Skip to main content

  background:white">นูรยา เก็บบุญเกิด โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้(DSJ)

background:white">

background:white">น้ำยังไม่ท่วม แต่ภาคใต้ก็สะเทือน ราคายางพาราดิ่งเหว พ่อค้าปฏิเสธไม่รับซื้อ อ้างโรงงานน้ำท่วม ไม่ต้องการวัตถุดิบ สภาประชาสังคมชายแดนใต้ เตรียมรับมือภัยพิบัติ ตั้งคณะทำงานเกาะติดกระบวนการยุติธรรม ผลักดันการกระจายอำนาจ

background:white">

ลม้าย มานะการ

เมื่อเวลาประมาณ 10.00–13.23 น. วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2554 ที่ห้องมะปราง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีการประชุมคณะกรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ครั้งที่ 2/2554 มีผู้เข้าประชุมราว 30 คน

นางสาวลม้าย มานะการ กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ แจ้งต่อที่ประชุมว่า จะมีการประชุมคณะกรรมการโครงการ color:black;background:white">Pattani Bay Watch ( color:black;background:white">PB Watch) เพื่อถอดบทเรียนกรณีภัยพิบัติ เมื่อปลายปี 2553 รวมทั้งวางแผนให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในภาคกลาง และภาคอื่นๆ อบรมการใช้วิทยุสื่อสารและการให้ความรู้เรื่องระบบการสื่อสารแก่อาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ผลการประชุมจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ครั้งที่ 3/2554 ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2554

นายสมพร สังข์สมบูรณ์ background:white"> กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ background:white">แจ้งต่อที่ประชุมว่า ในฐานะรักษาการประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (ชสยท.) พบว่าเหตุการณ์น้ำท่วมล่าสุด นอกจากจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมแล้ว ยังส่งผลให้ราคายางพาราลดลงเหลือ 94 บาท จากที่ก่อนหน้านี้ราคาอยู่ที่ 140 บาท นอกจากนี้ยังพบว่า บางโรงงานงดรับซื้อยางพารา อ้างว่าได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม รัฐบาลควรมีมาตรการแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน โดยใช้เงินจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ที่จัดเก็บจากการส่งออกยางพารากิโลกรัมละ 5 บาทต่อกิโลกรัม

นายสมพร กล่าวอีกว่า ล่าสุดตนทราบว่ารัฐบาลมีโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยให้กรมชลประทานเป็นหน่วยงานรับผิดชอบแก้ปัญหาอุทกภัยในจังหวัดปัตตานี แต่เป็นเพียงนโยบายหลีกเลี่ยงน้ำท่วมเฉพาะในเมืองปัตตานีเท่านั้น โดยโครงการดังกล่าวมีงบประมาณ 29 ล้านบาท ดังนั้นจะต้องเชิญตัวแทนจากกรมชลประทานมาชี้แจงในส่วนนี้ด้วย

นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ แจ้งต่อที่ประชุมว่า กรณีเร่งด่วนสำหรับสภาประชาสังคมชายแดนใต้ในขณะนี้คือ ควรมีการแต่งตั้งคณะทำงานประเด็นนโยบายต่างๆ ขึ้นมาทำงาน โดยมี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน กรรมการ และเลขานุการ ขั้นตอนที่ 2 จัดทำเอกสารแจ้งให้ที่ประชุมทราบใน 4 หัวข้อคือ 1.ชื่อประเด็นนโยบาย 2.ชื่อทีมงาน 3.สาระสำคัญประเด็นนโยบายที่รับผิดชอบ ผลการหารือในทีมคณะทำงาน และ 4.ข้อเสนอแนะการดำเนินการที่ได้จากการปรึกษาหารือร่วมกัน ในส่วนสาระสำคัญที่ไม่ได้ข้อยุติ จะต้องนำเข้ามานำเสนอในที่ประชุม เพื่อหารือร่วมกันอีกครั้ง

นางโซรยา จามจุรี กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ จากเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ แจ้งต่อที่ประชุมว่า ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเตรียมการเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ในส่วนนี้จะมีการจัดเวที ในวันที่ 4 มกราคม 2555 มีเร่งด่วนที่จะนำขึ้นมาหารือคือ เรื่องกระบวนการยุติธรรม และการกระจายอำนาจ