่อรองต่อคู่ขัดแย้งในการทำงานเพื่อลดความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่

2.       ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาและกระบวนการสร้างสันติภาพให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในพื้นที่ 

3.       พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ กับภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

4.       สร้างช่องทางการสื่อสาร ในระดับพื้นที่  นอกพื้นที่และระดับสากล

5.       ศึกษาวิจัยและรับฟังความเห็นประชาชนทุกหมู่เหล่า  เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการไปสู่การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วม และบริหารจัดการตนเองได้จริง

6.       ส่งเสริมอัตลักษณ์ ศาสนา และวัฒนธรรมของประชาชนทุกเชื้อชาติ ทุกชุมชน

7.       สนับสนุนการเข้าถึงระบบยุติธรรมของประชาชน เพื่อประชาชนทุกหมู่เหล่าได้รับความเป็นธรรมจากระบบและกระบวนการยุติธรรมเสมอหน้ากัน

8.       ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการเจรจาระหว่างรัฐกับขบวนการก่อความมาสงบ เพื่อยุติความรุนแรง

9.       สนับสนุนการแก้ปัญหาเร่งด่วนของสังคมโดยเฉพาะปัญหายาเสพติด ปัญหาสิ่งแวดล้อมปัญหาอาชญากรรมและปัญหาความยากจน  เป็นต้น

10.   สนับสนุนการฟื้นฟู พัฒนา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

11.   ส่งเสริมการยุติความรุนแรงด้วยสันติวิธี

12.   จัดทำฐานข้อมูลองค์กรและเครือข่ายที่ดำเนินงานพัฒนาและกระบวนการสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

13.   เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกรณีอื่นๆ

14.   การพัฒนาศักยภาพเยาวชน สตรีและเครือข่ายชาวพุทธ

 

10. คณะกรรมการบริหารสภาประชาสังคมชายแดนใต้

1. นายมูฮำมัดอายุบ                ปาทาน                              ประธาน

2. นายนายอัศว์มันต์                บินยูโซ๊ะ                            รองประธาน

3. นายรักชาติ                       สุวรรณ์                              รองประธาน

4. นางโซรยา                        จามจุรี                               รองประธาน

5. นายมันโซร์                       สาและ                              รองประธาน

6. นายรอซีดี                         เลิศอริยะพงษ์กุล                  เลขาธิการ

7. นายฆอซาลี                       อาแว                               ผู้ช่วยเลขาธิการ

8. นางสาวพวงเพ็ญ                 มณีสว่างวงศ์                       เหรัญญิก

9. นางสาวซัมซีย๊ะ                   อีแต                                เจ้าหน้าที่ธุรการ

10. นางสาวสุรัตน์                   เทียมเทศน์                         การเงิน/บัญชี

11. นายอับดุลการีม                อัสมะแอ                            วิชาการ

12. นายอับดุลสุโก                  ดินอะ                               วิชาการ

13. นายแวรอมลี                    แวบูละ                              วิชาการ

14. นายอิมรอน                     ซาเหาะ                              วิชาการ                   

15. นางสาวลม้าย                   มานะการ                            พัฒนาเครือข่าย

16. ผศ.นุกูล                         รัตนดากุล                           ระดมทุน

 

11. องค์กรสมาชิกสภาประชาสังคมชายแดนใต้

(1)    สมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้

(2)    มูลนิธิฮิลาลอะห์มัร

(3)    ศูนย์ฟ้าใสเครือข่ายเยาวชนจังหวัดยะลา

(4)    เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติชายแดนใต้/สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี

(5)    มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้

(6)    มูลนิธิบ้านเด็กกำพร้าปัญญาเลิศ

(7)    กองทุนเกื้อหนุนครอบครัวที่ทำงานเพื่อสังคมชายแดนใต้

(8)    ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคด้านฮาลาล

(9)    สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

(10) ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด “บ้านชีวิตใหม่”

(11) ศูนย์อัลกุรอานและภาษา โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ

(12) เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้

(13) ศูนย์ประสานงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี

(14) เครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้

(15) เครือข่ายชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา

(16) ศูนย์ประชาสังคมจังหวัดยะลา

(17) เครือข่ายวิทยุชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้        

(18) สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย

(19) สมาคมเสริมสร้างสิทธิชุมชน

(20) กลุ่มเซากูน่า

(21) ศูนย์สันติวิธีชายแดนใต้ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

(22)เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพชายแดนใต้

(23) ศูนย์ประสานเครือข่ายองค์กรประชาสังคมนราธิวาส

(24) เครือข่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

(25) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW)

(26) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

 

12. คณะกรรมการที่ปรึกษา (อยู่ระหว่างการทาบทาม)