Skip to main content

ารทำงานในการปกป้องคุ้มครองเด็กได้มีการดำเนินการอย่างจริงจังมากขึ้นเมื่อทางกลุ่มด้วยใจได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟแห่งประเทศไทยผ่านโครงการ Children voices for peace ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรในพื้นที่และส่วนกลางในการทำงานเพื่อการปกป้องคุ้มครองเด็กในจังหวัดชายแดนใต้ ต่อมา ทางมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กร Save the children จึงได้เป็นผู้ประสานหลักในการทำงานเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กต่อไป

จากการปรึกษาหารือพบว่าประเด็นเด็กที่น่าห่วงกังวลใจนอกเหนือจากการที่เด็กเสียชีวิตและบาดเจ็บแล้ว คือ  การขาดการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน ขาดการมีส่วนร่วมของเด็กที่ผู้ใหญ่ที่ไม่ให้ความสำคัญ  ไม่ยอมรับในศักยภาพเด็ก  เรื่องสื่อ  เด็กติดสื่อ ใช้เด็กเป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์  เรื่องส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว  เรื่องปัญหาในกระบวนการยุติธรรม  

ทั้งนี้จากนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ ตามมาตร ๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.๒๕๕๓ วัตถุประสงค์ข้อ ที่ ๒)   สนับสนุนการเปิดพื้นที่ปลอดภัยในทุกระดับอย่างเป็นรูปธรรม ให้ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มทั้งในและนอกพื้นที่ ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีบนพื้นฐานของความไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในระดับที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายและการปฏิบัติอย่างแท้จริง  ข้อที่ ๓) ส่งเสริม สนับสนุน และเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของสตรี เด็ก และเยาวชนใน ทุกระดับให้มีความเข้มแข็ง ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ทุกมิติอย่างต่อเนื่อง โดยพัฒนาการใช้ศักยภาพ ในเชิงสันติและสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนการดำเนินงานเสริมสร้างสันติสุขในครอบครัว ชุมชน และสังคม บนพื้นฐาน ของหลักสิทธิเสรีภาพระหว่างหญิงและชาย ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยคำนึงถึง ความเหมาะสมของบริบทพื้นที่  

ข้อที่ ๔) เสริมสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจระหว่างประชาชนกับประชาชนทั้งในพื้นที่และ สังคมไทย ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ พร้อมผนึกกำลังแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเปิดพื้นที่การสื่อสาร เพื่อสร้าง ความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับสถานการณ์ความเป็นจริงในพื้นที่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติบน ความแตกต่างหลากหลาย โดยเฉพาะระหว่างเด็ก และเยาวชนต่างศาสนา

ข้อส่วนใหญ่  เน้นพื้นที่ปลอดภัยโดยไม่ได้ระบุในนโยบายโดยตรงที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองเด็ก  การที่เราเป็นองค์กรเด็กที่มีการพูดถึงเรื่อง พื้นที่ปลอดภัย  เราสามารถนำประเด็นนี้เป็นประเด็นในขับเคลื่อนเพื่อการปกป้องคุ้มครองเด็ก  และสร้างกลไกอย่างไรที่จะสร้างดำเนินการให้มีการยอมรับจากทุกฝ่าย

ซึ่งความความท้าทายในพื้นที่ที่อาจจะกระทบกับเด็กคือ

1.     เด็กจะกลายเป็นเป้าหมายหลัก  เพราะว่าเป็นกลไกในการทำลายเด็กโดยตรง

2.     ความไม่เป็นกลางของข้อเสนอ  เป็นเครื่องมือของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

3.     เด็กที่ถูกละเมิด  โดยรัฐ การซักถาม การตรวจดีเอ็นเอ  การควบคุมตัว  ประเด็นความมั่นคง เรื่องสิทธิ เรื่องของความปลอดภัย   ไม่ได้รับเข้าถึงของความปลอดภัย

4.     ช่องทางการสื่อสารกับกลุ่มติดอาวุธ

5.     ความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ กับและความมั่นคงของเด็ก มีนิยามแตกต่างกัน

6.     รูปแบบพื้นที่ปลอดภัยโดย NGO  รัฐ ทั่วไป มีจุดอ่อน และจุดแข็งอย่างไร ความเสี่ยงที่เด็กได้รับผลกระทบ

7.     การมีส่วนร่วม จากทุกฝ่าย 

8.     การสร้างทัศนคติที่เป็นลบต่อพื้นที่ความปลอดภัยต่อเด็ก

9.     การส่งเสริมการใช้ความรุนแรงในเด็ก ในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน 

10.  การประเมินความปลอดภัยการทำงานกับเด็กในทุกมิติ  มีการประเมินการทำงาน  เราต้องไปคุยกับหลาย ฝ่าย ว่าในมุมเด็กเป็นอย่างไร  องค์กรที่ทำงานด้านเด็ก  มีศักยภาพอย่างไร  ให้เด็กมีความปลอดภัย

11.  การนำเสนอเรื่องเด็กเป็นเครื่องมือต่อรองโดยรัฐ และ บีอาร์เอ็น

12.  เด็กถูกใช้เป็นวาทกรรมในการสื่อสาร

13.  การบังคับใช้กฎหมายพิเศษภาคใต้

โอกาส

-       การสื่อสารในเรื่องมิติความปลอดภัยด้านภัยพิบัติ มิติความปลอดภัยในเรื่องของความรุนแรงในครอบครัว  ยาเสพติด

-       การใช้กลไดที่มีอยู่ในการชี้วัดหรือ ตรวจสอบ ผลการดำเนินกิจกรรม  เช่น กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ   หลักสิทธิมนุษยชน   สิทธิเด็ก CRC ,UN 1325 ,หลักการศาสนา พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546  พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓

โดยที่ผ่านมามีรูปแบบที่สามารถศึกษาจากการทำงานหลายกลุ่ม เช่น

1.     พื้นที่สาธารณะปลอดภัย โดย  วาระผู้หญิงชายแดนใต้(POAW)  ซึ่งต้องมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายเช่น ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม   หน่วยงานราชการ และกลุ่มเคลื่อนไหว 

2.     พื้นที่ประชารัฐ  ที่รัฐได้ทำในระดับอำเภอ

3.    พื้นที่ปลอดภัยสันติ เป็นการแสดงพื้นที่ปลอดภัยในเรื่องของการมีส่วนร่วม   การจัดเวทีกลไกการแสดงออก ห้วงเวลา เช่น รอมฎอนสันติ วัด

ทั้งนี้ได้มีมติว่า  อายุเด็กที่เราให้นิยามคือ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งบรรลุนิติภาวะ ทั้งทางร่างกายกาย จิตใจ และได้รับการรับรอง คุ้มครองจากกลไกต่างๆ

เป้าหมายร่วมขององค์กรเครือข่ายในการขับเคลื่อนคือ

เด็กต้องปลอดภัย

Save Childen first 

Selamatkan Kanak  Kanak

โดยมองว่าการปกป้องคุ้มครองเด็กในมิติต่างๆดังนี้

 

มิติเด็ก

เด็กต้องได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมและการมีส่วนร่วมในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อการใช้ความรุนแรง การเสพสื่ออย่างสร้างสรรค์  การไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด  การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และความเข้าใจหลักศาสนาทุกศาสนา

 

มิติครอบครัว

พ่อ –แม่ ผู้ปกครองต้องไม่ทำร้ายเด็กและปกป้องคุ้มครองเด็กจากการถูกและดูแลส่งเสริมพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี

มิติความมั่งคง

การปฏิบัติการใด ๆ ของทุกฝ่ายต้องไม่ส่งผลต่อความปลอดภัยของเด็กและต้องคุ้มครองเด็กตามมาตรฐานกฎหมายคุ้มครองภายในประเทศและกติการะหว่างประเทศแม้ในสถานการณ์ที่มีการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ

 

มิติชุมชน

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างความปลอดภัยให้เด็ก

ซึ่งการทำงานจะเป็นการสร้างความตระหนักกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็ก การปกป้องเด็กต้องมองสภาพแวดล้อมในการปกป้องคุ้มครอง นั้น  การสร้างจิตสำนึกใหม่ให้สังคมตระหนักการคุ้มครองปกป้องเด็ก  โดยใช้กลไกดังภาพข้างล่าง

กลไกกระบวนการทำงาน  กระบวนการขับเคลื่อนงาน

 

ทั้งนี้ได้มีการกำหนดคณะทำงานในภารกิจเครือข่ายการปกป้องคุ้มครองเด็กในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้  (Safety Net )  

1.องค์กรที่ทำหน้าที่ประสานงานเครือข่าย

2. องค์กรที่ทำหน้าที่กองเลขา

3.องค์กรอื่นทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ

นอกจากนี้ยังได้มีการพูดคุยกิจกรรม  วันสิทธิมนุษยชนสากล   โดยชูประเด็น สิทธิเด็ก  ภายใต้ชื่องาน     A Beautiful Children Right Day   ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กจำนวน   1000 คน โดยมีกิจกรรมต่างๆมากมายอาทิเช่น  กิจกรรมบนเวที  แจกของรางวัล ตอบคำถามสิทธิเด็ก การแสดงความสามารถของเด็ก การสาธิตการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และยังมีกิจกรรมภาคสนามดังนี้ บูทให้ความรู้สิทธิเด็ก   บูทอาหาร  บูทกิจกรรมกระบวนการ และ กิจกรรม เด็กเขียนโปสการ์ด  สิ่งที่เด็กอยากแสดงออก