EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">นูรยา เก็บบุญเกิด โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ( "Times New Roman";mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;
mso-bidi-language:TH">DSJ) ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเขียนข่าวเบื้องต้นและรายงานข่าวสุขภาพ อินเตอร์นิวส์
EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">นายสะแม หะยีอุมา ผู้พิการจากเหตุระเบิดมัสยิดในชุมชนยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
รายงานข่าวจากโรงพยาบาลจังหวัดปัตตานีแจ้งว่า ปัจจุบันจังหวัดปัตตานีมีนักกายภาพบำบัดเพียง 3 คน หากวิเคราะห์ตามภาระงานในปัจจุบันแล้ว ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่อีก 3 คน เพื่อจะได้ให้บริการแก่ผู้พิการได้มากขึ้นตามไปด้วย สำหรับการทำงานของกลุ่มงานเวชกรรมพื้นฟู เป็นเพียงการดูแลผู้พิการเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้เยียวยาในระยะยาว ถึงแม้จะมีบุคลากรเพียงพอ ถ้าไม่มีอุปกรณ์ในการบำบัด ผู้พิการก็ต้องเดินทางเข้าไปใช้บริการในโรงพยาบาลจังหวัดปัตตานีอยู่ดี
นายเซาฟาร์ บูสามัญ ช่างกายอุปกรณ์ชำนาญงาน โรงพยาบาลปัตตานี กล่าวว่า ตนทำงานด้านนี้มา 20 ปี ที่ผ่านมาไม่เคยลงพื้นที่เลย ตั้งแต่เกิดความไม่สงบ เมื่อปี 2547 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยที่ตนให้การบำบัด 3 ราย จากเหตุระเบิดที่มัสยิดในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 1 ราย และจากเหตุระเบิดที่สวนยาง ในอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี 2 ราย
รายงานข่าวจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) แจ้งว่า ระหว่างปี 2547–2554 มีผู้พิการจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับการเยียวยาจากภาครัฐทั้งสิ้น 315 คน
นายสะแม หะยีอุมา ผู้พิการจากเหตุการณ์ความไม่สงบ เปิดเผยว่า ตนได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดที่มัสยิดแห่งหนึ่งในชุมชนยาบี อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ขณะที่ตนกำลังละหมาดในช่วงหัวค่ำ แรงระเบิดส่งผลให้มีเลือดคั่งในท้อง จึงต้องผ่าเอาเลือดคั่งออก และขาทั้งสองข้างต้องถูกตัด
นายสะแม เปิดเผยอีกว่า หลังจากที่ตนกลายเป็นคนพิการจากเหตุการณ์ความไม่สงบแล้ว รัฐให้เงินเยียวยาในเบื้องต้นจำนวน 200,000 บาท ให้ขาเทียมทั้ง 2 ข้าง จักรยานสำหรับคนพิการ และช่วยเหลือค่าเล่าเรียนของบุตรทั้ง 3 คนกระทั่งจบปริญญาตรี นอกจากนี้หน่วยงานอื่นยังให้เงินอีกประมาณ 100,000 บาท และในช่วงแรกมีหลายหน่วยงานนำกระเช้าของขวัญมาเยี่ยม แต่ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาเยียวยาอีกเลย
ก่อนหน้านี้ตนมีอาชีพรับจ้างกรีดยาง แต่หลังจากพิการแล้ว ไม่สามารถออกไปกรีดยางได้เหมือนปกติ เพียงอยู่ในบ้าน ตนต้องเดินทางไปรับการบำบัดที่โรงพยาบาลปัตตานี เนื่องจากไม่มีนักกายภาพเข้ามาให้บริการในพื้นที่ แต่นักกายภาพสอนการยกตัวเพื่อนั่งจักรยานและสอนวิธีการใส่ขาเทียม
นายสะแม กล่าวเพิ่มเติมว่า ตอนแรกไม่รู้จะจัดการชีวิตอย่างไร และเมื่อออกนอกบ้านไปพบปะเพื่อน รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนแปลกสำหรับคนอื่น แต่นั่นก็เป็นเพียงความรู้สึกที่คิดไปเองเท่านั้น ซึ่งในตอนนี้ก็รู้สึกเหมือนคนปกติแล้ว สำหรับค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายในบ้านทั้งหมด บุตรที่ทำงานแล้วเป็นผู้รับผิดชอบ
นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การแก้ปัญหาคนพิการที่ได้รับผลกระทบนั้น อาจเพิ่มนักกายภาพบำบัด โดยส่วนหนึ่งคัดเลือกนักศึกษาจากวิทยาลัยพลศึกษา นำมาอบรมให้ความรู้ด้านกายภาพบำบัด เพื่อเป็นนักกายภาพบำบัดและให้บริการแก่ผู้พิการ และคนพิการเป็นเพียงคนกลุ่มหนึ่งในจำนวนผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดเท่านั้น แต่ผมคิดว่าจากเหตุการณ์เพิ่มขึ้นไม่มาก ยังอยู่ในวิสัยที่ดูแลได้
นายภาณุ เปิดเผยว่า สำหรับหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูลผู้พิการจากเหตุความไม่สงบคือ ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.) แต่ข้อมูลของศวชต. ไม่ได้แยกประเภทของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ว่า อยู่ในกลุ่มใดบ้าง ในการนำเสนอข้อมูลก็ยังขาดข้อเท็จจริง ตัวเลขของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จึงสูงกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้ภาพรวมของสถานการณ์แย่กว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง