Skip to main content

 มูฮำหมัด ดือราแม สำนักข่าวประชาไท

ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้(DSJ)

 

 

“ครูนก” นายธรรมรัตน์ นุตะธีระ อาจารย์ผู้ริเริ่มก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา โรงเรียนกำแพงวิทยา จุดประกายการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่เต็มพื้นที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล กับการผลักดันของกรมทรัพยากรธรณีที่จะให้เป็นอุทยานธรณีโลก ท่ามกลางความต้องการระเบิดเขาหินฟอสซิลไปถมทะเลสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา

 

 

          ครูนก1

                                         ครูนก หรือนายธรรมรัตน์ นุตะธีระ color:#00B050">

 

“ครูนก” หรือนายธรรมรัตน์ นุตะธีระ อาจารย์ผู้ริเริ่มก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา โรงเรียนกำแพงวิทยา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ผู้จุดประกายการศึกษาฟอสซิล หรือซากดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่เต็มพื้นที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ผ่านเด็กนักเรียน

เมื่อนำไปบวกรวมกับความต้องการของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะผลักดันให้จังหวัดสตูลเป็นอุทยานธรณีที่มีความสำคัญระดับโลก

ก็ส่งผลให้แหล่งฟอสซิลสตูล ส่องประกายเจิดจ้า เจิดจ้ากระทั่งเกิดความรู้สึกไม่ต้องการเห็นปฏิบัติการ ระเบิดฟอสซิลไปถมทะเล สร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา

ต่อไปนี้คือ ความรู้ ความเห็น ความรู้สึกของครูนก ต่อแหล่งฟอสซิลล้ำค่าแห่งนี้

...........

 

color:red">สนใจซากฟอสซิลตั้งแต่เมื่อไหร่

color:black">ผมสนใจมาตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา อยู่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตอนปี 2525 ผมสนใจศึกษาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นพิเศษ รู้สึกสนุกกับความหลากหลายของสัตว์มาก เช่น พวกหอย ปลาหมึก กุ้ง ดาวทะเล แม่นทะเล

color:black">ผมเก็บตัวอย่างสัตว์จากบริเวณท่าเรือปัตตานี สมัยนั้นมีพวกอวนรุน ซึ่งเป็นเครื่องมือประมงผิดกฎหมายทำลายล้างแบบถอนรากถอนโคน สัตว์หน้าดินที่ติดมากับอวน  กลายเป็นขยะ ไม่มีประโยชน์ ถูกแยกคัดออกจากกุ้ง หอย ปูปลาที่ชาวประมงหาได้

color:black">สัตว์หน้าดินพวกนี้มีโปรตีนต่ำ เป็นแค่ปลาเป็ด หมายถึงเป็นอาหารสัตว์ ผมเห็นแล้วเสียดาย คิดว่า น่าจะเก็บไว้ศึกษา

color:black">ผมคิดว่าผมเรียนครูต่อไปก็ต้องเป็นครู ผมจึงเริ่มเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินมาเก็บจนเน่าเหม็น โดนที่บ้านด่า นำมาเก็บที่หอพักเพื่อนก็ต่อว่า สมัยนั้นผมไม่มีเงินซื้อฟอมาลีนมาสตัฟฟ์ ทำแบบตามมีตามเกิด

 

color:red">พอมารับราชการครูมาต่อยอดศึกษาเรื่องฟอสซิลได้อย่างไร color:red">

color:black">ผมรับราชการครู ปี 2529 ที่โรงเรียนเวียงสุวรรณวิทยาคม อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส อยู่ 4 ปี ระหว่างปี 2528–25 31 ช่วงนั้นผมขับรถจักรยานยนต์จากอำเภอแว้ง ไปเก็บตัวอย่างสัตว์ที่ท่าเรือปัตตานีเป็นประจำ นำไปเก็บไว้ที่โรงเรียน ทำเป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ เป็นตู้โชว์ 4 ตู้

            ต่อมา ปี 2532 ย้ายมาที่โรงเรียนกำแพงวิทยา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ช่วงปี 2532–2534 อยู่ที่นี่ 2 ปี จากนั้น พอปี 2535–2538 ย้ายไปสอนที่โรงเรียนไม้แก่นประชาอุทิศน์ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 4 ปี

color:black">ปี 2539 ก็ย้ายกลับมาอยู่โรงเรียนกำแพงวิทยาอีกครั้ง จนถึงปัจจุบัน

color:black">จุดเริ่มต้นจริงๆ เริ่มที่โรงเรียนกำแพงวิทยา แรกๆ ก็เก็บซากสัตว์มาผ่าเอาเนื้อออกมาสตัฟฟ์ มาดองน้ำยา เริ่มสตัฟฟ์งูจงอางเป็นตัวแรก เก็บไว้ในห้องพักครู ครูคนอื่นๆ กลัวสั่งให้เด็กนักเรียนนำไปเผา ผมเสียใจมาก เพราะใช้เวลาสตัฟฟ์นานถึง 2 วัน 2 คืน

color:black">ผมจึงหาที่หาทางย้ายสัตว์ที่ผมสตัฟฟ์ออกจากห้องพักครู บนอาคารชั้น color:black">2 ลงมาใต้ถุนอาคารใช้เก็บของเก่า กั้นมุมหนึ่งเป็นห้องเล็กๆ นำหอย เม่นทะเล ปู ที่สะสมมาจัดแสดงให้เด็กนักเรียนศึกษาทั้งๆ ที่ไม่มีตู้ color:black">

color:black">ปรากฏว่า เด็กนักเรียนซนๆ มานั่งทุบปู–เม่นทะเลเล่น เปลือกหอยหายไปครึ่งหนึ่ง ผมเสียใจมาก เพราะพยายามเก็บตัวอย่างสัตว์มาจากท่าเรือปัตตานี หาดทรายตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หาดทรายบ้านบ่อเจ็ดลูก บ้านปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ผมแก้ปัญหาด้วยการกั้นห้อง และหาตู้มาจัดแสดง

 

color:red">ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าฟอสซิลกับกระบวนการสอนนักเรียนคืออะไร color:red">

ต้องเข้าใจก่อนว่าเด็กอำเภอละงู เป็นเด็กต่างจังหวัด การจะมาจูงใจให้นั่งท่องศัพท์วิทยาศาสตร์มันค่อนข้างยาก แต่หลังจากที่ผมทำพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เด็กๆ ก็ช่วยกันวาดภาพการจำแนกหมวดหมู่สัตว์และพืช ที่ผนังด้านหน้าห้องพิพิธภัณฑ์ ทำให้เป็นเรื่องง่ายที่เด็กจะจดจำ กลายเป็นบรรยากาศการเรียนรู้ใหม่ในโรงเรียน color:black">

color:black">การไล่ต้อนไล่ตีเด็กให้เข้าห้องเรียน เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ การสร้างบรรยากาศในการสอน ให้เด็กสนุกกับการเรียน

color:black">วันไหนผมจำพานักเรียนไปสอนในห้องเรียน เด็กจะท้วงว่า ทำไมไม่สอนที่ห้องพิพิธภัณฑ์ ถึงแม้จะไม่มีเก้าอี้ นั่งกับพื้นมีแต่ฝุ่น แต่นักเรียนก็สนุก

color:black">ถ้าอยากให้เด็กอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ไม่รู้จัก–ไม่เคยเห็นสิ่งนั้นๆ จะส่งเสริมการอนุรักษ์ได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้ที่เด็กจะมีจิตใจอนุรักษ์ color:black">

color:black">ปี 2549 ผมเคยพานักเรียนชุดแรกๆ ลงทะเล เป็นที่ประทับใจนักเรียนมาก ผมได้เรียนรู้พร้อมกับเด็กๆ บางคนมีพื้นฐานเรื่องหอยชักตีน บางคนไปหาคนสนใจหอยเต้าปูน ไปหาปะการัง

color:black">ต่อมา มีนักเรียนไปเข้าค่ายลูกเสือจมน้ำทะเลตายที่จังหวัดสงขลา หลังจากนั้นมีมาตรการห้ามนำนักเรียนทำกิจกรรมทางน้ำ

ห้องพิพิธภัณฑ์ของเรามีการบูรณาการการเรียนรู้ พัฒนานักเรียนเป็นวิทยากรประจำฐานตัวอย่างสัตว์แต่ละฐาน นักเรียนจะช่วยอธิบายและกระตุ้นให้เกิดความสนใจ เข้าใจตัวอย่างจัดแสดงในห้องพิพิธภัณฑ์ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละฐาน เป็นการจัดการเรียนแบบมีส่วนร่วม (Cooperative learning)

จากนั้น มีการถ่ายทอดการเรียนรู้จากรุ่นสู่รุ่น จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง จนผมแทบไม่ต้องแนะนำอีกเลย เพราะเด็กวิทยากรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ color:black">4 เรียนกับเด็กวิทยากรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เด็กวิทยากรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรียนกับเด็กวิทยากรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผมแค่คอยบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ถ้ามีคณะนักเรียนนักศึกษา คณาจารย์จากโรงเรียน และมหาวิทยาลัยต่างๆ มาทัศนศึกษาดูงาน ก็คอยจัดการใครว่างให้ช่วยไปบรรยาย ให้ความรู้ color:black">

color:black">สุดท้าย นักเรียนที่สนใจศึกษาฟอสซิลไทรโลไบต์เป็นการเฉพาะ ก็ต้องศึกษาฟอสซิลกลุ่มอื่นด้วย เผื่อกลุ่มที่สนใจฟอสซิลกลุ่มอื่นไม่มา ตัวเองต้องพร้อมที่จะไปบรรยายแทน เป็นกระบวนการทำให้เด็กนักเรียนเกิดการพัฒนา ส่งเสริมให้เด็กแสดงออก รู้จักพูด รู้จักสืบค้นหาความรู้ ตรงนี้เป็นผลมาจากการมีพิพิธภัณฑ์ ทำให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต มีกิจกรรม มีการเคลื่อนไหว สืบค้นและให้บริการอย่างต่อเนื่อง color:black">

color:black">ผมภูมิใจเด็กที่ไปจากผม มีทักษะด้านการพูด การทำงานเป็นหมู่คณะ อีกกรณีตัวอย่างหนึ่งที่เราช่วยกันสตัฟฟ์งูเหลือม จาก color:black">3 โมงเย็นถึง ตี 5 วันรุ่งขึ้น เนื่องจากการสตัฟฟ์แบบนี้หยุดไม่ได้หนังงูจะหดและเสื่อมสภาพ ก็จัดการแบ่งงานกันทำ ให้เด็กผู้หญิงลอกหนังงูถึง 6 โมงเย็นแล้วกลับบ้าน เด็กผู้ชายอีกทีมมารับช่วงต่อใส่วัสดุภายใน color:black">

color:black">พอทีมนี้ไปพักผ่อน อีกทีมก็ตื่นมาช่วยกันเย็บหนังงูเหลือม กินอยู่คลุกคลีกันในห้องพิพิธภัณฑ์ ทำให้เรามีตัวอย่างจัดแสดง color:black">

color:black">มีความผูกพันจากรุ่นต่อรุ่น บางคนจบจากโรงเรียนกำแพงวิทยาไปแล้ว กลับมาเยี่ยม ถามหาฟอสซิลที่ตัวเองพบว่า ฟอสซิลอยู่ไหนแล้ว ขอดูหน่อย วางผิดที่ไม่ได้ ถ้าหาไม่พบจะโดนทวงถาม color:black">

ตอนนี้ผมเปิดวิชาธรณีวิทยา เป็นวิชาเลือกให้เด็กสายศิลป์ ส่วนสายวิทย์–คณิต เป็นวิชาบังคับ วิชานี้ไม่มีหนังสือเรียน เป็นหลักสูตรท้องถิ่น สร้างความรู้พื้นฐานให้คนรู้จักของดีๆ เป็นทรัพยากรโดดเด่นของท้องถิ่นตัวเอง

 ผมนึกภาพเด็กกรีดยางเสร็จตอนสายๆ สามารถเป็นมัคคุเทศก์ให้กับนักท่องเที่ยวหรือนักศึกษา ช่วยบรรยายความสำคัญของฟอสซิลตามแหล่งศึกษาทางธรณีวิทยาในท้องถิ่นได้ ผมฝันไว้ว่า สักวันหนึ่งจะทำโครงการอนุรักษ์ระดับใหญ่ โดยเด็กในท้องถิ่นที่เรียนจบมหาวิทยาลัย เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับสูง โดยคนในท้องถิ่นมีส่วนรับประโยชน์ร่วมกัน

color:black">ปัจจุบันมีคณะนักเรียนนักศึกษา คณาจารย์จากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ มาทัศนศึกษาดูงานที่พิพิธภัณฑ์ ศึกษาถึงสภาพทางธรณีวิทยาที่บ่งบอกถึงที่ตั้งของประเทศไทยในอดีต   ความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอย่างต่อเนื่องไม่คงที่ color:red">

หลักฐานต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์รวบรวมกันมา แสดงให้เห็นว่า โลกมีการเปลี่ยนแปลงถึงขั้นสูญพันธุ์ล้างโลกมาแล้ว อย่างในยุคเพอร์เมียน มีการสูญพันธ์มากกว่ามหายุคมีโซโซอิก ซึ่งเป็นยุคสูญพันธ์ของไดโนเสาร์เสียอีก

 

color:red">พบร่องรอยมนุษย์โบราณในถ้ำสตูลด้วย

color:black">นอกจากค้นพบฟอสซิลหลายชนิดแล้ว ยังพบด้วยว่าถ้ำหลายแห่งในจังหวัดสตูล พบหลักฐานของมนุษย์โบราณอาศัยอยู่ด้วย หลักฐานหลายชิ้นถูกนำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา โรงเรียนกำแพงวิทยา

ผมเริ่มสนใจศึกษามนุษย์ถ้ำ เมื่อปี 2534 ตอนนั้น มีนักเรียนคนหนึ่งบอกกับผมว่า ถ้ำบริเวณบ้านหนองราโพธิ์ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู มีหอยหนีน้ำเข้าไปในถ้ำ

ผมสงสัยในอดีตเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ หอยจึงถูกน้ำท่วมพัดพาเข้าไป แต่เมื่อผมเข้าไปสำรวจภายในถ้ำ พบเปลือกหอยโข่ง หอยข้าว หอยโล่ พบเขากวางผา เขากวาง เศษกระดูกสัตว์ เศษเขี้ยว ถูกหินงอกหินย้อยเคลือบหุ้มไว้

จนปี 2539 ผมย้ายกลับมาเป็นครูที่โรงเรียนกำแพงวิทยาอีกครั้ง จึงเข้าไปสำรวจถ้ำนี้อีกครั้ง พบพระสงฆ์เทปูนสร้างเป็นสำนักสงฆ์เรียบร้อยแล้ว

ที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกับกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม สำรวจร่วมกัน เบื้องต้น พบเครื่องมือหิน ขวานฟ้า หินลับ คล้ายหอกหิน ฆ้อนมือ เครื่องปั้นดินเผา ลูกปัดดินเผา พบเนื้อหินตะกอนทราย บางชิ้นชำรุด บางชิ้นยังดีอยู่

นอกจากนี้ ยังเจอฟันกรามเล็ก ฟันกรามใหญ่ของคนโบราณ อายุประมาณ 5–6 พันปี

ฟันของคนโบราณกับฟันคนปัจจุบัน ต่างกันตรงที่ฟันคนโบราณจะเรียบ เพราะกินอาหารคลุกดินคลุกทราย บดเคี้ยวจนฟันเรียบ ส่วนฟันคนปัจจุบันมีรองฟันบดเคี้ยว

เราเจอเศษกระดูกโคนหางปลาฉลามหลายขนาด แสดงว่ามนุษย์โบราณดำรงชีวิตด้วยการกินปลาฉลาม คำถามคือว่าเขาจับปลาฉลามได้อย่างไร

เราพบเปลือกหอยมีรูปทรงคล้ายๆ ตาเบ็ด พบมากในหลายๆ ถ้ำในอำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า

เจอเศษหอยเทียนฝังอยู่ในตะกอนหิน หอยเทียนอยู่ในป่าชายเลน มันไปอยู่ในถ้ำได้อย่างไร เป็นตัวชี้วัดว่า น่าจะมีคนนำเข้าไป ถ้ามากับน้ำท่วมก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะแต่ละถ้ำอยู่สูง คำถามคือน้ำทะเลในอดีตสูงเท่าไหร่

 

color:red">พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา โรงเรียนกำแพงวิทยา ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานหรือองค์กรใดบ้าง color:red">

โรงเรียนกำแพงวิทยาสนับสนุนอยู่ แต่พิพิธภัณฑ์ค่อนข้างจะโตช้า เพราะโรงเรียนจำเป็นต้องดูแลระบบสาธารณูปโภค และพัฒนาวิชาการ ทำกลุ่มสาระวิชา  แต่เราพยายามแก้ปัญหาพึ่งพาตัวเองกันอยู่   ไม่ว่าเรื่องของตู้จัดแสดงฟอสซิล ผมไปขอบอร์ดที่ครูคนอื่นไม่ใช้แล้ว นำมาประยุกต์ใช้ สั่งทำฝากระจกครอบเก็บในพิพิธภัณฑ์

color:black">เฉพาะการปรับปรุงห้อง ระบบไฟแสงสว่าง และครุภัณฑ์ก็ปาเข้าไปแสนกว่าบาท ถ้าไม่มีโครงการโรงเรียนในฝัน ผมคงทำไม่ได้

color:black">ผมต้องขอบคุณ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนกำแพงวิทยา นายประเสริฐ ม่วงปลอด ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ท่านมีวิสัยทัศน์  ตอนเริ่มกันห้องใต้ถุนเป็นห้องพิพิธภัณฑ์ให้เป็นขนาด 3 ห้องเรียน ตอนแรกมองดูว่าใหญ่เกินไป    เอาเข้าจริงๆ พอจัดตัวอย่างแสดง   ห้องก็แคบไปเสียแล้ว color:red">

ส่วนอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนกำแพงวิทยาอีกคนคือ นายแสง สังหาร ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว มาปรับปรุงปูกระเบื้องพื้นห้องพิพิธภัณฑ์ให้   จัดระบบแสงสว่างและตู้จัดแสดง จนพร้อมให้บริการอย่างที่เห็นในวันนี้

color:black">ส่วนนายเกษม ทองปัญจา ผู้อำนวยการโรงเรียนกำแพงวิทยาคนปัจจุบัน ก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างมาก ต้องเข้าใจว่าเราต้องค่อยๆ โต อยากโตเร็วเกินไปก็เป็นไปไม่ได้ เพราะการสร้างพิพิธภัณฑ์ตามรูปแบบ  ต้องใช้งบประมาณมหาศาล color:red">

อันที่จริงฟอสซิลควรอยู่ในที่ตามธรรมชาติ ไม่ควรเก็บมันมาไว้ในพิพิธภัณฑ์ แต่บางครั้งก็จำเป็น เช่น เขาจะขุดตักปรับหน้าดิน ถมที่ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การเก็บฟอสซิลไว้เป็นของสะสมส่วนตัว มันเหมือนหินก้อนหนึ่ง พอเคลื่อนย้ายออกจากที่ตั้งตามธรรมชาติ ก็หมดคุณค่าทางการศึกษาและประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลกไปเลย  น่าเสียดาย

 

color:red">ทัศนคติและแนวทางการสอน การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งการสืบค้นจัดหาฟอสซิลมาจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์เป็นอย่างไร color:red">

color:black">เรามีห้องเรียนธรรมชาติอยู่ใกล้ตัว ตามหลักสูตรใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดโอกาสให้นักเรียนใช้เวลาในห้องเรียนให้น้อยลง เข้าหาห้องเรียนธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้น เป็นการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ กระบวนการคิด วิเคราะห์และกระบวนการให้เหตุผลของนักเรียน ทำให้เด็กมีคุณภาพ เกิดศักยภาพการบริหารจัดการศึกษามากขึ้น

color:black">“สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์” ยึดตามคำขวัญจังหวัดสตูลไปเลย ถ้าดูแลทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้อง กินเท่าไหร่ ใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด แต่ถ้าทำลายไปก็หมดกัน color:black">

color:black">ยกตัวอย่าง แนวปะการังที่เกาะไข่ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา สิบปีที่แล้วตอนที่ผมดำน้ำดูปะการัง ที่นั่นสวยงามมาก ตอนนี้ปะการังบริเวณนั้น ตายหมด color:black">100 เปอร์เซ็นต์   color:black">

color:black">อดีตต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับปัจจุบัน เพราะผลพวงจากเรือนักท่องเที่ยวเข้าไปจอดแนวเขตปะการังน้ำตื้น ทำให้ปะการังพังหมด แรกๆ เคยมีทุ่นสำหรับจอดเรือบริเวณน้ำลึก ต่อมาทุ่นชำรุด ผุพัง color:black">

น่าเสียดายปะการังที่เกาะไข่มาก ใครๆ ก็แวะไปถ่ายรูปสะพานธรรมชาติตรงนั้น แล้วก็ขึ้นเรือไปที่อื่นๆ เสียดายแหล่งท่องเที่ยวดีดีที่ต้องเสียไปอีกแหล่งหนึ่ง

 

color:red">ภัยคุกคามของฟอสซิลคืออะไร

ในภาคอีสานเคยมีนักล่าฟอสซิลชาวเกาหลี มาขอซื้อฟอสซิลจากชาวบ้าน ชิ้นส่วนกระดูกไดโนเสาร์ราคาชิ้นละ 1–3 พันบาท แล้วขายคืนกลับให้รัฐบาลไทยไม่รู้กี่สิบล้านบาท

color:black">โชคดีที่แถวสตูลมีฟอสซิลขนาดเล็กไม่โดดเด่นเหมือนชิ้นส่วนไดโนเสาร์ ถ้านำไปขายไม่รู้จะขายได้ 10–30 บาทหรือไม่ ยิ่งคนไม่รู้จักด้วย แต่อย่าเพิ่งไว้วางใจนักล่าฟอสซิลพวกนี้

color:black">ชาวบ้านส่วนใหญ่เขาไม่รู้หรอกว่า หน้าดินที่ตักขายไป เหมืองหินที่ระเบิดออกไป มีฟอสซิลอยู่ การที่กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะลงมาตั้งเป็นอุทยานธรณีวิทยา ถือว่าแก้ปัญหาได้ตรงประเด็น color:black">

color:black">อย่างที่ดินของชาวบ้านที่ตักหน้าดินขาย หรือปรับพื้นที่เพื่อทำเกษตร เราไม่สามารถห้ามไม่ให้เขาทำได้ เพราะเป็นที่ดินของเขา แต่ทำอย่างไรถึงจะพบกันคนละครึ่งทาง บอกชาวบ้านว่า ผมขอหินฟอสซิลนี้ไปให้เด็กศึกษาได้ไหม ส่วนใหญ่ก็ไม่ขัดข้อง เพราะเขารู้จักโรงเรียนกำแพงและเห็นความสำคัญของการศึกษา color:black">

color:black">อย่างเจ้าหน้าที่เหมืองหินบางแห่ง ถามผมเลยว่าใครอนุญาตให้เข้ามา ผมบอกว่ามาจากโรงเรียนกำแพงวิทยา เขาจึงบอกว่า ทีหลังถ้ามาให้บอกเขาด้วย color:black">

            หลังจากกรมทรัพยากรธรณี เข้ามาผลักดันเรื่องนี้ ความชัดเจนก็เกิดขึ้น โรงเรียนกำแพงวิทยามีบทบาทสำคัญเป็นองค์กรด้านการศึกษาที่สนับสนุนเยาวชนให้ทำงานด้านนี้

            กรมทรัพยากรธรณี เริ่มทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง องค์การบริหารส่วนตำบลนาทอน องค์การบริหารส่วนตำบลละงู เป็นต้น

 

color:red">เรื่องการเสนอเป็นอุทยานธรณีโลกมีที่มาอย่างไร color:red">

ประมาณปี 2546–2547 ผมเริ่มพบและเริ่มสนใจศึกษาเรื่องฟอสซิล แต่มีความรู้แค่พื้นฐาน ที่ได้มาตอนเป็นนักศึกษา หลังจากศึกษาเกี่ยวกับฟอสซิลมา 6–7 ปี สืบค้นข้อมูลเพิ่มขึ้น ทำให้มีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นกับตัวเอง

color:black">การได้เรียนรู้พร้อมกับนักเรียน จากการสำรวจพื้นที่ต่างๆ เรียนรู้จากนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เข้ามาทัศนศึกษาดูพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ที่โรงเรียนกำแพงวิทยา เราแนะนำในส่วนที่เราค้นพบ เขามีความรู้จากการศึกษาค้นคว้า ก็เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันมากขึ้น

ต่อมา ทางกรมทรัพยากรธรณี ลงพื้นที่มาประสานงานเตรียมทำอุทยานธรณีศึกษาระดับประเทศไทย และผลักดันเสนอเป็นอุทยานธรณีโลก ตอนแรกกรมทรัพยากรธรณีจะเอาเฉพาะเกาะตะรุเตา color:black">

ช่วงปี 2552 หลังจากที่มีพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551 กรมทรัพยากรธรณีมีโครงการประกวดซากดึกดำบรรพ์ ตอนนั้นผมประสานงานอยู่กับนักวิชาการด้านธรณีวิทยา ผมได้รวบรวมฟอสซิลตัวเด่นๆ ไปหนึ่งคันรถกระบะ ส่งประกวดในนามโรงเรียนกำแพงวิทยา ประเภทฟอสซิลสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ผลการประกวด เรากวาดรางวัลทั้งหมด 4 ประเภท คือ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นอติลอยด์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ไทรโลไบท์ สกุล Dalmanitina รางวัลรางวัลชมเชย 1 ได้แก่ แกรปโตไลต์ รางวัลชมเชย 2 ได้แก่ นอติลอยด์

(ดูการประกาศผลรางวัลได้ที่ http://www.krunok.net/index2.php/?p=1485 ภาพประกอบฟอสซิลที่น่าสนใจ http://www.krunok.net/index2.php/?p=1474 และบรรยากาศวันประกวด http://www.krunok.net/index2.php/?p=1512)

ต่อมากรมทรัพยากรธรณีขอชิ้นส่วนฟอสซิลที่ชนะการประกวด ไปจัดแสดงนิทรรศการศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซนเตอร์ กรุงเทพมหานคร

เมื่อได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี ทำให้ทราบว่า กรมทรัพยากรธรณีได้สำรวจฟอสซิลในจังหวัดสตูล คู่ขนานกับเรามาตลอด เพียงแต่เราอยู่ในพื้นที่  ทำให้ได้แหล่งฟอสซิลใหม่ๆเพิ่มเติมอีกหลายแหล่ง กรมทรัพยากรธรณีเล็งเห็นความเป็นไปได้ในการจัดตั้งอุทยานทางธรณี และผลักดันเป็นอุทยานธรณีโลก โดยให้ชาวบ้านในชุมชนและท้องถิ่นมีบทบาทบริหารจัดการกันเอง

ที่ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล นายรณฤทธิ์ ทุ่งปรือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า พบซากขากรรไกรล่างขวา พร้อมฟันกรามซี่ที่ 2 และ 3 ของช้างดึกดำบรรพ์สกุลสเตโกดอนในถ้ำวังกล้วย อำเภอทุ่งหว้า

กรมทรัพยากรธรณีจึงเลือกเอาพื้นที่อำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จังหวัดสตูล จัดตั้งอุทยานธรณีเป็นพื้นที่การนำร่องระดับประเทศ ก่อนนำเสนอผลักดันเป็นอุทยานธรณีโลก

ที่ผ่านมา กรมทรัพยากรธรณีลงพื้นที่จังหวัดสตูลสม่ำเสมอ เพื่อดำเนินการจัดตั้งอุทยานธรณีให้เป็นรูปธรรม

ตัวอย่าง Geo Park ใกล้ๆ เรา ที่บนเกาะลังกาวี ของประเทศมาเลเซีย มีชุดหินอยู่ไม่มาก ที่ละงูมีความหลากหลายมากกว่า มียุคทางธรณีครบทุกยุคในมหายุคพาลีโอโซอิก ในพื้นที่ไม่เกิน 30 ตารางกิโลเมตร อาจเรียกได้ว่า เป็นแหล่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ว่าได้

color:black">นอกจากนี้ยังมีทั้งหาดหิน หาดทราย หาดโคลน มีภูเขาหินปูน มีหินตะกอนต่างๆ มีป่าไม้ ป่าชายเลน ป่าพรุ มีความหลากหลายทางชีวภาพ–กายภาพสูง ทั้งภูเขา ทะเล น้ำตก หรือหลุมยุบ จะเห็นได้ว่า  จังหวัดสตูล มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าอีกมาก color:black">

 

color:red">ผลกระทบต่อฟอสซิลหากมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ในอ่าวหน้าเกาะเขาใหญ่

color:black">ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา พบฟอสซิลหลายแห่ง เช่น เกาะลิดี เกาะเขาใหญ่ เป็นฟอสซิลแอมโมไนต์ ฟอสซิลนอติลอยด์ การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราหน้าเกาะเขาใหญ่ มีแรงสั่นสะเทือนรุนแรงหรือไม่ ผมยังไม่ทราบ แต่ฝุ่นละอองจากหิน ดิน ทราย จะส่งผลกระทบกับฟอสซิลแน่นอน color:black">

color:black">ยิ่งต้องขุดทราย ระเบิดภูเขา นำไปมทะเลก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ผมคิดว่ายิ่งจะสร้างความเสียหายให้กับฟอสซิล

color:black">ตัวอย่างเขาจุหนุงนุ้ย ในบริเวณเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าควนทัง color:black">–เขาขาว ที่อาจจะถูกระเบิดนำไปถามทะเล ที่นั่นมีฟอสซิลนอติลอยด์ชิ้นใหญ่ ไม่สามารถหาที่ไหนได้ในประเทศไทย เป็นเอกลักษณ์ที่เราไม่เคยเจอที่ไหน กำลังศึกษาอยู่ว่าอยู่ในกลุ่มไหน เนื่องจากโครงสร้างท่อปั๊มน้ำภายในโครงสร้างเปลือกภายใน อยู่ด้านข้าง แทนที่จะอยู่ตรงกลางเปลือก น่าสนใจมากครับ

ภูเขาที่ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า ก็เป็นอีกแห่งที่จะถูกระเบิดมาถมทะเลสร้างท่าเรือน้ำลึก พบไทรโลไบต์หลากหลายชนิด

color:black">ส่วนหาดทรายบ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ ที่จะมีการขุดทรายมาถมทะเลสร้างท่าเรือน้ำลึกเช่นกัน ก็พบฟอสซิลหอยตะเกียง และอื่นๆ อีกหลากหลายชนิด

mso-fareast-font-family:Calibri;mso-fareast-theme-font:minor-latin;mso-ansi-language:
EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">พูดตรงๆ ผมเสียดาย ไม่อยาก