Skip to main content

 มูฮำหมัด ดือราแม ประชาไท

 โมเดล – รูปแบบและโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้รัฐธรรมนูญ “ปัตตานีมหานคร” ของเครือข่ายขับเคลื่อนการกระจายอำนาจเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ

               พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง เปิดเผยว่า ในวันที่ 4 มิถุนายน 2554 ในเวทีสาธารณะ “ไฟใต้ดับได้ด้วยการกระจายอำนาจจริงหรือ?” ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะมีการเชิญตัวแทนพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งมาอภิปรายเกี่ยวกับนโยบายในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของแต่ละพรรค และความเห็นในเรื่องการแก้ปัญหาด้วยการกระจายอำนาจ
               “ขณะนี้มี 5 ตัวแทนพรรคการเมืองที่ตอบรับจะมาร่วมเวทีครั้งนี้ คือ นายพีรยศ ราฮิมมูลา ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ระบบบัญชีรายชื่อ(ปาร์ตี้ลิสต์)ลำดับที่ 41 พรรคประชาธิปัตย์ นายมูฮำหมัดอารีฟีน จะปะกียา ผู้สมัคร ส.ส.ปัตตานี เขต 2 พรรคมาตุภูมิ นายบูราฮานุดิง อุเซ็ง ผู้สมัคร ส.ส.ยะลา เขต 3 พรรคเพื่อไทย นายมุคตาร์ กีละ ผู้สมัคร ส.ส.นราธิวาส เขต 3 พรรคประชาธรรม และนายแพทย์แวมาฮาดี แวดาโอะ ผู้สมัครระบบปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 1 พรรคแทนคุณแผ่นดิน” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว
               พล.ต.ต.จำรูญ เปิดเผยว่า การจัดเวทีสาธารณะครั้งนี้ เป็นการถือโอการในช่วงที่จะมีการเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 เพื่อจะรับฟังว่า แต่ละพรรคการเมืองมีแนวคิดในเรื่องการกระจายอำนาจอย่างไร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการเมืองการปกครองในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้หลักการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
               นอกจากนี้ยังจะมีการเปิดประเด็นเรื่อง “ปัตตานีมหานคร” ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนเรื่องการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยการกระจายอำนาจ ตามที่คณะทำงานภาคประชาสังคม ของสภาพพัฒนาการเมืองได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาตั้งแต่ ปี 2552 รวม 49 เวที จนค้นพบความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่ 8 ประการ และมีการสังเคราะห์ออกมาจนได้รูปแบบโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นรูบแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาแล้ว
               พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวด้วยว่า การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องแก้ด้วยการปฏิรูปการเมืองการปกครอง โดยให้ประชาชนมีอำนาจในการปกครองมากขึ้น จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ เพราะประชาชนย่อมเข้าใจปัญหาของประชาชนดี แต่โครงสร้างอำนาจที่มีอยู่ คือการรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลาง เช่น การแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดนายกรัฐมนตรีเป็นคนแต่งตั้ง ซึ่งไม่ใช่คนในพื้นที่
               “ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสรรหาผู้นำของตนเอง เป็นการกระจายโครงสร้างทางอำนาจให้กับประชาชน เช่น คนปัตตานี ก็เลือกคนปัตตานีมาเป็นผู้นำ ส่วนจะขึ้นมาปกครองบ้านเมืองอย่างไรนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อาจเป็นเลือกตั้งหรือสรรหาคนมาให้เลือกตั้งก็ได้”
               พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่สองคือ ต้องกระจายงบประมาณ เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีรายได้ไม่เท่ากัน แล้วแต่ทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น จังหวัดภูเก็ตเก็บภาษีได้ปีละเป็นแสนล้าน แต่ภูเก็ตได้รับการจัดสรรงบประมาณมาพัฒนาจังหวัดเพียง 2 -3 หมื่นล้านบาทต่อปี หรือจังหวัดปัตตานีที่มีแหล่งก๊าซธรรมชาติอยู่นอกชายฝั่ง คือ แหล่งพัฒนาร่วมไทย – มาเลเซีย หรือ เจดีเอ แต่ถูกนำส่งท่อไปขึ้นฝั่งที่จังหวัดสงขลา ประโยชน์ก็ได้กับคนสงขลา แต่ปัตตานีไม่ได้อะไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรม
                “หรือแม้แต่เรื่องการจัดสรรงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้ 35% ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 ผ่านมา 10 กว่าปีแล้ว รัฐบาลก็ยังทำไม่ได้ กระทวงต่างก็ยังหวงงบประมาณอยู่ อยากบริหารงบประมาณเอง นั่นคือการแย่งชิงงบประมาณนั่นเอง” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว
                พล.ต.ต.จำรูญ เปิดเผยด้วยว่า เรื่องนี้คณะทำงานในเครือข่ายของสภาพัฒนาการเมืองใช้เวลาเป็นปีในการอธิบายเรื่องนี้ให้ชาวบ้านฟัง เพราะชาวบ้านไม่เคยรู้เรื่องอย่างนี้ ซึ่งก็คือการจัดเวทีทั้ง 49 เวทีดังกล่าว เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจ
                “เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เราต้องปฏิรูปประเทศไทย คือ ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ และกระจายงบประมาณ ซึ่งก็ตรงกับที่คณะทำงานปฏิรูปประเทศไทยค้นพบ แต่เราก็ค้นพบมาก่อน” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว
พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวด้วยว่า ตนไม่อยากวิจารณ์ความคิดและนโยบายของพรรคการเมือง เพราะไม่ได้ผ่านความเห็นของประชาชน เพียงแต่คิดเองว่า นโยบายน่าจะเป็นอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้ หรือเอาความคิดของนักวิชาการมา ไม่ว่าพรรคมาตุภูมิหรือพรรคเพื่อไทย
                 “เมื่อฟังนักวิชาการ ก็ต้องว่าตามที่นักวิชาการพูด เขาไม่เคยจัดเวทีเหมือนที่เราทำเกือบ 50 เวทีๆละ 30 คน ตอนนี้เรามีทั้งร่างกฎหมาย มีทั้งงานวิจัยรองรับเยอะแยะ เพราะฉะนั้นต้องติดตามดูว่า พรรคการเมืองจะทำอย่างไรและ จะทำเพื่อประชาชนหรือไม่” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว
                พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวถึงนโยบายในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรคต่างๆ ด้วยว่า นโยบายนครปัตตานีของพรรคเพื่อไทย ก็ยังไม่เห็นรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร ในขณะที่เจ้าของต้นคิดเรื่องนี้ คือ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ก็ลาออกจากพรรคเพื่อไปแล้ว ส่วนกลุ่มวาดะห์ก็แตกกลุ่มไปแล้ว เหลือนายซูการ์โน มะทา กับนายบูราฮานุดิง อุเซ็ง ที่ยังอยู่ ทั้งสองคนจะทำอะไรได้
                “ส่วนพรรคมาตุภูมิบอกว่า จะตั้งทบวงบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะอยากจะได้รัฐมนตรีใช่ไหม เพราะทบวงก็ยังอยู่ที่กรุงเทพ การแก้ปัญหาก็เป็นเพียงแค่ย้ายจากกระทรวงมหาดไทยไปที่อยู่ทบวงเท่านั้นเอง เพราะทบวงนี้ไม่ได้อยู่ที่นราธิวาส เป็นเพียงการเพิ่มรัฐมนตรีขึ้นมาอีกคน เพิ่มพนักงาน เพิ่มงบประมาณ เพิ่มโน่น เพิ่มนี่ ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากกระทรวงมหาดไทยเดิม แล้วชาวบ้านจะได้ประโยชน์อะไร” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว
                 พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวอีกว่า ส่วนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะสานต่อนโยบายเดิมหลังจากได้ออกพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 หรือ พ.ร.บ.ศอ.บต. ถามว่าจะสานต่ออะไร ในเมื่อศอ.บต.มีแต่ชื่อ ส่วนเลขาธิการศอ.บต.ก็ยังเป็นคนเดิม โดยเปลี่ยนจากผู้อำนวยการมาเป็น เลขานุการเท่านั้น แต่ยังไม่เห็นว่าทำอะไรบ้างแล้ว ส่วนสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น
                 พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวต่อไปว่า ส่วนที่มีการตั้งสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็กลายเป็นว่า การได้มาของสมาชิกสภาที่ปรึกษาก็ไม่โปร่งใสมากนัก เพราะคนที่ได้มา เป็นคนของราชการ
                “ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล สถานการณ์คงยังเหมือนเดิม แต่ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล อาจเกิดความเปลี่ยนแปลงบ้าง ดังนั้น ความคาดหวังต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ ถ้าพรรคเพื่อไทยทำจริงตามที่หาเสียง ก็คงจะมีโอกาสเกิดความเปลี่ยนแปลงได้ แต่งานของพรรคประชาธิปัตย์ทำ ไม่ใช่การกระจายอำนาจ แต่เป็นการปรับโครงสร้างอำนาจของราชการเอง มีการเพิ่มอำนาจมากขึ้นเท่านั้นเอง” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว
                “เพราะคนไม่เข้าใจปัญหา จึงไม่เข้าใจบริบทของการแก้ปัญหา จึงยังแก้ปัญหาแบบเดิม ซึ่งการปรับโครงสร้างของศอ.บต.ก็คือยังเป็นการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว
                พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวดีกว่า ตอนนี้ยังไม่มีพรรคการเมืองไหนที่จริงจังกับเรื่องการกระจายอำนาจ แต่คณะทำงานในเครือข่ายก็ต้องสร้างกระแส สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชน เพื่อให้เกิดกระแสต้องการความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองการปกครองในพื้นที่
               “การที่พล.อ.ชวลิต เสนอในเรื่องนครปัตตานี ก็คงจะเป็นผลมาจากการสร้างกระแสของเรา เพราะที่ผ่านมามีการจัดเวทีใหญ่เพื่อนำขับเคลื่อนเรื่องการกระจายอำนาจมาแล้วถึง 2 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว
                พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวเสริมว่า เวทีในวันที่ 4 มิถุนายน 2554 นี้ ก็เพื่อจะฟังความคิดของนักการเมือง แต่ถ้าเขาไม่มีความคิดในเรื่องนี้ ก็แล้วแต่เขา แต่ภาคประชาชนก็ต้องขับเคลื่อนต่อไป เพราะประชาชนจะมีทางเลือกมากขึ้น
              “ต่อไปเมื่อพรรคการเมืองเห็นด้วยทั้งหมด ร่างกฎหมายของเราที่เข้าสภาก็จะผ่านความเห็นชอบ เราไม่ได้หวังสมัยนี้สมัยเดียว ถ้ามีการเลือกตั้งอีก เราก็จะทำเวทีอย่างนี้อีก จนกว่าจะได้ เพราะเป็นความต้องการของประชาชน” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว

 

8 ความคาดหวังจากผลศึกษาปกครองชายแดนใต้

             ผลการศึกษา การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ค้นพบ 8 ความคาดหวังจากเวทีสาธารณะตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ถึงเดือนมกราคม 2554 รวม 49 เวที มีผู้เข้าร่วม 1,427 คน องค์กรภาคีเครือข่าย ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์พบว่า ประชาชนมีความคาดหวังที่จะมีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้มี 8 ประการ ดังนี้
            1. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
            2. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องเป็นการปกครองที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมทางการเมืองในลักษณะที่ทุกฝ่ายเกิดความรู้สึกว่าตนเองมีที่ยืนและเป็นส่วนหนึ่งในสังคมไทย (Inclusiveness) รับฟังเสียงส่วนใหญ่โดยไม่ละเลยเสียงส่วนน้อย คำนึงถึงอัตลักษณ์ที่แตกต่าง รวมทั้งมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพที่เป็นรูปธรรมแก่คนไทยพุทธซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในพื้นที่
            3. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีผู้บริหารที่มีอำนาจสูงสุดทางการปกครองเป็นคนในพื้นที่ และมีจานวนข้าราชการไทยพุทธและไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในสัดส่วนที่สอดคล้องกับจำนวนประชากร ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผู้บริหารและข้าราชการที่มีสานึกรักท้องถิ่น และมีความรู้ความเข้าใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความต้องการของคนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
             4. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีกลไกที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการริเริ่ม เสนอแนะ และตัดสินใจในเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกิจการของท้องถิ่น รวมทั้งกากับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะผู้บริหารท้องถิ่นได้ในระดับที่ทาให้ประชาชนรู้สึกว่าตนเองได้มีอำนาจในการจัดการชีวิตของตัวเองดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 281 ของรัฐธรรมนูญที่เน้น “หลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น”
             5. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีระบบการกลั่นกรองผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้บริหารหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่สามารถลดการแข่งขันแตกแยกในชุมชนและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในระดับหนึ่งว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งจานวนหนึ่งเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและความรู้ความสามารถ เหมาะสมกับการเป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง
             6. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องใช้สองภาษา คือ ภาษาไทยและภาษามลายูปัตตานีควบคู่กันไปบนสถานที่และป้ายต่างๆ ของทางราชการ
             7. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีระบบการศึกษาที่อยู่ในมาตรฐานกลางของกระทรวงศึกษาธิการ และในขณะเดียวกันต้องสอดคล้องกับความต้องการและอัตลักษณ์ท้องถิ่นด้วย โดยใช้หลักสูตรการศึกษาที่บูรณาการระหว่างสายสามัญและสายศาสนา รวมทั้งมีการเรียนการสอนวิชาภาษามลายูในโรงเรียนของรัฐ ในลักษณะที่ผู้ปกครองจากทุกกลุ่มวัฒนธรรมต่างมีความสบายใจและมั่นใจที่จะส่งบุตรหลานของตนเข้ามาศึกษาเล่าเรียน
             8. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีการบังคับใช้ระบบกฎหมายอิสลามกับคนมุสลิมในพื้นที่ทั้งในแง่ของบทบัญญัติ การวินิจฉัยตัดสิน และการมีสภาพบังคับ โดยเน้นไปที่กฎหมายว่าด้วยครอบครัวและมรดกซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตโดยตรงมากที่สุด

                           กำหนดการ เวทีสาธารณะ “ไฟใต้ดับได้ด้วยการกระจายอำนาจจริงหรือ?”

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2554 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
องค์กรร่วมจัด: เครือข่ายขับเคลื่อนการกระจายอำนาจเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะกรรมการภาคประชาสังคม สภาพัฒนาการเมืององค์กรร่วมสนับสนุนด้านวิชาการ: ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ – สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี – สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
                    

 

 

 

Calibri;mso-ascii-theme-font:minor-latin;mso-hansi-font-family:Calibri;
mso-hansi-theme-font:minor-latin;mso-bidi-font-family:"Cordia New";
mso-bidi-theme-font:minor-bidi">เวลา

 

Calibri;mso-ascii-theme-font:minor-latin;mso-hansi-font-family:Calibri;
mso-hansi-theme-font:minor-latin;mso-bidi-font-family:"Cordia New";
mso-bidi-theme-font:minor-bidi">รายการ

 

09.00 – 09.30 น.

 

ลงทะเบียน

 

09.30 – 09.45 น.

 

เปิดเวทีสาธารณะ โดย ผศ.ไกรสร ศรีไตรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

 

09.45 – 10.30 น.

 

ศ.ดร.สุจิต บุญบงการ ประธานสภาพัฒนาการเมือง ปาฐกถานำเรื่อง"การกระจายอำนาจ กับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้"

 

10.30 – 11.30 น.

 

เปิดประเด็น “ปัตตานีมหานคร – เชียงใหม่มหานคร: ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษสู่การดูแลตัวเอง”    โดย นายมันโซร์ สาและ – เครือข่ายขับเคลื่อนการกระจายอำนาจเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนฯนายสวิง ตันอุด – เครือข่ายประชาสังคมเพื่อการจัดการตัวเอง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง

 

 

11.30 – 12.30 น.

 

แลกเปลี่ยนความเห็นและซักถามจากผู้เข้าร่วมเวที  ดำเนินรายการโดย พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง

 

 

12.30 – 13.30 น.

 

พักรับประทานอาหารกลางวันและละหมาด

 

13.30 – 15.30 น.

 

อภิปราย “ฟังเสียงฝ่ายการเมือง: ไฟใต้ดับได้ด้วยการกระจายอำนาจจริงหรือ?”  โดย ตัวแทนพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้   ดำเนินรายการโดย อ.จิรพันธ์ เดมะ – คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

 

15.30 – 16.15 น.

 

แลกเปลี่ยนความเห็นและซักถาม ดำเนินรายการโดย อ.จิรพันธ์ เดมะ – คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

 

16.15 – 16.30 น.  

 

สรุปและปิดเวทีสาธารณะ โดย พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า