Skip to main content

ทัศนคติของรัฐบาลไทยที่หวาดระแวงนักศึกษามุสลิมต่างประเทศมีอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนนั้น  สร้างความอึดอัดต่อกลุ่มเหล่านี้  อิมรอน ซาเหาะ และอิสมะรูปายดะห์ ดอเลาะห์ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ม.อ.ปัตตานี ได้สัมภาษณ์เพื่อรวบรวมแนวคิดบรรดาเหล่านักศึกษาจากต่างประเทศทั่วโลก ทั้งจากทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปยุโรป กองบรรณาธิการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ได้รวบรวมบทสัมภาษณ์ดังกล่าวจำนวน 4 ตอน ให้ได้มาอ่านกันอีกครั้ง  ซึ่งพวกเขาได้สะท้อนมุมมอง ความคิดต่อประเด็นดังกล่าวอย่างน่าสนใจ และมีความหวังต่อกระบวนการสันติภาพอย่างยิ่ง

 

เสียงนักศึกษามุสลิมต่างแดน (1) นักศึกษาคือหนึ่งในกลไกสร้างสันติภาพที่รัฐไม่ควรระแวง

(นานาทัศนะนักศึกษามุสลิมไทยในต่างแดน สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และอินเดีย ชี้รัฐควรให้กำลังใจนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่และคิดที่จะนำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศในอนาคต และรัฐไม่ควรสงสัยหรือตัดกำลังใจด้วยการเฝ้าระวังนักศึกษามุสลิมที่อยู่ต่างประเทศ ที่สำคัญนักศึกษาควรถูกพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในกลไกของการสร้างสันติภาพ)

 

เสียงนักศึกษามุสลิมต่างแดน (2) นักศึกษาคือจิ๊กซอว์และพลังสร้างสรรค์ในกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้

(นานาทัศนะนักศึกษามุสลิมไทยในต่างแดนตอนที่ 2 มุมมองจากตุรกี กาตาร์ จอร์แดน และซาอุดีอาระเบีย ชี้การเรียนต่างประเทศสามารถเปิดประสบการณ์ในการใช้ชีวิต รัฐไม่ควรตั้งต้นด้วยความหวาดระแวงนักศึกษาในต่างแดน เพราะนักศึกษาอาจเป็นส่วนหนึ่งของจิ๊กซอว์ในการหนุนเสริมสันติภาพเชิงบวกในพื้นที่ชายแดนใต้ได้ ที่สำคัญควรจัดสัมมนาเกี่ยวกับปัญหาชายแดนใต้ในประเทศต่างๆ และรัฐควร เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา จริงๆ อีกทั้งรัฐไม่ควรมีอคติต่อเยาวชนศาสนาใดศาสนาหนึ่ง)

 

เสียงนักศึกษามุสลิมต่างแดน (3) ทุกคนมุ่งแสวงหาความรู้หวังจะกลับไปพัฒนาหมู่บ้านและประเทศชาติ

(นานาทัศนะนักศึกษามุสลิมไทยในต่างแดนตอนที่ 3 มุมมองนักศึกษามุสลิมไทยในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และอียิปต์ แนะรัฐควรสนับสนุนนักศึกษาเพื่อให้พวกเขากลับมาพัฒนาประเทศเพราะทุกคนหวังจะกลับไปพัฒนาหมู่บ้านขอตนเอง ชี้ระบบการเรียนการสอนในต่างประเทศต่างจากในประเทศไทยแต่เป้าหมายไม่ต่างกัน ข่าวเชิงลบต่อนักศึกษาเป็นการลดความน่าเชื่อถือของนักศึกษาปัญญาชนสร้างความขัดแย้งที่อาจทำให้การแก้ปัญหาไม่สามารถเดินหน้าไปได้ ย้ำนักศึกษาไม่ได้คิดเรื่องแบ่งแยกดินแดน)

 

เสียงนักศึกษามุสลิมต่างแดน (4) พวกเขาคือขุมกำลังสามารถนำสู่สันติภาพยั่งยืน

(นานาทัศนะนักศึกษามุสลิมไทยในต่างแดนตอนที่ 4 จากเยอรมนี จีน และซูดาน เพราะชายแดนใต้ยังขาดแคลนผู้เชียวชาญเทคโนโลยี จึงต้องออกไปแสวงหาความรู้และเป็นสิ่งที่ศาสนาอิสลามส่งเสริม การศึกษาในต่างประเทศมีความเข้มข้นและทันสมัย พวกเขาเป็นดั่งทูตที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศ แต่ความหวาดระแวงจะเป็นดั่งกำแพงขวางกั้นไม่ให้เดินไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืน รัฐจึงต้องก้าวข้ามไปให้ได้)