Skip to main content

 จริงใจ จริงจิตร

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

 

สังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาความมั่นคงทางพลังงาน รวมถึงผลกระทบเชิงลบจากโครงการพัฒนาแบบรวมศูนย์ และทำแบบแยกส่วนไม่บูรณาการกัน ทำให้ทีมนักวิชาการจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยชีวิตเมืองนครศรีธรรมราช จับมือทำโครงการการจัดการความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ โดยเน้นการแสวงหาทางออกด้านพลังงานใหม่ที่ยั่งยืน และเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน มาตั้งแต่ปี 2552

โครงการนี้มีเป้าหมายส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนในสังคม เข้าใจเรื่องพลังงานไฟฟ้าให้มากขึ้น และร่วมกันกำหนดนโยบายพลังงานที่เหมาะสม เพื่อเสนอแนะโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีหลากหลายทางเลือก และในขนาดที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งการเชื่อมโยงประเด็นพลังงานกับประเด็นความมั่นคงด้านอาหาร และความเข้มแข็งของชุมชนเข้าด้วยกัน

เพื่อทำความรู้จักและทำความเข้าใจโครงการนี้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น “โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้” จึงนัดหมาย “ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา” ในฐานะผู้อำนวยการโครงการฯ มาพูดคุยถึงที่ไปที่มา และความคาดหวังที่จะได้รับจากการทำโครงการนี้ ซึ่งปรากฏรายละเอียด ดังต่อไปนี้

 

………………………………………………………….

 

ทั่วโลกยังไม่มีประเทศไหน ที่สามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้ถึงครึ่ง ไม่มีสักประเทศ พลังงานทางเลือก หรือพลังงานหมุนเวียน มันพอจะทดแทนได้ก็จริง แต่ปริมาณยังไม่ได้มากอย่างที่คิด ทางออกคือต้องลดการใช้และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไปพร้อมๆ กัน ตรงนี้ต้องแก้วิธีคิดของคนทั้งประเทศ

………………………………………………………….

 

 

 

 

                               จิตติ มงคลชัยอรัญญา color:#4F6228;mso-themecolor:accent3;mso-themeshade:128">

 

color:red">ขอทราบความเป็นมาของโครงการการจัดการความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ (ระยะที่ 2) ภายใต้กรอบ “การศึกษาเพื่อการพัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือกและโรงไฟฟ้าชุมชน”

color:red">

 

ในช่วงที่เป็นคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมได้รับการติดต่อจากพรรคพวกหลายคน รวมทั้งจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาที่สอนทางด้านสังคมศาสตร์เรื่องการพัฒนาชุมชน เราจะมาช่วยหาทางออกของปัญหาพลังงานได้อย่างไรบ้าง จากมุมมองที่แตกต่างจากมุมมองทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี เอาเรื่องสังคมเป็นตัวตั้ง

ชักชวนกันแบบนี้ผมก็สนใจ เพราะบทบาทมหาวิทยาลัยต้องทำหน้าที่แบบนี้ด้วย พอตกลงกันได้ ผมกับพรรคพวกก็มาจับมือกับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ผมมองว่าพื้นที่โครงการที่จะทำอยู่ภาคใต้ ไม่ควรจะเอาวิศวกรจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากจะไกลเกินไปแล้ว เราจะควรเปิดพื้นที่ให้กับเจ้าของถิ่น จากนั้นเราก็ไปชักชวนมหาวิทยาลัยชีวิต จังหวัดนครศรีธรรมราชเข้ามาร่วม เขาก็สนใจที่จะมาร่วม ก็กลายเป็น 3 สถาบัน ที่ร่วมไม้ร่วมมือกันทำงานนี้

เราจัดสัมมนาที่จังหวัดสงขลา ตอนปลายปี 2552 กลุ่มเป้าหมายที่เราเชิญ มีทั้งผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่และผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย เราพบว่าพวกอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จากกลุ่มตัวแทนที่เราเชิญมา ไม่ได้มีปัญหาความมั่นคงทางด้านพลังงานมากนัก เพราะเขามีงบประมาณเพียงพอ และเทคโนโลยีก็หาซื้อได้ไม่ยาก มีหลายโรงงานที่ผลิตไฟฟ้าใช้ด้วยตนเองด้วยซ้ำไป ส่วนที่ยังผลิตไฟฟ้าใช้เองไม่ได้ ผมคิดว่าถึงคราวจำเป็นไฟฟ้าขาดแคลนจริงๆ เขาก็ผลิตได้

กลุ่มที่จะเจอปัญหาความมั่นคงทางด้านพลังงานคือ ประชาชน คนเล็กคนน้อยที่อยู่ในเมือง พวกนี้จะลำบากไม่มีทางเลือกอื่น เพราะการผลิตไฟฟ้าใช้เอง จะต้องผลิตให้ได้ปริมาณมาก ต้องลงทุนมาก ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องหาวิธีการ ทำอย่างไรถึงจะสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้าให้กับหลายภาคส่วน

ในส่วนของภาคเมืองพลังงานมั่นคงได้ ถ้าใช้ไฟฟ้าไม่มากเกินไป ทุกคนจึงประหยัดพลังงาน ขณะเดียวกันถ้ามีส่วนไหนผลิตพลังงานเลี้ยงตัวเองได้ ก็จะช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับภาคเมืองในส่วนที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองไม่ได้

เราเลยมองไปที่ชุมชนต้นน้ำ ภาคใต้ฝนตกเยอะ มีภูเขาเยอะ คิดว่าน่าจะเป็นแหล่งหนึ่งที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ได้ มันเชื่อมโยงไปถึงเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติด้วย เพราะจะผลิตไฟฟ้าได้ก็ต้องมีน้ำ ถ้าต้องการให้มีน้ำมากพอที่จะผลิตไฟฟ้า ก็ต้องรักษาป่าให้อุดมสมบูรณ์ เราจึงมองว่าตรงนี้มันจะเชื่อมโยงไปถึงสังคมด้วย ถ้าสังคมไม่ดีชุมชนก็ไม่เข้มแข็ง การดูแลป่าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ก็เป็นไปไม่ได้ กลุ่มเป้าหมายจึงเป็นชุมชนต้นน้ำ

การทำโครงการนี้ เราจะได้สามตัวนี้ไปพร้อมๆ กันคือ ความมั่นคงด้านพลังงาน ชุมชนเข้มแข็ง ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ ตรงนี้กลายเป็นหลักการในการทำงานของเราว่า ทำงานอะไรเราจะไม่มองแบบแยกส่วน ไม่เอาเทคโนโลยีเป็นตัวตั้งอย่างเดียว ไม่เอาเศรษฐกิจเป็นตัวตั้งอย่างเดียว ไม่เอาสิ่งแวดล้อมเป็นตัวตั้งเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเดียว เราจะมองทุกมิติที่หลากหลายไปพร้อมกัน

กลุ่มที่ 2 ที่เราได้พบโดยบังเอิญคือ กลุ่มสหกรณ์ทำยางแผ่นประมาณ 700 แห่ง ที่มีปัญหาเรื่องน้ำเสียมากๆ และหลายแห่งปิดตัวไปแล้ว เพราะถูกร้องเรียนแล้วแก้ปัญหาให้ไม่ได้ มีผู้นำบางคนบอกว่า ตอนนี้ไม่ใช่แค่น้ำสียแล้ว มันมีปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าเอาไม้มาทำฟืน เพราะฟืนเริ่มหายาก และมีราคาแพง

ตอนที่ยางพาราราคาถูก พอครบกำหนดชาวสวนก็ตัดต้นยาง เอาไม้ยางไปขายทำฟืน พอยางแพงก็ยืดอายุต้นยางออกไป ทำให้ไม้ฟืนเริ่มหายาก ราคาก็แพงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็ลำบาก อนาคตมันจะหวนกลับไปปัญหาเดิมการตัดไม้ทำลายป่า เราจึงต้องช่วยกันทำอย่างไรคนถึงจะไม่ตัดไม้ทำลายป่า ทำอย่างไรถึงจะได้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็แก้ปัญหาเรื่องน้ำเสียไปพร้อมๆ กันด้วย

เราเริ่มจับจากสองจุดนี้คือ พลังงานน้ำจากน้ำตกต่างๆ และน้ำเสียจากโรงงานทำยางแผ่นของสหกรณ์ทำยางแผ่น การจับสองจุดนี้เราไม่ได้เอาตัวเทคโนโลยีมาเป็นตัวตั้ง แต่ยึดหลักสามประการคือ เทคโนโลยีและชุมชนต้องพร้อม ต้องมีประโยชน์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรรรมชาติ

การขับเคลื่อนของเรา เริ่มจากจุดเล็กๆ เราไม่ได้สร้างเฉพาะเครือข่ายชาวบ้าน แต่สร้างเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ให้เขาจับไม้จับมือร่วมกัน เพราะถ้าเกิดชุมชนเข้มแข็งฝ่ายเดียว ขณะที่ภาคีอื่นๆ ยังไม่เปลี่ยนแปลงบทบาท ยังไม่มีแนวคิดในการทำงานแบบใหม่ ผลสุดท้ายชาวบ้านก็ถูกโดดเดี่ยวอีก แทนที่จะสบายขึ้นก็จะหนักขึ้นกว่าเดิม เพราะทำอยู่ฝ่ายเดียว โดยฝ่ายรัฐไม่ได้ตอบสนอง

เราใช้หลักการนี้ทำงานมาตลอด เราเริ่มต้นจากการนำชาวบ้านภาคใต้ ไปดูงานที่ภาคเหนือ เรื่องของโรงไฟฟ้าพลังน้ำไปดูที่บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นแบบที่ดี แต่ต้นแบบนี้อายุมาก 20 กว่าปีแล้ว เราหาต้นแบบดีๆ ไม่ค่อยได้ เพราะระยะหลังๆ มันไม่ได้เกิดจากชุมชนเป็นตัวตั้ง ฝ่ายรัฐใจดีมากไป พออนุมัติโรงไฟฟ้าปุ๊บ กระทรวงเจ้าของโครงการเข้าไปจัดการให้หมดเลย เริ่มจากเปิดรับเหมาให้บริษัทเข้าไปทำงาน เอาแบบของตัวเองเป็นตัวตั้ง การทำโรงไฟฟ้าลักษณะนี้ จึงต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ช่วยตลอด จริงๆ มันก็มีประเด็นคำถามท้าทาย มันกระทบสิ่งแวดล้อมตรงิเวณที่ตั้งโรงไฟฟ้าหรือไม่ ถึงแม้จะเกิดผลกระทบ ก็ยังต้องใช้เครื่องจักร

mso-ansi-font-style:italic">ขณะที่ของเรา ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ รวมไปถึงแนวคิดในการก่อสร้าง มันเริ่มจากชุมชนเป็นตัวตั้งทุกขั้นตอน จึงไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมตรงบริเวณที่จะก่อสร้าง เราจะออกแบบหลีกเลี่ยงการทำลายทรัพยากรธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ตัวเทคโนโลยีที่นำมาใช้ อยู่ในวิสัยที่ชาวบ้านจะจัดการได้ด้วยตัวเอง

โรงไฟฟ้าแห่งแรกที่เราทำที่บ้านคลองเรือ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ถ้าให้บริษัทรับเหมาทำ ป่าทั้งป่าเละแน่เลย แต่นี่ใช้แรงงานชาวบ้านทั้งหมด ไม่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่บุกป่าขึ้นไป ทุกคนช่วยกันแบกทราย แบกหิน แบกปูนขึ้นไปทีละนิดๆ ตัวฝายความยาวประมาณ 2 เมตร ความสูงประมาณเมตรเดียว ใช้ดักเส้นทางเดินน้ำนิดหน่อย แล้วก็ปล่อยน้ำไหลลงท่อ ผ่านเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า แล้วไหลลงกลับไปที่น้ำตกอย่างเดิม ไม่ได้แย่งน้ำจากชาวบ้านมาใช้เลย

ตรงนี้เราก็เจอปัญหาเยอะเหมือนกัน ปัญหาที่เจออย่างแรกคือ นักวิชาการของเราจริงๆ ก็เก่ง แต่พอลงไปทำงานก็เริ่มเรียนรู้ว่า มันมีหลายตำรามาก และต่างคนต่างเชื่อมั่นในตำราของตัว ผมคิดว่าท้ายที่สุด คนที่จะตัดสินได้ดีคือชุมชน เทคโนโลยีไม่ว่าจะดีแค่ไหน ถ้าเกินขีดความสามารถชุมชนในการประยุกต์ใช้ชุมชนบริหารจัดการไม่ได้ เทคโนโลยีนี้ก็มีปัญหา ต้องให้นักวิชาการมาดูแลตลอด อันนั้นไม่ใช่โมเดลที่เราต้องการ

เราต้องกลับไปทบทวน ตั้งแต่แบบพิมพ์เขียว ไปจนถึงขั้นตอนการดำเนินงาน กระทั่งสร้างเสร็จจริง ผมพบว่าพอรับฟังชาวบ้าน เราต้องเปลี่ยนแบบไปพอสมควร เพราะบางส่วนของแบบ ชาวบ้านก็เสนอแนะให้ปรับเปลี่ยนใหม่ อย่างระบบวาล์วชาวบ้านก็สงสัยทำไมต้องมีระบบวาล์ว พออธิบายให้เขาเข้าใจว่าทำไมต้องมีวาล์วแบบนี้ เขาก็นึกถึงประสบการณ์ของเขา เอาอะไรไปใช้ได้บ้าง แล้วเขาก็ดัดแปลงซึ่งก็โอเค นักวิชาการไปดู ก็บอกว่าเอาล่ะพอกล้อมแกล้มไปได้ ไม่ดีเท่ากับระบบวาล์วแต่ก็โอเค อายุการใช้งานนานพอสมควรใช้ได้ดี ชาวบ้านบริหารจัดการเองได้ ซ่อมบำรุงได้ ก็เอาแบบนั้นไปเลย ตัวแบบอันนี้จึงถูกปรับเปลี่ยนถูกประยุกต์ไปพอสมควรทีเดียว

 

color:red">รูปแบบการทำงานแบบนี้ สามารถนำไปปรับใช้กับชุมชนทั่วไปได้หรือไม่

color:red">

 

ผมคิดว่าโดยหลักการมันใช้ได้กับชุมชนทั้งหลาย เพราะเอาชุมชนเป็นตัวตั้ง ปัญหาคือชุมชนเข้มแข็งเหมือนกันทุกชุมชนหรือเปล่า เพราะถ้าชุมชนไม่เข้มแข็ง มันใช้การจัดการแบบนี้ไม่ได้ทั้งหมด สำหรับชุมชนบ้านคลองเรือ เป็นชุมชนที่เข้มแข็งมากอยู่แล้ว ถ้าเป็นชุมชนอื่นคงต้องทำอะไรให้ง่ายกว่านี้ ชุมชนอื่นชาวบ้านทุกหลังคาเรือน อาจจะออกมาใช้แรงงานให้กับชุมชนสามวันต่อหนึ่งสัปดาห์ไม่ได้เหมือนที่นี่ แต่รูปแบบบริหารจัดการต้องใช้หลักการชาวบ้านต้องเป็นตัวตั้ง เป็นเจ้าของ และต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

 

color:red">ชาวบ้านเข้มแข็งได้เมื่อเผชิญปัญหา ชุมชนไหนไฟฟ้าเข้าถึง โอกาสจะเข้มแข็งแบบคลองเรือก็น้อยลง ตรงนี้สามารถประยุกต์วิธีคิดวิธีการนำมาใช้กับชุมชนที่มีลักษณะแตกต่างจากชุมชนบ้านคลองเรือได้หรือไม่

color:red">

 

 

เราคิดเหมือนกันว่าโรงไฟฟ้าโรงที่สองที่เราจะขึ้น เป็นพื้นที่ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว โจทย์ที่เราไปคุยกับเขา เป็นการผลิตไฟฟ้าตอบสนองความต้องการของตัวเอง ก็ต้องไปคุยว่าถ้าเขาผลิตไฟฟ้าได้ เขาจะได้ประโยชน์อะไรจากการมีไฟฟ้า นั่นคือการผลิตไฟฟ้าขาย ถ้าเกิดชุมชนเห็นด้วยกันว่า ถ้าเขารักษาป่าตรงนี้ดีๆ จะเป็นแหล่งทรัพยากรที่ใช้กินไปได้ตลอดชีวิต มันก็เป็นหลักประกันว่า ชุมชนนี้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สิ่งที่ตามมาก็จะเป็นรายได้ที่เข้ามาสม่ำเสมอ

เราจะไม่ไปคุยกับเขาแบบ เฮ้ย! จะมีรายได้จากการขายไฟเท่านั้นเท่านี้ มันต้องคุยเรื่องอื่นด้วยว่า ตรงนี้รายได้จากการขายไฟฟ้ามันเกิดขึ้นได้จริง แต่คุณต้องจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ดีๆ ชุมชนต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เงื่อนไขโครงการเราคือ ถ้าชุมชนไม่ลงแรงไม่ลงความคิดกับเราด้วย เราไม่เอา เพราะตอนนี้เราสำรวจไปแล้วหลายพื้นที่ พบว่าบางพื้นที่มีศักยภาพพี่จะผลิตไฟฟ้าได้เอง ไม่ว่าจะศักยภาพเรื่องน้ำ ศักยภาพเรื่องคน ศักยภาพขององค์กรปกครองท้องถิ่น แต่ละชุมชนอาจจะมีความพร้อมไม่เท่ากัน บางแห่งมีความพร้อมทั้งสามด้านเลยคือ ด้านทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ด้านชุมชน ด้านองค์กรปกครองท้องถิ่น อันนี้ก็จะเกิดโรงไฟฟ้าได้ก่อน

ปี 2555 เราจะทำที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือไม่ก็เป็นจังหวัดสงขลา แล้วแต่ที่ไหนพร้อมก่อน ที่จังหวัดสงขลาก็ที่โตนงาช้าง แต่โตนงาช้างเนี่ยมีโจทย์ยากขึ้นคือว่า เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ที่เราทำที่คลองเรือได้สำเร็จในป่าสงวนแห่งชาติ เพราะเรายกโรงไฟฟ้าให้เป็นของรัฐ ไม่อย่างนั้นเราเข้าไปทำอะไรไม่ได้ แต่เราเข้าอกเข้าใจร่วมกันว่า ถึงแม้ไฟฟ้าจะถูกนำใช้ประโยชน์ในกิจการของรัฐ แต่ไฟฟ้าส่วนเกินชาวบ้านก็นำมาใช้ได้ หน่วยงานรัฐก็โอเค เพราะชุมชนพิสูจน์ได้ว่า เขาอยู่ที่นั่นแล้วรักษาป่าได้ดี มันเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

ตอนนี้ที่เราคิดจะผลิตไฟฟ้าขาย มันอาจจจะซับซ้อนมากขึ้น ผมคิดว่ามันไม่ง่ายเหมือนกับชาวบ้านผลิตใช้กันเอง อันนี้เป็นโจทย์ที่เราจะต้องฝ่าไปให้ได้ ถ้าเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ที่จะใช้สร้างโรงไฟฟ้าอยู่นอกเขตป่า มันก็ง่ายขึ้น แต่เราเห็นปัญหาล่วงหน้าแล้วว่า วิธีการที่ให้ชาวบ้านผลิตไฟฟ้าขายหน่วยงานรัฐ ยังมีโจทย์ให้คิดอีกหลายข้อ

ผมคิดว่าการดำเนินโครงการการจัดการความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ (ระยะที่ 2) ภายใต้กรอบ “การศึกษาเพื่อการพัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือกและโรงไฟฟ้าชุมชน” โชคดีตรงที่คนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่มาตรวจรับงานโรงไฟฟ้าคลองเรือ ล้วนแต่เป็นคนที่คิดไม่เหมือนคนในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยส่วนใหญ่ พอคนกลุ่มนี้มาเป็นกรรมการตรวจรับงาน เราก็มีความสุข

คนพวกนี้ต้องการปฎิรูปองค์กร เพื่อให้องค์กรของเขาอยู่ได้ เขาจึงค่อนข้างจะให้เสรีภาพกับเรามาก เป็นโปรเจกต์แรกที่ผมทำงานแล้วมีความสุขที่สุด เพราะเขาเปิดอิสระร้อยเปอร์เซ็นต์ เราจะทำอะไรเป็นเรื่องของเราทั้งหมด เป็นข้อตกลงตั้งแต่แรกเริ่มว่า เราไม่ได้มาตอบโจทย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยตรง แต่ที่เราต้องการจะตอบโจทย์ของประเทศว่า ทางออกจริงๆ ทางด้านพลังงานคืออะไร เพราะฉะนั้นเราต้องขอว่าเราต้องมีเสรีภาพในการทำงาน เขาไม่ได้บังคับว่าจะเลือกกลุ่มเป้าหมายอย่างไร จะเน้นเรื่องอะไร  งานเราจึงหมุนไปเรื่อยๆ พัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ

 

color:red">ชาวบ้านที่ผลิตไฟฟ้าขายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเจอปัญหาและข้อติดขัดอะไรบ้าง

color:red">

 

 

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยรับซื้อไฟฟ้าจากโรง ไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าได้ปริมาณเยอะๆ โรงไฟฟ้าของชาวบ้านผลิตเขาไม่รับซื้อ เพราะปริมาณนิดเดียว ถ้าเกิดชาวบ้านผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก เขาอาจจะต้องขายให้กับโรงไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยตรง เราต้องการให้ชาวบ้านประสบกับสถานการณ์นี้เอง ค่อยๆ เรียนรู้แล้วช่วยกันแก้ไขปัญหาร่วมกัน เท่าที่รู้ตอนนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทำสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายย่อยปีต่อปี ถามว่าสัญญาซื้อปีต่อปี ถ้าต้องลงทุนสูง ถามว่าใครจะกล้าลงทุน

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของระเบียบ เรื่องของนโยบาย ที่จะต้องรวมตัวกันเป็นเครือข่ายขึ้นมาผลักดันให้มีการแก้ไขไม่ให้เป็นอุปสรรค วิธีคิดของผู้บริหารบ้านเมืองคือ เขาก็มีฐานคิดของเขาอีกแบบ เขามองว่าหากต้องผลิตเทคโนโลยีอะไรที่ต้องใช้ต้นทุนเยอะกว่า เขาก็จะให้เงินบวก (adder) เยอะ ถ้าไม่ต้องลงทุนมากก็ไม่ให้ Adder เลย โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ถ้าผลิตไฟฟ้าเกินสองร้อยกิโลวัตต์เขาไม่ช่วยแม้แต่บาทเดียว แต่ถ้าไฟฟ้าผลิตจากลม ผลิตจากโซล่าเซลล์เขาจ่ายสูงสุด ไฟฟ้าที่ผลิตจากวัตถุดิบแต่ละประเภทเขาจ่ายไม่เท่ากันสูงสุดจ่าย 6 บาท 7 บาทต่อยูนิต

เรามองจากสายตาชาวบ้าน แบบนี้มันไม่ค่อยเหมาะ แต่ถ้ามองจากสายตานักลงทุน หรือมองในสายตารัฐ รัฐอยากให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนเยอะๆ เทคโนโลยีพวกนี้ ต้องใช้เงินลงทุนเยอะ เขาเลยเพิ่ม Adder ให้มันจูงใจนักลงทุนให้มาลงทุน แต่เรามองแล้วไม่เหมาะ เพราะวิธีการแบบนั้นชาวบ้านทำไม่ได้เลย ไปผลิตจากพลังลม ไปผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ ต้นทุนมหาศาล ชาวบ้านไม่มีทางลงทุนได้ ถ้าลงทุนทำโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก จากน้ำตก จากคลองที่มีน้ำไหลผ่านสม่ำเสมอ ชาวบ้านมีโอกาสทำได้ ทำไมไม่ให้ Adder ช่วยละ ชาวบ้านจะได้มีกำลังใจขึ้นสักหน่อย แต่ตอนนี้ไม่ช่วยอะไรเลย

 

color:red">เป็นไปได้ไหมที่โครงสร้างของประเทศเรา ในทางกายภาพเอื้อต่อการผลิตไฟฟ้า เพราะมีป่ามีภูเขามีแม่น้ำมีน้ำตก แต่โครงสร้างทางการบริหารจัดการ ข้อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติไม่เอื้อให้ชาวบ้านออกมาผลิตไฟฟ้า จะผลักดันให้มีการแก้ไขปรับปรุงให้ทุกอย่างเอื้อต่อการผลิตไฟฟ้าอย่างไร

color:red">

 

ผมเชื่อว่าถ้าชาวบ้านรวมตัวกันเข้มแข็ง จะยื่นข้อเสนออะไรก็มีพลัง จุดประสงค์หลักของเราอย่างหนึ่งคือ เราต้องการสร้างเครือข่าย ผมเชื่อว่าถ้าเราเผยแพร่ข้อเท็จจริงออกไป สังคมจะเข้ามาช่วย มันเรื่องอะไรที่สังคมจะไม่ส่งเสริมศักยภาพการผลิตไฟฟ้าของชาวบ้าน จากวัตถุดิบที่มีอยู่แล้ว ทำไมต้องไปส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า ที่ต้องลงทุนมหาศาล

โครงการที่เราทำกันอยู่ แม้แต่ในตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้ที่คลองเรือ รวมทั้งตัวต่อๆ ไปที่เราจะขอสปอนเซอร์จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมาทำ ส่วนใหญ่แทบทุกเครื่อง เราเอามาจากงานวิจัยของอาจารย์ในประเทศไทย ไม่ได้สั่งซื้อเข้ามาจากต่างประเทศ โมเดลตัวแรกของเรา ในการออกแบบครั้งแรก เราอยากให้มีประสิทธิภาพสูงมากๆ ถึงขั้นคิดจะสั่งซื้อเครื่องจักรจากเยอรมัน ซึ่งต้นทุนสูงมาก ตอนหลังเราก็เปลี่ยนวิธีคิดมาเรื่อยๆ จนเครื่องที่นำมาติดตั้งจริง ได้มาจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

 

color:red">จากการสำรวจ ภาคใต้มีแหล่งน้ำกี่แหล่งที่สร้างโรงไฟฟ้าชุมชนขนาดเล็กได้

color:red">

 

ถ้าโรงไฟฟ้าชุมชนขนาดเล็กผมคิดว่ายังไม่มี เพราะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไปสำรวจ มีแต่แหล่งน้ำขนาดใหญ่ ข้อมูลน้ำตกที่โครงการมีอยู่ เราได้จากแผนที่ 1:5000 ซึ่งละเอียดมาก และได้ตอนเราไปประชุมกับชาวบ้าน เขาพาไปดูน้ำตกตรงนั้นตรงนี้ที่มันไม่ปรากฏในแผนที่เลย ในส่วนของภาคใต้เรารวบรวมได้หลายร้อยแห่ง แต่บางแห่งอาจจะไม่เหมาะสมที่จะนำสร้างโรงไฟฟ้า เช่น อยู่ไกลเกินไป หรือน้ำไหลไม่สม่ำเสมอเพียงพอ

 

color:red">โรงไฟฟ้าขนาดเล็กผลิตไฟฟ้าได้เท่าไหร่ก็ตาม ก็เท่ากับไปลดภาระของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยลงไปเท่านั้น จะทำอย่างไรให้แนวทางการจัดการตรงนี้ ได้รับการยอมรับมากขึ้น

color:red">

 

จริงๆ กระทรวงพลังงานก็มีแผนตรงนี้อยู่แล้ว แม้แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเอง ก็มีแผนจะผลักดันพลังงานชุมชน แต่ไม่มีรูปธรรมที่ชัดเจน รูปธรรมที่มีก็เกิดจากจินตนาการ เกิดจากโลกทัศน์ชุดเดิม ตอนนี้รัฐเองก็ใช้เงินจากกองทุนพลังงานสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กอยู่ แต่กระบวนการที่จะเข้าไปเลือกพื้นที่ กระบวนการการผลิต กระบวนการที่จะให้ชาวบ้านบริหารจัดการและดูแลบำรุงรักษาจัดการ อาจจะไม่ค่อยเข้มข้นนัก เพราะเป็นแค่หน่วยเล็กๆ หน่วยเดียวที่ดูแลงานนี้ทั่วประเทศ

ในส่วนของเราไม่ทำอย่างนั้น วิธีคิดเราแตกต่างออกไปนิดหนึ่ง เราไปที่ไหนพอเห็นว่ามีศักยภาพ เราเข้าไปสร้างคนให้พร้อมก่อน อย่างที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเราอบรมไปแล้วนะ ช่างขององค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบลคนไหนสนใจ เราพร้อมจะจัดอบรมวิธีการเซอร์เวย์แบบง่ายๆ ดูออกว่าตรงนี้สร้างโรงไฟฟ้าได้หรือไม่ได้ เราไม่หวงความรู้ไม่หวงข้อมูลเราเปิดเผยหมด

 

color:red">เท่าที่ประเมินในภาคใต้สามารถสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำตกได้กี่แห่ง

color:red">

 

เท่าที่ข้อมูลมีอยู่ยังยืนยันอะไรไม่ได้ แต่เท่าที่เราประเมินคร่าวๆ ทั้งภาคใต้น่าจะได้ประมาณ 20 เมกะวัตต์ ถ้าดูเผินๆ น่าจะได้เยอะเป็นพันเมกะวัตต์ แต่พอดูความเป็นจริงไม่ถึงขนาดนั้น

 

color:red">ถ้าอย่างนั้นพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียนต่างๆ คงไม่สามารถก้าวขึ้นมาทดแทนพลังงานฟอสซิลได้

color:red">

 

 

ทั่วโลกยังไม่มีประเทศไหน ที่สามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้ถึงครึ่ง ไม่มีสักประเทศ ทางออกคือต้องลดการใช้และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไปพร้อมๆ กัน ตรงนี้ต้องแก้วิธีคิดของคนทั้งประเทศ เพราะประเทศเราถูกหล่อหลอมมาว่า เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจมันจะโตได้ต้องมีการบริโภค แล้วคนไทยก็เป็นนักบริโภคนิยมจ๋า เราถูกหล่อหลอมมาแบบนี้ เราต้องไปสร้างกระแสใหม่อย่างกระแสเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมาสู้กับบริโภคนิยม ซึ่งต้องลงไปถึงรากจริงๆ ตั้งแต่ระดับโรงเรียนขึ้นมา

สำหรับพลังงานทางเลือก หรือพลังงานหมุนเวียน มันพอจะทดแทนได้ก็จริง แต่ปริมาณยังไม่ได้มากอย่างที่คิด

ส่วนหนึ่งที่พยายามทำคือ ให้เก็บค่าไฟในอัตราก้าวหน้า จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้ามากเท่าไหร่ ค่าไฟต่อหน่วย จะแพงมากขึ้นตามลำดับ ผมหวังว่าวิธีนี้จะทำให้การใช้ไฟฟ้าลดลงมาบ้าง ข้อเสนอนี้ผมอ่านจากงานวิจัย คนส่วนใหญ่เขาก็ต้องการประหยัดอยู่แล้ว ส่วนห้างใหญ่ๆ ก็ต้องการประหยัดเหมือนกัน

เขามีวิธีการประหยัดค่าแอร์ เช่น เพิ่มผนังกระจกสองชั้นมันจะลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าลง มันมีเทคโนโลยีพวกนี้เข้ามาเรื่อยๆ เรื่องการฉาบผิวผนังอะไรพวกนี้มันมีอยู่ ผมไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร แต่เชื่อว่าเขามี เพราะเขาจ่ายค่าไฟมหาศาล ท้ายที่สุดมันขึ้นอยู่กับนิสัยคนไทย ถ้านิสัยคนไทยยังติดบริโภคนิยม พวกนี้ก็ต้องพยายามทำทุกอย่างให้คนบริโภค

ที่เราจะทำต่อคือสร้างเครือข่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชน นำชาวบ้านเผชิญกับความเป็นจริงว่าด้วยเรื่องกฏหมาย เรื่องระเบียบที่ยังไม่เอื้ออำนวยกับการส่งเสริมชุมชนให้ทำโรงไฟฟ้าว่า มีอะไรบ้าง ชาวบ้านต้องเรียนรู้ตรงนี้ไปพร้อมๆ กัน จะได้ร่วมกันผลักดันให้มีการแก้ไข

นอกจากนี้ เราจะทำร่างแผนยุทธศาสตร์พลังงานของจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันนี้ยุทธศาสตร์พลังงานทั้งหลาย ไม่ได้ใช้ข้อมูลจริง ไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เราจะใช้กระบวนการนำทุกฝ่ายมาร่วมกำหนดวิสัยทัศน์เลยว่า อีกห้าปี สิบปีข้างหน้า อยากเห็นอยากให้จังหวัดเป็นอะไรอย่างไร แล้วมาดูกันอีกทีว่าต้องใช้พลังงานเท่าไหร่ เพื่อสนองสิ่งที่อยากจะเห็นอยากให้เป็น

ปัจจุบันเราใช้พลังงานเท่าไหร่ ต้องใช้ศักยภาพอะไรบ้าง ในการผลิตไฟฟ้า ทำให้เห็นชัดๆ เลยว่าศักยภาพที่เรามีอยู่ทั้งหลายทั้งปวง มันต้องนำเข้าพลังงาน หรือผลิตเลี้ยงตัวเองได้ หรือผลิตส่งขายให้กับจังหวัดข้างเคียงได้ นั่นก็แล้วแต่คนจังหวัดนครศรีธรรมราชจะตัดสินใจกันเอาเอง

อีกอันหนึ่งคือ เราอาจจะทำเรื่องนี้กันที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราชด้วยว่า เราจะวางแผนยุทธศาสตร์อย่างไร ที่จะนำไปสู่การจัดการน้ำแบบบูรณาการ ผมยังไม่ได้เห็นพื้นที่ แต่จากรายงานที่เข้ามามันมีน้ำไหลผ่านคลองชลประทาน ที่มีความแรงความเร็วพอสมควร ตรงไหนผลิตไฟฟ้าได้ก็จะผลิตไฟฟ้า ขณะเดียวกันจะดูว่าน้ำที่ไหลออกจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า จะนำไปใช้เพื่อการเกษตร เพื่อการบริโภคของประชาชน หรือใช้เพื่อการอื่นได้อย่างไร วางแผนเหมือนกับเป็นลุ่มน้ำย่อยๆ ลุ่มน้ำเล็กๆ ดูทั้งต้นน้ำปลายน้ำ ตรงนี้อาจจะได้คำตอบอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาก็ได้ นี่คือเรื่องพลังน้ำ

ส่วนงานที่ทำกับสหกรณ์น้ำยางพารา กลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มใหญ่ ที่เราเข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้เขาอยู่แล้ว ตรงนี้เรามีงานวิจัย วิจัยเสร็จเราส่งเสริมให้สหกรณ์ทำโรงไฟฟ้าเองเลย ตั้งแต่ไฟฟ้าจากน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็นแก๊สหุงต้มจากน้ำเสีย รวมไปถึงการปรับปรุงเตาอบใหม่ การปรับปรุงห้องรมยางใหม่ เพื่อลดการใช้พลังงานลง ได้ผลผลิตดีขึ้น

ตรงนี้เรามีตัวอย่างที่อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ที่นี่ชาวบ้านได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ถ้าเราทำงานกับเขา พอเขามีความรู้ความเข้าใจจริงๆ ถึงจุหนึ่งเขาจะลงทุนเอง สองแห่งนี้เราไม่ได้ให้เงินช่วยเหลือมาก เรามีเงินช่วยทางด้านวิชาการนิดหน่อย เราพาเขาไปร่วมทำวิจัยในห้องแล็ป พาเขาไปดูงานหลายแห่ง แต่การลงทุนทางธุรกิจ สหกรณ์เขามีสตางค์ เขาลงทุนเองได้ เราจะเป็นพี่เลี้ยงไปตลอด แต่สองแห่งนี้เขาลงทุนด้วยตัวเขาเอง และพิสูจน์ได้ว่าแต่ละปีประหยัดเงินได้ปีละแปด–เก้าหมื่นบาท อีกไม่กี่ปีก็คืนทุน

เราจะขยายเครือข่ายตรงนี้ และพยายามขยับต่อไปอีก เราจะไม่ดูเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีอย่างเดียว มันต้องดูภาพรวมว่า พอเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาซียน ชาวสวนยางจะเดือนร้อนอะไรบ้าง ตอนนี้เท่าที่รู้คือเดือดร้อนเรื่องไม่มีแรงงาน ต่อไปราคายางจะเป็นอย่างไร ต้นทางจากการผลิตยางตรงนี้ ปลายทางมันจะอยู่ตรงไหน การรวมกลุ่มทำอย่างไรไม่ให้คนแตกแยกกัน ทำอย่างไรให้กลุ่มมีพลังช่วยเหลือกันและกัน ไม่ใช่ทุกกลุ่มมุ่งหาแต่กำไรอย่างเดียว

นอกจากนี้ เรากำลังจะทำเรื่องคาร์บอนฟุตปริ้นท์ กับวอเตอร์ฟุตปริ้นท์ เพื่อรองรับอนาคตข้างหน้า พอถึงจุดหนึ่งมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ก็จะนำเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องโลกร้อนขึ้นมาเล่นแง่กีดกันทางการค้า แบบไม่ผิดระเบียบองค์การการค้าโลก ตอนนี้เราเตรียมทำคาร์บอนฟุตปริ้นท์กับวอเตอร์ฟุตปริ้นท์ นำมาเปรียบเทียบให้เห็นว่า การใช้เทคโนโลยีที่ไม่ได้ยากเย็นนัก ที่เราพยายามพัฒนาร่วมกับชาวบ้าน มันลดก๊าซเรือนกระจก มันลดการใช้น้ำ คุณปรับปรุงตรงนี้นิดเดียวมันจะเพิ่มโอกาสให้คุณอีกมหาศาล ขณะเดียวกันก็ลดค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจ เป็นการช่วยเตรียมการ เตรียมความพร้อมไว้ก่อน

อีกตัวที่กำลังจะทำคือ เอาขยะมาทำเป็นพลังงานไฟฟ้า คิดว่าจะทำนำร่องที่จังหวัดสงขลา กำลังดูว่าพื้นที่ตรงไหนมีขยะมากพอสมควร แล้วองค์กรปกครองท้องถิ่นเข้าใจเรื่องนี้ ตระหนักถึงปัญหานี้ เขาอาจจะต้องมีเงินลงทุนส่วนหนึ่ง เพราะเราคงไม่มาบริจาคให้ เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยตัวเอง แต่เราไม่ได้แนะนำแบบวิชาการทิ้งๆ ขว้างๆ เราจับไม้จับมือร่วมกันทำให้มันเห็นเป็นรูปธรรม อันนี้เปนสิ่งที่เราจะทำเป็นรูปธรรมในอีกสามปีข้างหน้า

สิ่งที่เราอยากเห็นคือ ชาวบ้านเข้าใจเรื่องพลังงานมากขึ้น และตัดสินใจเรื่องพลังงานด้วยตัวเอง เกิดการตัดสินใจร่วมกันจากทุกภาคส่วน ไม่ใช่รัฐตัดสินใจฝ่ายเดียว การตัดสินใจต้องอยู่บนฐานของความรู้ ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง รู้อนาคตพอสมควร ไม่ใช่เคยชินอย่างไรก็ตัดสินใจไปตามนั้น นี่คือความฝันของเรา

ส่วนที่ว่าจะทำอย่างไรให้คนอื่นเอาโมเดลนี้ไปใช้ เราพยายามอยู่หลายๆ อย่าง ตอนนี้เราพยายามคุยกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยว่า ในเมื่อต้องทำ CSR นี่คือ CSR ที่ถูกต้องที่ดีที่สุด ไม่ว่าในเชิงหลักทฤษฎีหรือเชิงหลักปฏิบัติ คุณไม่ได้ใช้เงินเยอะกว่าที่คุณใช้กับเรื่องอื่น มันใช้เงินไม่ได้มากกว่า แต่ใช้แล้วเกิดประโยชน์กัยชาวบ้านมากกว่า แล้วเกิดประโยชน์กับตัวคุณด้วย คุณบอกว่าดูแลเรื่องพลังงาน นี่คือการดูแลเรื่องพลังงานอีกแบบหนึ่ง

ที่ผ่านมาแต่ละหน่วยดูอะไรแบบแคบๆ มุ่งให้บรรลุผลเพียงอย่างเดียว อย่างอื่นไม่สน ถ้าเกิดเปิดใจให้กว้างมองปัญหาของชาวบ้านมากขึ้น แล้วไปช่วยแก้ปัญหาที่ชาวบ้านเผชิญกันอยู่ ผมเชื่อว่าต่อไปนี้จะคุยกันง่ายขึ้น ในเมื่อต่างฝ่ายต่างเข้าใจกันและกัน ในส่วนของหน่วยงานรัฐ ตอนนี้เราพยายามจะทำ MOU กับ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอยู่

ส่วนแบบที่เราได้มาจากการพัฒนาร่วมกับชาวบ้าน เราจะจับมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำออกไปเผยแพร่โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ แต่เราจะเทรนคนของเขาก่อน เขาจะต้องมีข้อมูลมีความรู้ตรงนี้ เพราะไม่อย่างนั้นคุณจะไม่มีความรู้ที่จะไปแนะนำชาวบ้าน มันไม่เกิดประโยชน์ เพราะในทางปฏิบัติมันต้องนำแบบไปดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เราจะบอกว่าหลักการที่จะดัดแปลงปรับปรุงมันต้องคิดถึงเรื่องอะไรบ้าง เพราะทุกแปลนมันต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ไม่ใช่ตัดเย็บเสื้อโหล

อีกอันหนึ่ง เราต้องการสร้างสถาบันที่ถาวร อย่างตอนนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มตื่นตัวมากขึ้น จากตอนแรกก็มีอาจารย์ไม่กี่คนมาร่วม ตอนแรกมีคนไม่เห็นด้วย บอกว่างานโรงไฟฟ้าพลังน้ำในเชิงเทคโนโลยีมันต่ำ ไปสนใจพลังงานนิวเคลียร์ ไปทำอย่างอื่น ทำไบโอแก๊ส ระดับความรู้ของเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าพลังน้ำมันต่ำมากเลยในสายตานักวิชาการด้วยกัน นักวิชาการจึงไม่สนใจ แต่พอถึงตอนนี้คนเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม โครงการแบบนี้ทำให้สถาบันการศึกษาได้รับการยอมรับจากภาคสังคม ภาคประชาชน เร็วๆนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงจะมีหน่วยงานดูแลเรื่องพลังน้ำขนาดเล็ก เราก็พยายามส่งเสริมให้ทำคู่มือ เตรียมทำคาร์บอนฟุตปริ้นท์ วอเตอร์ฟุตปริ้นท์ เพราะในอนาคตจะช่วยชาวบ้านได้มหาศาล

อันที่จริงหลายคนก็คิดเรื่องนี้ อยากจะหาคนมาทำเรื่องนี้ให้เป็นกิจจะลักษณะ แต่ในทางปฏิบัติหาคนมาทำจริงๆ จังๆ ได้ยาก คนที่มีทักษะที่มีความรู้ความชำนาญด้านนี้ ต้องยอมว่าส่วนหนึ่งเขาไม่ว่าง มีงานอื่นทำเยอะมาก ผมคิดว่าน่าจะรวมพลคนที่ทำตรงนี้มาคุยกัน ต้องบอกตรงๆ ว่าคณะผมมีหลายคนที่ทำเรื่องนี้แต่ละคนเป็นจอมยุทธ์ในหลายๆ ด้าน ทำให้ไม่มีเวลาเหลือจะไปทำอย่างอื่นเพิ่มเติม แต่ละคนงานล้นมือ

จริงๆ แล้วเราขาดคนที่จะทุ่มเทให้กับงานตรงนี้ ทุกคนอยากเห็นสถาบันลักษณะอย่างที่ว่า อยากจะทำอะไรเพื่อบ้านเพื่อเมืองจริงๆ คำถามคือคนที่คิดหรือคนที่พอจะมีศักยภาพตอนนี้งานล้นพ้นตัว เรามาลองจัดสร้างสถาบันแบบหลวมๆ ในภาคใต้ ออกแบบให้ดีๆ ผมเชื่อว่า เราพอจะหาคนมาจัดการงานนี้ได้