Skip to main content

 นูรยา เก็บบุญเกิด โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้(DSJ) 

ศาตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธาน กรรมการสิมธิมนุษยชนแห่งชาติ(คนที่ 4 จากซ้าย)แถลงข่าวเปิดตัวพนักงานเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่โรงแรม ซีเอส ปัตตานี เมื่อวันที่ 30 พฤษาภาคม 2554

                    เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 พฤษภาคม 255 ที่ห้องจะบังติกอ โรงแรมซีเอส จังหวัดปัตตานี คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธ์ศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเปิดตัวสายด่วนรับเรื่องร้องเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หมายเลข 1377 ก่อนการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นผู้แถลง
                    ศาสตราจารย์อมรา แถลงว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เปิดหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1377 กด 3 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งแต่ วันที่ 19 เมษายน 2554 เนื่องจากที่ผ่านมาสายด่วน 1377 กด 3 ยังไม่เป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่มากนัก และยังมีผู้เข้ามาใช้บริการน้อยมาก
                    ศาสตราจารย์อมรา แถลงอีกว่า เมื่อมีการร้องเรียนผ่านสายด่วน 1377 กด 3 แล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงจะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    นอกจากนี้ศาสตราจารย์อมรา ได้แจกแผ่นพับ แนะนำคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธ์ศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 
                    แผ่นพับดังกล่าวระบุว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ให้ความสำคัญกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ในแผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่จะต้องดำเนินการในช่วงปี 2554 – 2559 โดยมีจุดเน้นหลัก 1 พื้นที่ และ 5 ประเด็น คือ 1.พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม 3.สิทธิชุมชนและการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม 4.สิทธิมนุษยชนในกลุ่มผู้ขาดโอกาส ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม 5.สิทธิมนุษยชนกับบทบาทภาคธุรกิจ 6.สิทธิมนุษยชนกับการใช้หลักขันติธรรมในการจัดการความแตกต่างทางความคิดเพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรง
                    แผ่นพับดังกล่าวยังระบุอีกว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยภาคประชาสังคม และนักวิชาการ ทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิม เพื่อเข้ามาช่วยดำเนินการในเชิงนโยบาย จำนวน 13 คน
                    นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยังได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส เพื่อเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ด้วย จังหวัดละ 6 คน
                    สำหรับรายชื่อ คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย
1. ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์
2. นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
3. นางสาวคอลีเยาะ หะหลี
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชิดชนก ราฮิมมูลา
5. นายดือราแม ดาราแม
6. นายประสิทธ์ เมฆสุวรรณ
7. นายประยูรเดช คณานุรักษ์
8. นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
9. นายสงวน อินทร์รักษ์
10. นายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์
11. นางอังคณา นีละไพจิตร
12. นางจิราพร บุนนาค
13. นายชูชัย ศุภวงศ์ 
                    คณะอนุกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่หลายอย่าง เช่น ไกล่เกลี่ยเพื่อให้คู่กรณีทำความตกลงในการประนีประนอมหรือระงับข้อพิพาท และแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน พร้อมจัดทำข้อตกลง
ส่วนพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 6 คน ประกอบด้วย
จังหวัดปัตตานี คือ
1.นายประยูรเดช คณานุรักษ์
2. นายปรัชญา คณานุรักษ์
3. นายอังคาร กาญจนเพชร
4. นางปาริดา คำแพง
5. นายสุไลมาน เจ๊ะและ
6. นายนพปฏล วิเศษสุวรรณภูมิ

จังหวัดยะลา
1. นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ
2. นายหวังหะมะ บือนา
3. นางอังคณา แสงทอง
4. นายเล็ก สุขุมารพันธ์
5. นางวันเพ็ญ แซ่แต้
6. นางสมบูรณ์ สุวรรณราช

จังหวัดนราธิวาส
1. นายสงวน อินทร์รักษ์
2. นายณัฏฐ์พัชร์ ศรีสังข์
3. นายประพนธ์ บุญคง
4. นายเชาลี เล๊าะยีตา
5. นางสาวปาตีละห์ อีซอ
6. นายเอกภพ บัวทวน
                            พนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่กลุ่มนี้ มีอำนาจหน้าที่ คือ
           1. รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่มีการกระทำหรือการละเลยการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส 
            2.ช่วยเหลือในการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่มีผู้ร้องเรียนหรือปรากฏเหตุการณ์ขึ้น เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ